การฝึกปฏิบัติการการพัฒนาหลักสูตรด้วยชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (Professional Learning Community: PLC) และ การศึกษาชั้นเรียน (Lesson Study: LS) ในสถานศึกษา
ชื่อโครงการ | การฝึกปฏิบัติการการพัฒนาหลักสูตรด้วยชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (Professional Learning Community: PLC) และ การศึกษาชั้นเรียน (Lesson Study: LS) ในสถานศึกษา |
ภายใต้องค์กร | เครือข่ายอุดมศึกษา |
รหัสโครงการ | |
วันที่อนุมัติ | 16 พฤศจิกายน 2561 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 27 พฤศจิกายน 2561 - 29 พฤศจิกายน 2561 |
งบประมาณ | 598,460.00 บาท |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | งานนโยบายและแผน และกิจการพิเศษ |
เบอร์โทรผู้รับผิดชอบโครงการ | |
อีเมล์ผู้รับผิดชอบโครงการ | |
พี่เลี้ยงโครงการ | คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี |
พื้นที่ดำเนินการ | จังหวัดปัตตานี |
ละติจูด-ลองจิจูด | place |
งวด | วันที่งวดโครงการ | วันที่งวดรายงาน | งบประมาณ (บาท) | |||
---|---|---|---|---|---|---|
จากวันที่ | ถึงวันที่ | จากวันที่ | ถึงวันที่ | |||
1 | 16 พ.ย. 2561 | 16 พ.ย. 2561 | 598,460.00 | |||
รวมงบประมาณ | 598,460.00 |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
ในยุคปัจจุบันเป็นที่ทราบกันดีแล้วว่า ในแต่ละชั้นเรียนจะมีนักเรียนที่มีความสามารถที่หลากหลายและแตกต่างกัน ดังพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่2) พุทธศักราช 2545 มาตรา 10 ที่ระบุว่า การจัดการศึกษาต้องจัดให้บุคคลมีสิทธิและโอกาสเสมอกันในการรับการศึกษาขั้นพื้นฐานไม่น้อยกว่าสิบสองปีที่รัฐต้องจัดให้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพ โดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย การจัดการศึกษาสำหรับบุคคลซึ่งมีความบกพร่องทางร่างกาย จิตใจ สติปัญญา อารมณ์สังคม การสื่อสารและการเรียนรู้หรือมีร่างกายพิการ หรือทุพพลภาพหรือบุคคลซึ่งไม่สามารถพึ่งตนเองได้หรือไม่มีผู้ดูแลหรือด้อยโอกาส ต้องจัดให้บุคคลดังกล่าวมีสิทธิและโอกาสได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นพิเศษ การศึกษาสำหรับคนพิการในวรรคสอง ให้จัดให้ตั้งแต่แรกเกิดหรือพบความพิการโดยไม่เสีย ค่าใช้จ่ายและให้บุคคลดังกล่าวมีสิทธิได้รับความช่วยเหลืออื่นใดทางการศึกษา นอกจากนี้แล้วในมาตรา22 ยังระบุถึงหลักการจัดการศึกษาว่า ผู้เรียนทุกคนสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ ต้องจัดการศึกษาที่พัฒนาผู้เรียนตามธรรมชาติและเต็มศักยภาพ ครูทุกคนมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องแสวงหาวิธีการที่จะช่วยให้นักเรียนทุกคนสามารถเรียนรู้ได้ตามเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติดังกล่าวซึ่งนวัตกรรมใหม่ที่ครูจะต้องทราบคือ Professional Learning Community (PLC) โดยที่ PLC ย่อมาจาก Professional Learning Community ซึ่งหมายถึง Community of Practice (CoP) ในการทำหน้าที่ครูนั่นเอง หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง เป็นการรวมตัวกันทำงานไปพัฒนาทักษะและการเรียนรู้เพื่อปฏิบัติหน้าที่ครูเพื่อศิษย์ไปโดยรวมตัวกัน แลกเปลี่ยนเรียนรู้ จากประสบการณ์ตรง ทำให้การทำหน้าที่ครูเพื่อศิษย์เป็นการทำงานเป็นกลุ่มหรือเป็นทีม ซึ่งอาจเป็นทีมในโรงเรียนเดียวกันก็ได้ต่างโรงเรียนกันก็ได้ หรืออาจจะอยู่ห่างไกลกันก็ได้ โดยผ่าน ICTชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพหรือ PLC คือ การรวมตัว รวมใจ รวมพลัง ร่วมมือกันของครู ผู้บริหาร และนักการศึกษา ในโรงเรียน เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียนเป็นสำคัญ ความสำคัญของPLC จากผลการวิจัยโดยตรงของที่ยืนยันว่าการดำเนินการในรูปแบบ PLC นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงเชิงคุณภาพทั้งด้านวิชาชีพและผลสัมฤทธิ์ของนักเรียน อีกทั้งกระทรวงศึกษาธิการ มีแนวทางส่งเสริมให้มีการอบรม PLC (Professional Learning Community) หรือ “ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ” ให้กับครูและผู้บริหารสถานศึกษาทั่วประเทศ ซึ่งแนวคิดของการอบรม PLC คือ การน าคนมาอยู่รวมกัน เกิดการเรียนรู้ และแบ่งปันความรู้กันระหว่างผู้เข้าร่วมอบรม จนกระทั่งเกิดการสะท้อนความคิดในด้านต่าง ๆ ที่จะเป็นแนวทางการพัฒนาผู้เรียน
กรอบแนวคิดการพัฒนาตามแนวทางศาสตร์แห่งพระราชา การพัฒนาสถานศึกษาแบบองค์รวม (Whole School Approach) "คน" คือ ตัวจักรสำคัญที่จะขับเคลื่อนการทำงานไปสู่เป้าหมายความสำเร็จ จึงต้อง "สร้างคนก่อน สร้างงาน" พันธกิจในการสร้างคนให้เป็น "ทรัพยากรมนุษย์" ที่มีคุณค่า ต้องน้อมนำแนวพระราชดำรัสของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ความว่า "เข้าใจ เข้าถึง และพัฒนา" มาใช้ อันจะนำมาซึ่งความสำเร็จในการ พัฒนาบุคลากรที่ยั่งยืนและเป็นสิริมงคลสืบไป การสร้างความเข้าใจ ใช้แนวทางการสื่อสารสัมพันธ์ลักษณะ 2 ทาง (two way communication) ผู้นำองค์การต้องหมั่นประชุมปรึกษาหารืออยู่เนืองนิตย์ ทั้งแบบที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ และต้อง พยายามเอาใจเขามาใส่ใจเราให้มากขึ้น การเข้าถึง เป็นขั้นตอนที่ต้องใช้เทคนิควิธีที่แยบยล ผู้นำองค์การต้องสร้างความไว้วางใจให้กับ ผู้ร่วมงานเป็นเบื้องต้น โดยการ "จับเข่า พูดคุย สร้างความคุ้นเคย" เพื่อร่วมมือกันทำงานที่ได้รับมอบหมาย ให้บรรลุผลสำเร็จ โดยผู้นำจะต้องเอาตัวเข้าร่วมกิจกรรมกับผู้ร่วมงานในลักษณะ "คุณเอื้อ" "คุณอำนวย" หากมีปัญหาอุปสรรคก็พร้อมที่จะร่วมมือแก้ไข ไม่ใช่หลีกหนีหรือปล่อยให้เป็นหน้าที่ความรับผิดของผู้ร่วมงาน การพัฒนา ถือเป็นเป้าหมายสำคัญของ "การสร้างคน" วิธีการหรือแนวทางการพัฒนามีหลากหลาย วิธี ขึ้นอยู่กับบริบทของทรัพยากร สภาพแวดล้อมและบุคคล ดังนั้นผู้นำองค์การจึงต้องมีเทคนิคในการ บริหารทรัพยากรมนุษย์ สุดท้ายจะส่งผลให้บุคลากรและหน่วยงาน/องค์การได้รับการพัฒนาก้าวหน้าต่อไป สอดคล้องกับคำกล่าวของ นโปเลียนโบนันซ่า ว่า "ยิงให้ถูกเป้า เย้ำให้ถูกที่ ชี้ให้ถูกคน สนการสื่อสาร ประสานอย่าให้ขลุก นี่แหละมุขผู้บริหาร" (คัดลอกจาก ดร.ปฐมพงศ์ ศุภเลิศ ในการจัดการความรู้ครูกรุงเก่า)
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี |
---|
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวนที่วางไว้(คน) | จำนวนที่เข้าร่วม(คน) | |
---|---|---|---|
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด | 64 | ||
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวนที่วางไว้(คน) | จำนวนที่เข้าร่วม(คน) | |
ผู้อำนวยการโรงเรียน,ครูผู้รับผิดชอบการเรียนการสอน | 64 | - |
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรม | 0 | 598.00 | 0 | 0.00 | |
27 - 29 พ.ย. 61 | การฝึกปฏิบัติการการพัฒนาหลักสูตรด้วยชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (Professional Learning Community: PLC) และ การศึกษาชั้นเรียน (Lesson Study: LS) ในสถานศึกษา | 0 | 598.00 | - |
- ขั้นตอนที่ 1 Check in PLC แบ่งกลุ่มเพื่อระดมประสบการณ์ หาปัญหาหรือแนวทางการพัฒนา โดยเลือกประเด็นเพียง 1 ประเด็นเพื่อแก้ปัญหาแต่ละครั้ง
- ขั้นตอนที่ 2 ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) และการศึกษาชั้นเรียน (LS) ร่วมกันออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อแก้ปัญหา หรือพัฒนา และนำสู่การปฏิบัติ
- ขั้นตอนที่ 3 ฝึกปฏิบัติการ Reflection in Action สะท้อนคิดเพื่อการพัฒนาการปฏิบัติ มีการพบกลุ่มเพื่อสะท้อนคิดจากการจัดการเรียนรู้เพื่อร่วมแสดงความคิดเห็นจากการเปิดห้องเรียน ร่วมกันเสนอแนะ ปรับปรุง แก้ไข ปัญหาที่เกิดจาการออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้
- ขั้นตอนที่ 4 พบปะผู้เชี่ยวชาญ ครูนำเสนอแผนการจัดการเรียนรู้ก่อนการเปิดชั้นเรียน
- ขั้นตอนที่ 5 เปิดชั้นเรียน (Open class) ลงพื้นที่ฝึกปฏิบัติการศึกษาชั้นเรียน
- ขั้นตอนที่ 6 สะท้อนผลจากการศึกษาชั้นเรียน (Reflection)
- ผู้บริหาร ครูได้ทราบ Professional Learning Community : PLC
- ผู้บริหาร ครู จัดชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ Professional Learning Community : PLC
- เกิดชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ Professional Learning Community : PLC ในโรงเรียน
- ผู้เรียนเกิดทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของสังคม และมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่ดี
- โรงเรียนได้นวัตกรรมการสอน
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 6 ก.พ. 2562 11:22 น.