โครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษาและการพัฒนาท้องถิ่นโดยมีสถานอุดมศึกษาเป็นพี่เลี้ยง U_School Mentoring กรณีศึกษา; โรงเรียนหาดปากเมง
ชื่อโครงการ | โครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษาและการพัฒนาท้องถิ่นโดยมีสถานอุดมศึกษาเป็นพี่เลี้ยง U_School Mentoring กรณีศึกษา; โรงเรียนหาดปากเมง |
ภายใต้องค์กร | เครือข่ายอุดมศึกษา |
รหัสโครงการ | |
วันที่อนุมัติ | 1 กุมภาพันธ์ 2562 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 พฤษภาคม 2562 - 31 สิงหาคม 2562 |
งบประมาณ | 30,000.00 บาท |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสรีวิชัย |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นาง จันทรา อุ้ยเอ้ง |
เบอร์โทรผู้รับผิดชอบโครงการ | 0813293302 |
อีเมล์ผู้รับผิดชอบโครงการ | |
พี่เลี้ยงโครงการ | นางลักษมี วิทยา นายธเนศ สินธุ์ประจิม |
พื้นที่ดำเนินการ | จังหวัดตรัง |
ละติจูด-ลองจิจูด | place |
งวด | วันที่งวดโครงการ | วันที่งวดรายงาน | งบประมาณ (บาท) | |||
---|---|---|---|---|---|---|
จากวันที่ | ถึงวันที่ | จากวันที่ | ถึงวันที่ | |||
1 | 1 ก.พ. 2562 | 30 ส.ค. 2562 | 0.00 | |||
รวมงบประมาณ | 0.00 |
คำเตือน : รวมงบประมาณของทุกงวด (0.00 บาท) ไม่เท่ากับ งบประมาณโครงการ (30,000.00 บาท)
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
สืบเนื่องจากนโยบายรัฐบาลในปัจจุบัน ได้มุ่งทิศทางในการพัฒนาประเทศชาติเพื่อให้เกิดความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน โดยเฉพาะนโยบายของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ด้านอุดมศึกษา ที่มุ่งเน้นความสำคัญของการส่งเสริมบทบาทให้สถาบันอุดมศึกษาในพื้นที่ทั่วประเทศทำหน้าที่เป็นพี่เลี้ยงให้แก่สถานศึกษาในท้องถิ่นเพื่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษาและการพัฒนาท้องถิ่น ฉะนั้น การจะขับเคลื่อนแนวคิดดังกล่าวเพื่อผลักดัน ส่งเสริม และสนับสนุนให้เกิดผลที่เป็นรูปธรรมจากปัจจุบันสู่อนาคต ทุกภาคส่วนที่มีความเกี่ยวข้องจำเป็นต้องเข้ามามีส่วนร่วมกันอย่างเป็นระบบและเดินหน้าการพัฒนาไปสู่เป้าหมายในการยกระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานของแต่ละท้องถิ่นทั่วประเทศให้เกิดการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพและให้ความสำคัญกับการส่งเสริมการเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น โครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษาและพัฒนาท้องถิ่นโดยมีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตตรัง เป็นพี่เลี้ยง เป็นโครงการที่มุ่งเน้นนำนวัตกรรมทางการศึกษา ทรัพยากร ตลอดจนความรู้ความเชี่ยวชาญทางวิชาการของบุคลากร และเทคโนโลยีจากสถาบันอุดมศึกษาไปช่วยพัฒนาคุณภาพการศึกษาให้กับโรงเรียนที่เปิดสอนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยเน้นการพัฒนาศักยภาพของนักเรียนในกิจกรรมการเรียนการสอนที่สอดคล้องกับนโยบายด้านการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการที่มุ่งแก้ปัญหาการศึกษาของชาติ รวมทั้งการพัฒนาผู้เรียนให้เกิดทักษะชีวิตและการทำงาน ทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม และทักษะด้านสารสนเทศ สื่อ และเทคโนโลยี ซึ่งเป็นทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 โดยใช้รูปแบบกิจกรรม การจัดการเรียนรู้ที่หลากหลาย อาทิเช่น การลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ รูปแบบการจัดการเรียน การสอนสะเต็มในสถานศึกษา การเรียนรู้แบบ Problem-Based Learning (PBL) การจัดการเรียนรู้แบบชุมชนการเรียนรู้ (Professional Learning Communities : PLC) เป็นต้น เพื่อให้ผู้เรียนเกิดองค์ความรู้เกี่ยวกับโลก (Global Awareness) ความรู้เกี่ยวกับการเงิน เศรษฐศาสตร์ ธุรกิจ และการเป็นผู้ประกอบการ (Financial, Economics, Business and Entrepreneurial Literacy) ความรู้ด้านการเป็นพลเมืองที่ดี (Civic Literacy) ความรู้ด้านสุขภาพ (Health Literacy) และความรู้ด้านสิ่งแวดล้อม (Environmental Literacy) ซึ่งส่งผลให้ผู้เรียนเติบโตเป็นพลเมืองคุณภาพ และเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศได้ต่อไปในอนาคต โรงเรียนหาดปากเมงตั้งอยู่ใกล้หาดปากเมงบริเวณชายฝั่งชายทะเลอันดามัน มีชื่อเดิมว่าโรงเรียนบ้านหละเริ่มเปิดสอนครั้งแรกเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2483 โดยเปิดสอนตั้งแต่ชั้นเตรียมถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนได้พัฒนาก้าวหน้าขึ้นเรื่อยๆตามลำดับทั้งด้านอาคารเรียนครูนักเรียนและการจัดการศึกษาโรงเรียนได้เข้าโครงการขยายโอกาสทางการศึกษาเพื่อเปิดสอนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นในปัจจุบันโรงเรียนหาดปากเมงมีการเปิดสอนตั้งระดับชั้นอนุบาลถึงระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นมีนักเรียนในชั้นระดับประถมศึกษาและระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นจำนวน 306 คน โดยมีบุคลากรจำนวน 22 คน เป็นโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 2 ประสบปัญหาในรายวิชา คณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ เนื่องจากทางโรงเรียนมีนักเรียนจำนวนมาก ขาดบุคลากร สื่อและอุปกรณ์การเรียน เพื่อยกระดับมาตรฐานการศึกษาของโรงเรียนหาดปากเมง ทางมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตตรัง ได้เล็งเห็นความสำคัญในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาและพัฒนาท้องถิ่นได้จัดทำโครงการฯ เพื่อนำองค์ความรู้ ความเชี่ยวชาญของอาจารย์ในมหาวิทยาลัย ช่วยเหลือ ให้คำปรึกษา และถ่ายทอดความรู้ให้กับครูและนักเรียนโรงเรียนหาดปากเมง
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อเพิ่มศักยภาพให้แก่ครูผู้สอนให้มีความสามารถเพิ่มสูงขึ้น ครูมีความรู้ทางคณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์เพิ่มมากขึ้น |
0.00 | |
2 | เพื่อพัฒนาศักยภาพทางด้านวิชาการให้แก่นักเรียน นักเรียนมีความรู้ทางคณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์เพิ่มมากขึ้น |
0.00 | |
3 | เพื่อเพิ่มทักษะทางด้านปฏิบัติให้แก่นักเรียน นักเรียนนำความรู้ทางคณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ที่ได้รับเข้าร่วมแข่งขัน |
0.00 |
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวนที่วางไว้(คน) | จำนวนที่เข้าร่วม(คน) | |
---|---|---|---|
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด | |||
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวนที่วางไว้(คน) | จำนวนที่เข้าร่วม(คน) |
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 1 ก.พ. 2562 10:17 น.