ระบบติดตามโครงการ
ข่าวประชาสัมพันธ์
ติดตั้งระบบติดตามและประเมินผลโครงการเครือข่ายอุดมศึกษา
@9 พ.ย. 61 21:25
เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2561 ได้เริ่มติดตั้งระบบติดตามและประเมินผลโครงการเครือข่ายอุดมศึกษา และทำการทดสอบการใช้งาน
4735 views | read more »
การดำเนินกิจกรรมโครงการ
โครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษาและการพัฒนาท้องถิ่นโดยมีสถาบันอุดมศึกษาเป็นพี่เลี้ยงของเครือข่ายเพื่อการพัฒนาอุดมศึกษา
ตรวจเยี่ยมโครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษาและการพัฒนาท้องถิ่น โดยมีสถาบันอุดมศึกษาเป็นพี่เลี้ยง : สถาบันอุดมศึกษาในพื้นที่ เข้าร่วมรายงานความก้าวหน้า จำนวน 10 สถาบัน โดยมีการดำเนินงานระยะที่ 1 ไปแล้ว ร้อยละ 40 จำนวนนักเรียน 5313 คน จำนวนครู 426 คน จำนวนโรงเรียน 114 คน@15 ส.ค. 67 11:15โครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษาและการพัฒนาท้องถิ่นโดยมีสถาบันอุดมศึกษาเป็นพี่เลี้ยงของเครือข่ายเพื่อการพัฒนาอุดมศึกษา
การตรวจเยี่ยม : นักเรียน ร้อยละ 70 ของโครงการเกิดการพัฒนาและมีผลการเรียนดีขึ้น ครู ร้อยละ 70 ของโครงการมีทักษะที่สามารถส่งเสริมการจัดการเรียนการสอนได้@01 มี.ค. 66 15:45มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา:การสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพครูสู่การพัฒนาผู้เรียน จังหวัดสตูล
กิจกรรมที่ 11 ประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่อง การดำเนินงานจัดทำเอกสารรายงานโครงการและสรุปรายงานการวิจัย : - ได้คณะกรรมการขับเคลื่อนโครงการ - ได้รูปแบบ กระบวนการและแผนการขับเคลื่อนกระบวนการ PLC - ได้ทีมงาน PLC - ได้ข้อมูลสภาพบริบท และความต้องการชุมชน - ได้ฐานข้อมูลพื้นที่เป้าหมาย - ได้ผลสรุปการดำเนินโครงการ@25 ธ.ค. 62 15:37มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา:การสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพครูสู่การพัฒนาผู้เรียน จังหวัดสตูล
กิจกรรมที่ 10 ประชุมเชิงปฏิบัติการคณะกรรมการ Core Team เพื่อร่วมสรุปโครงการถอดบทเรียนและจัดทำรายงานเผยแพร่ ในวันที่ 18 ธันวาคม 2562 : - ได้คณะกรรมการขับเคลื่อนโครงการ - ได้รูปแบบ กระบวนการและแผนการ ขับเคลื่อนกระบวนการ PLC - ได้ทีมงาน PLC - ได้ข้อมูลสภาพบริบท และความต้องการชุมชน - ได้ฐานข้อมูลพื้นที่เป้าหมาย - ได้ผลสรุปการดำเนินโครงการ@19 ธ.ค. 62 17:08มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา:การสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพครูสู่การพัฒนาผู้เรียน จังหวัดสตูล
กิจกรรมที่ 9 ประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่อง การนำกระบวนการ PLC สู่สถานศึกษาและ จัดนิทรรศการทางวิชาการ Mini Show And Share เพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และถอดบทเรียนร่วมกัน และมอบเกียรติบัตรยกย่องเชิดชูเกียรติ การขับเคลื่อน PLC สู่สถานศึกษา : สรุปข้อมูลการติดตามผลการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจากการดำเนินโครงการใน 10 โรงเรียนเป้าหมาย โครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษาและการพัฒนาท้องถิ่นโดยมีสถาบันอุดมศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลาเป็นพี่เลี้ยง : การสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพครูสู่การพัฒนาผู้เรียน จังหวัดสตูล (ตามแบบ สกอ.) 1.ผลการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ชื่อโรงเรียน การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น โรงเรียน ครู นักเรียน 1. โรงเรียนบ้านสาครเหนือ โรงเรียนสามารถมีแนวทางในการนิเทศและ PLC ที่นำมาใช้ในการบริหารจัดการที่เป็นรูปธรรม ครูมีการเตรียมความพร้อมในการจัดการเรียนการสอนและกระตือรือร้นในการจัด การเรียนการสอน มีการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนดีขึ้น นักเรียนมีส่วนร่วมในการจัดการเรียนการสอนของครูมากขึ้น เพราะครูมีการปรับเปลี่ยนกระบวนการสอน ผ่านกระบวน การ Active learning 2. โรงเรียนบ้านทุ่งนุ้ย"มิตรภาพที่ 49" โรงเรียนได้พัฒนาบุคลากรและยกผลสัมฤทธิ์ได้สูงขึ้น ครูได้ปรับเปลี่ยนการสอนได้รับคำปรึกษาจากเพื่อนครูด้วยกัน ได้จัดการเรียนการสอนที่หลาก หลายตรงกับตัวชี้วัดทำให้ผลการเรียนดีขึ้น 3. โรงเรียนบ้านสาคร โรงเรียนมีระบบการนิเทศ และการทำ PLC ที่ชัดเจนขึ้น ครูได้พัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ มีสื่อและวิธีการสอนที่หลากหลาย นักเรียนสนใจการเรียนมากขึ้น มีความกระตือรือร้น สนุกสนาน กล้าคิดกล้าแสดงออก มีเจตคติที่ดีต่อวิชาที่เรียน เกิดการเรียนรู้ที่ดีขึ้น 4. โรงเรียนบ้านน้ำหรา โรงเรียนได้มีการวางแผนในการขับเคลื่อนกระบวนการ PLC อย่างเป็นระบบ มีการนิเทศการสอนบ่อยขึ้น มีการประชุมปรึกษาหารือเกี่ยวกับผล และปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง เพื่อปรับปรุงและพัฒนาให้ดียิ่งขึ้น ครูผู้สอนมีเทคนิคในการจัดกระบวนการเรียนการสอนเพิ่มขึ้น มีการจัดทำสื่อการสอนหลากหลายและเป็นที่ดึงดูดความสนใจของนักเรียนได้ดี ครูมีการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน แลกเปลี่ยนประสบการณ์กัน ในการจัดกระบวนการจัดการเรียนการสอน นักเรียนมีความสนใจ อยากรู้อยากเรียน มีความสุขสนุกสนานไปกับบทเรียน กิจกรรม และสื่อที่ครูผู้สอนใช้ในการจัดกระบวนการเรียนการสอน ทำให้นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจในบทเรียนมากขึ้น 5. โรงเรียนบ้านทุ่งดินลุ่ม โรงเรียนมีระบบ PLC ที่มีคุณภาพมากขึ้น ครูได้รับคำแนะนำจากคณะอาจารย์ นักเรียนมีส่วนร่วมในการเรียนมากขึ้น 6. โรงเรียนบ้านกุบังปะโหลด มีการบริหารจัดการที่เป็นระบบมากขึ้น มีการประชุม ร่วมกัน PLC ผลการดำเนิน งาน ร่วมกันแก้ปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นทุกเดือน, ผู้ปกครองให้ความเชื่อมั่นในตัวครูผู้สอนสาระต่าง ๆ และการบริหารจัดการของโรงเรียน ครูมีความรู้ความเข้าใจกระบวนการ PLC การจัดการ เรียนรู้แบบ Active Learning การพัฒนาแผน การจัดการเรียนรู้ ครูมีความตระหนัก พยายามจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning จัดหา จัดทำสื่อการเรียนรู้ที่น่าสนใจ กระตุ้นการเรียนรู้ของนักเรียน นักเรียนเรียนรู้อย่างสนุกสนาน มีความสุข มีความรู้ความเข้าใจเรื่องที่เรียน มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น 7. โรงเรียนบ้านบ่อหิน 1. มีระบบการบริหาร การนิเทศภายในที่เป็นระบบ 2. มีรูปแบบในการดำเนินงานกิจกรรม PLC ที่เป็นรูปธรรม 3. มีการจัดกิจกรรม LS ที่เป็นรูปธรรม 4. มีเอกสาร หลักฐานที่เป็นรูปธรรม 1. เข้าใจและเปิดใจยอมรับกระบวนการนิเทศในรูปแบบต่าง ๆ 2. มีการทำงานเป็นทีมทำให้เกิดสัมพันธภาพที่ดีระหว่างเพื่อนร่วมงาน 3. มีการเตรียมการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่หลากหลาย 4. มีการผลิตสื่อ/นวัตกรรมที่หลากหลาย 5. ได้รับผลสะท้อนกลับเพื่อส่งเสริมหรือพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้ดีขึ้น 1. ได้เรียนรู้ด้วยกระบวนการที่หลากหลายและเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ 2. นักเรียนได้ลงมือปฏิบัติกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยตนเอง 3. นักเรียนรู้จักบทบาทหน้าที่ของตนเอง มีทักษะการทำงานกลุ่มดีขึ้น 8. โรงเรียนบ้านทุ่งตำเสา - เพื่อแก้ปัญหาและพัฒนาคุณภาพการศึกษาของโรงเรียน - เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้สอน ใน 5 กลุ่มสาระ คือ ภาษาไทย, ภาษาอังกฤษ, วิทยาศาสตร์, คณิตศาสตร์และปฐมวัย - มีนวัตกรรมในการแก้ปัญหาไปในทิศทางเดียวกัน ภายใต้โครงการพัฒนาสมรรถนะทักษะการรู้หนังสือโดยใช้กระบวนการ PLC - มีความกระตือรือร้น และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการจัดกิจกรรม การเรียนการสอนและสามารถแก้ปัญหาในการสอบได้ - ครูใช้เทคนิคการสอนโดยยึดนักเรียนเป็นศูนย์กลาง และจัดกิจกรรมการสอนโดยใช้วิธีการ Active Learning - ครูมีความก้าวหน้าทางวิชาชีพ พัฒนาการเรียนการสอน ปฏิรูปสถานศึกษาไปสู่การพัฒนาคุณภาพผู้เรียน - ครูมีความสัมพันธ์กับหน่วยงานอื่น (ศึกษานิเทศก์, วิทยาลัยชุมชน, ม.ราชภัฏสงขลา) เป็นอย่างดี - มีสมรรถนะในด้านการรู้หนังสือ การอ่าน การเรียน ในภาษาไทย ภาษาอังกฤษ และวิชาอื่นๆ สูงขึ้น - มีความสัมพันธ์ระหว่างครู ผู้บริหาร และผู้มานิเทศ กล้าแสดงออก - นักเรียนมีคุณลักษณะที่มีศักยภาพ และพัฒนาในศตวรรษที่ 21 พื้นฐานที่จำเป็น - อ่านออก เขียนได้ - คิดเลขเป็น - ทักษะจำเป็นต่อการก้าวทันเทคโนโลยี - การคิดวิเคราะห์สร้างสรรค์ - การทำงานเป็นทีม - การสื่อสาร 9. โรงเรียนบ้านทุ่งเสม็ด”มิตรภาพที่114” - การบริหารงานวิชาการ มีการวางแผนการดำเนินงานเป็นระบบมากขึ้น มีรูปแบบกระบวนการดำเนินงานที่เป็นรูปธรรม โดยทุกคนมีส่วนร่วมในการดำเนินงาน - โรงเรียนมีรูปแบบ PLC ที่เป็นรูปธรรม สามารถนำมาพัฒนางานกิจกรรมได้อย่างต่อเนื่อง เป็นรูปธรรม มีพัฒนาการในการดำเนินงานของงานที่ร่วม PLC - โรงเรียนมีกระบวนการนิเทศติดตามผลที่เป็นรูปธรรม การสร้างสรรค์ความร่วมมือในการดำเนินงานภายในโรงเรียนมีมากขึ้น - มีบรรยากาศขององค์กร ที่มีชีวิตชีวาด้วยการมีรูปแบบวิธีการใหม่ ๆจากการเข้าร่วมโครงการ - ครูมีการปรับพฤติกรรมการสอน สร้างบรรยากาศ การเรียน การสอนด้วยรูปแบบ Active Learning จัดทำสื่อเพื่อพัฒนาการสอนได้ดีขึ้น - ครูได้รับการนิเทศอย่างต่อเนื่อง สามารถนำผลการนิเทศไปปรับปรุง พัฒนางานให้เห็นได้อย่างเป็นรูปธรรม - ครูมีความกระตือรือร้นในการจัดกิจกรรม Active Learning มากขึ้น - ครูทำงานด้วยระบบทีมมากขึ้น - ครูมีที่ปรึกษา คอยสนับสนุนให้ความช่วยเหลือ - มีความกระตือรือร้นในการเรียน กล้าแสดงออกและร่วมกิจกรรมในการเรียนอย่างตั้งใจ - มีเจตคติที่ดีต่อวิชาเรียน เกิดรูปแบบกระบวนการเรียนรู้ สร้างนิสัยใฝ่รู้ ใฝ่เรียน ได้เพิ่มขึ้น - นักเรียนได้เรียนรู้ผ่านกิจกรรมที่ได้ลงมือปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม - นักเรียนมีผลงานจากกระบวนการสอนของครูที่เป็นรูปธรรมขึ้น - นักเรียนมีพัฒนาการทางด้านการสื่อสาร การคิดวิเคราะห์ การช่วยเหลือซึ่งกันและกันมากขึ้น 10. โรงเรียนอนุบาลท่าแพ - มีการทำงานอย่างเป็นระบบมากขึ้น - ผลสัมฤทธิ์ของโรงเรียนอยู่ในเกณฑ์ดีขึ้น - ครูผู้สอนมีการพัฒนากระบวนการสอนอย่างเป็นระบบมากขึ้น - มีการสอนที่หลากหลาย - ครูผู้สอนมีครูบัดดี้เป็นเพื่อนคู่คิด - นักเรียนให้ความสนใจในการเรียนมากขึ้น - นักเรียนให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม - นักเรียนมีความกระตือรือร้น และสนุกกับการเรียน 2.ผลการประเมินผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้ ชื่อโรงเรียน ก่อนเข้าร่วมโครงการ หลังเข้าร่วมโครงการ ระบุการเปลี่ยนแปลงที่สะท้อน ผลสัมฤทธิ์ในการเรียนรู้ 1. โรงเรียนบ้านสาครเหนือ ภาษาไทย นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ภาษาไทยอยู่ในระดับพอใช้ ภาษาอังกฤษ นักเรียนไม่ค่อยมีความรูเรื่องคำศัพท์และโครงสร้างประโยค ภาษาไทย นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ภาษาไทยพัฒนาขึ้นหลังจากเข้าร่วมโครงการ ภาษาอังกฤษ นักเรียนมีความรู้เรื่องศัพท์และโครงสร้างประโยคเพิ่มขึ้น ภาษาไทย นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์สูงขึ้น ภาษาอังกฤษ มีการโต้ตอบและปฏิสัมพันธ์กบครูผู้สอนและผลสะท้อนจากการตรวจงานดีขึ้น 2. โรงเรียนบ้านทุ่งนุ้ย"มิตรภาพที่ 49" ภาษาไทย นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ภาษาไทยอยู่ในระดับดี ภาษาอังกฤษ นักเรียนไม่มีความสุขในการเรียน ภาษาไทย นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ภาษาไทยอยู่ในระดับดีมาก ภาษาอังกฤษ นักเรียนให้ความร่วมมือในการเรียนอย่างสนุกสนานและมีความสุขมากขึ้น ภาษาไทย นักเรียนสามารถอ่านออกเขียนได้และสะกดคำเป็นตั้งแต่ ป.1 ภาษาอังกฤษ นักเรียนมีความสุขกับการเรียนมากขึ้น มีเจตคติทีดีต่อวิชาภาษาอังกฤษมากขึ้น 3. โรงเรียนบ้านสาคร ภาษาไทย นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาไทยค่อนข้างต่ำ ภาษาอังกฤษ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนค่อนข้างต่ำ ภาษาไทย ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาไทยของนักเรียนส่วนใหญ่ดีขึ้น ภาษาอังกฤษ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนส่วนใหญ่ดีขึ้น ภาษาไทย ครูมีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ Active Learning ทำให้นักเรียนเข้าใจบทเรียน และสนใจเรียนมากขึ้น ส่งผลให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนดีขึ้น ภาษาอังกฤษ ครูมีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ Active Learning ทำให้นักเรียนเข้าใจบทเรียน และสนใจเรียนมากขึ้น ส่งผลให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนดีขึ้น 4. โรงเรียนบ้านน้ำหรา ภาษาไทย ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้รายวิชาภาษาไทยของนักเรียนชั้น ป.4-6 ได้คะแนนเฉลี่ย อยู่ที่ 62 คะแนน จากคะแนนเต็ม 100 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 62 ภาษาอังกฤษ ผลสัมฤทธิ์รายวิชาภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้น ป.2 คะแนนเฉลี่ยได้ 60 คะแนน จากคะแนนเต็ม 100 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 60 ภาษาไทย ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้รายวิชาภาษาไทยของนักเรียนชั้น ป.4-6 ได้คะแนนเฉลี่ย อยู่ที่ 75 คะแนน จากคะแนนเต็ม 100 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 75 ภาษาอังกฤษ ผลสัมฤทธิ์รายวิชาภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้น ป.2 คะแนนเฉลี่ยได้ 72 คะแนน จากคะแนนเต็ม 100 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 72 ภาษาไทย ครูผู้สอนได้นำความรู้เกี่ยวกับกระบวนการ PLC และการสอนแบบ Active Learning มาใช้ในการจัดการเรียนรู้ ทำให้นักเรียนมีความสนใจ มีความสุข และสนุกกับการเรียนมากขึ้นส่งผลให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาภาษาไทยของนักเรียนชั้น ป.4-6 มีคะแนนเฉลี่ยสูงขึ้น ภาษาอังกฤษ นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาภาษาอังกฤษสูงขึ้น 5. โรงเรียนบ้านทุ่งดินลุ่ม ภาษาไทย นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ภาษาไทยอยู่ในเกณฑ์ที่ดี ภาษาอังกฤษ อยู่ในเกณฑ์พอใช้ ภาษาไทย ผลสัมฤทธิ์ภาษาไทยได้รับการพัฒนามากขึ้น ภาษาอังกฤษ ได้รับการพัฒนามากขึ้น ภาษาไทย ครูและนักเรียนมีส่วนร่วมในกระบวนการสอนมากขึ้น ภาษาอังกฤษ ครูและนักเรียนมีส่วนร่วมมากขึ้น โรงเรียนบ้านกุบังปะโหลด ภาษาไทย นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ภาษาไทยทางการเรียนต่ำ บางคนไม่ผ่านเกณฑ์ที่กำหนด ภาษาอังกฤษ นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำ บางคนไม่ผ่านเกณฑ์ที่กำหนด ภาษาไทย นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ภาษาไทยทางการเรียนสูงขึ้น ผ่านเกณฑ์ที่กำหนดทุกคน ภาษาอังกฤษ นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น ผ่านเกณฑ์ที่กำหนดทุกคน ภาษาไทย นักเรียนมีทักษะการฟัง พูด อ่าน เขียน สูงขึ้นทุกคน ภาษาอังกฤษ นักเรียนมีทักษะการฟัง พูด อ่าน เขียน สูงขึ้นทุกคน 7. โรงเรียนบ้านบ่อหิน ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 มีนักเรียนที่มีผลสัมฤทธิ์ด้านการอ่านและการเขียนผ่านเกณฑ์ที่กำหนด ร้อยละ 70.73 และต่ำกว่าเกณฑ์ ร้อยละ 29.27 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีนักเรียนที่มีผลสัมฤทธิ์ด้านหลักภาษาผ่านเกณฑ์ที่กำหนด ร้อยละ57.14 และต่ำกว่าเกณฑ์ ร้อยละ 42.86 ภาษาอังกฤษ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 มีนักเรียนที่มีผลสัมฤทธิ์ด้านการอ่านเขียนพยัญชนะและสระภาษาอังกฤษ ผ่านเกณฑ์ที่กำหนด ร้อยละ 51.22 และต่ำกว่าเกณฑ์ ร้อยละ 48.78 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีนักเรียนที่มีผลสัมฤทธิ์ด้านการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสารผ่านเกณฑ์ที่กำหนด ร้อยละ 35.71 และต่ำกว่าเกณฑ์ร้อยละ64.29 ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 มีนักเรียนที่มีผลสัมฤทธิ์ด้านการอ่านและการเขียนผ่านเกณฑ์ที่กำหนด ร้อยละ 85.37 และต่ำกว่าเกณฑ์ ร้อยละ 14.63 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีนักเรียนที่มีผลสัมฤทธิ์ด้านหลักภาษาผ่านเกณฑ์ที่กำหนด ร้อยละ 67.86 และต่ำกว่าเกณฑ์ ร้อยละ 32.14 ภาษาอังกฤษ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 มีนักเรียนที่มีผลสัมฤทธิ์ด้านการอ่านเขียนพยัญชนะและสระภาษาอังกฤษ ผ่านเกณฑ์ที่กำหนดร้อยละ 63.41 และต่ำกว่าเกณฑ์ ร้อยละ 36.59 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีนักเรียนที่มีผลสัมฤทธิ์ด้านการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสารผ่านเกณฑ์ที่กำหนด ร้อยละ 53.57 และต่ำกว่าเกณฑ์ ร้อยละ 46.43 ภาษาไทย 1. จำนวนนักเรียนที่มีผลสัมฤทธิ์ด้านการอ่านและการเขียนผ่านเกณฑ์เพิ่มขึ้น 2. จำนวนนักเรียนที่มีผลสัมฤทธิ์ด้านการใช้หลักภาษาผ่านเกณฑ์เพิ่มขึ้น 3. นักเรียนมีพฤติกรรมที่แสดงออกว่ามีความกระตือรือร้น เอาใจใส่ต่อการเรียนเพิ่มขึ้น ภาษาอังกฤษ 1. จำนวนนักเรียนที่มีผลสัมฤทธิ์ด้านการอ่านเขียนพยัญชนะและสรภาษาอังกฤษเพิ่มขึ้น 2. จำนวนนักเรียนที่มีผลสัมฤทธิ์การใช้ภาษาเพื่อการสื่อสารเพิ่มขึ้น 3. นักเรียนมีพฤติกรรมที่แสดงออกว่ามีความกระตือรือร้น เอาใจใส่ต่อการเรียนเพิ่มขึ้น โรงเรียนบ้านทุ่งตำเสา ภาษาไทย -นักเรียนชั้นประถม ศึกษาปีที่ 2 จำนวน 17 คน และประถมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 20 คน มีผลการอ่านในระดับพอใช้ขึ้นไป ร้อยละ 60 ภาษาอังกฤษ -นักเรียนชั้นประถม ศึกษาปีที่ 4 จำนวน 26 คน มีผลการอ่านในระดับพอใช้ขึ้นไป ร้อยละ 60 ภาษาไทย -นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 และ 3 มีจำนวนทั้งหมด 63 คน มีพัฒนาการด้านการอ่านดีขึ้น ร้อยละ 80 ภาษาอังกฤษ -นักเรียนชั้นประถม ศึกษาปีที่ 4 มีพัฒนาการด้านการอ่านดีขึ้นร้อยละ 80 ภาษาไทย - ครูผู้สอนใช้กิจกรรมการเรียนรู้ Active Learning ทำให้นักเรียนสามารถสร้างองค์ความรู้อย่างเข้าใจและมีความสุขในการเรียนรู้ - ครูออกแบบสื่อการเรียนรู้อย่างเหมาะสม ทำให้นักเรียนมีความเข้าใจมากยิ่งขึ้น ภาษาอังกฤษ - ครูผู้สอนใช้กิจกรรมการเรียนรู้ Active Learning ทำให้นักเรียนสนุกสนาน และมีความสุขในการเรียน - ครูใช้สื่อการเรียนรู้ได้อย่างเหมาะสม 9. โรงเรียนบ้านทุ่งเสม็ด”มิตรภาพที่114” ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 นักเรียนมีความสามารถในทักษะภาษาไทย - การอ่าน นักเรียนสามารถอ่านคล่องได้ร้อยละ 75 - การอ่านเพื่อความเข้าใจ มีผลการอ่านเพื่อความเข้าใจร้อยละ 60 ทักษะการเขียน - การเขียนคำ มีความสามารถร้อยละ 75 - การเขียนเรื่องจากภาพ การเขียนบรรยายภาพ ร้อยละ 60 ภาษาอังกฤษ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 นักเรียนมีความสามารถด้านทักษะภาษาอังกฤษระดับพอใช้ ทักษะด้านการฟัง การออกเสียง อยู่ในระดับพอใช้ ความสามารถในการแสดงออก / ความมั่นใจในการใช้ภาษาอังกฤษตามระดับภาษา ตามวัยของผู้เรียน อยู่ในระดับพอใช้ ภาษาไทย นักเรียนมีพัฒนาการในการเรียนภาษาไทยในทุกทักษะเพิ่มขึ้น มีความตั้งใจในการเรียน เกิดทักษะการใฝ่รู้ ใฝ่เรียน และการทำงานเพิ่มขึ้นช่วยเหลือซึ่งกันและกันมากขึ้น ภาษาอังกฤษ นักเรียนมีเจตคติที่ดีต่อการเรียนวิชาภาษาอังกฤษมากขึ้น ชอบและสนุกกับการเรียน มีความมั่นใจในการร่วมกิจกรรม กระตือรือร้นในการเรียนมากขึ้น มีพัฒนาการด้านความสามารถด้านภาษามากขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม ภาษาไทย - ครูผู้สอนสร้างสื่อ ใช้สื่อในการจัดกิจกรรมการเรียน การสอน สร้างแรงจูงใจแก่ผู้เรียน - ครูมีแผนการสอนที่ผ่านการตรวจ และร่วมจัดทำ เตรียมการสอน อย่างเป็นระบบ - ครูมีทีมคอยช่วยเหลือ สนับสนุนให้คำปรึกษาในการจัดกิจกรรมที่เป็นActive Learning - การนิเทศด้วยความเป็นกัลยาณมิตร ภาษาอังกฤษ - นักเรียนมีเจตคติรักในการเรียนภาษาอังกฤษ - ครูออกแบบการเรียนการสอน เลือกการใช้สื่อเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับวัยของผู้เรียน รวมทั้งสื่ออื่น ๆ เหมาะสมกับความสนใจของผู้เรียน - การสร้างบรรยากาศของการเรียน โดยใช้กิจกรรมที่เหมาะสมกับวัยของผู้เรียน - ครูมีการเตรียมการสอน มีแผนการสอน ช่วยให้กิจกรรมการเรียนการสอนเป็นไปอย่างต่อเนื่อง ตามเนื้อหากิจกรรมอย่างเหมาะสม - ครูมีทีมคอยช่วยเหลือ ให้คำปรึกษา เพื่อการปรับปรุงต่อเนื่อง 10. โรงเรียนอนุบาลท่าแพ ภาษาไทย ป.6 นักเรียนมีความสนใจในการเรียน คิดเป็นร้อยละ 70 ภาษาอังกฤษ ป.2 นักเรียนให้ความร่วมมือในการเรียนคิดเป็น ร้อยละ 65 ภาษาไทย ป.4 นักเรียนมีความสนใจในการเรียน คิดเป็นร้อยละ 70 ภาษาอังกฤษ ป.4 นักเรียนให้ความร่วมมือ คิดเป็นร้อยละ 75 ภาษาไทย ป.6 นักเรียนมีความสนใจในการเรียน คิดเป็นร้อยละ 90 ภาษาอังกฤษ ป.2 นักเรียนให้ความร่วมมือในการเรียนคิดเป็นร้อยละ 80 ภาษาไทย ป.4 นักเรียนมีความสนใจในการเรียน คิดเป็นร้อยละ 85 ภาษาอังกฤษ ป.4 นักเรียนให้ความร่วมมือคิดเป็นร้อยละ 95 นักเรียนมีความสนใจ และให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม รวมทั้งมีความกระตือรือร้นในการเรียน ทำให้นักเรียนกล้าพูด กล้าแสดงความคิดเห็น ในเนื้อหาที่สอน และมีความสนุกสนาน อยากเรียนรู้เพิ่มเติม 3.ผลการประเมินความพึงพอใจของโรงเรียน (โปรดระบุความพึงพอใจ โดยใช้เกณฑ์การประเมิน 5 ระดับ ได้แก่ (1) น้อยที่สุด (2) น้อย (3) ปานกลาง (4) มาก และ (5) มากที่สุด พร้อมระบุว่ามีความพึงพอใจในด้านใดมากที่สุด โรงเรียน ด้านที่ความพึงพอใจมากที่สุด 1. โรงเรียนบ้านสาครเหนือ การพัฒนาการจัดกระบวนการเรียนการสอนและการนิเทศ 2. โรงเรียนบ้านทุ่งนุ้ย"มิตรภาพที่ 49" กระบวนการเรียนรู้แบบ Active learning 3 .โรงเรียนบ้านสาคร กระบวนการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning 4. โรงเรียนบ้านน้ำหรา กระบวนการนิเทศ ติดตามอย่างเป็นกัลยาณมิตร 5. โรงเรียนบ้านทุ่งดินลุ่ม ได้รับองค์ความรู้จากคำแนะนำของอาจารย์ 6. โรงเรียนบ้านกุบังปะโหลด ด้านการจัดการเรียนรู้แบบ Active. Learning 7. โรงเรียนบ้านบ่อหิน ด้านการให้ความรู้ในกระบวนการ PLC กระบวนการจัดการเรียนรู้ในรูปแบบ Active Leaning และการสังเกตชั้นเรียน LS 8. โรงเรียนบ้านทุ่งตำเสา “ชูสินอุปถัมภ์” กระบวนการจัดการเรียนรู้ของครู ลงสู่นักเรียน และมีเทคนิคการสอบแบบ Active Learning 9. โรงเรียนบ้านทุ่งเสม็ด”มิตรภาพที่114” การนิเทศ ติดตามอย่างเป็นกัลยาณมิตร 10. โรงเรียนอนุบาลท่าแพ การใช้กระบวนการจัดการเรียนรู้ แบบ Active Learning@19 ธ.ค. 62 16:55โครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษาเพื่อพัฒนาท้องถิ่นโดยมีสถาบันอุดมศึกษา(มหาวิทยาลัยหาดใหญ่) เป็นพี่เลี้ยง
บ้านนักอ่าน ลานเรื่องเล่า โรงเรียนบ้านท่าเนียน : ผลผลิตโครงการฯ 1. ผลงานสมุดเล่มเล็กจากการสรุปเรื่อง การวาดภาพ และการเขียนคำศัพท์ของนักเรียน 2. หนังสือเรื่องประกอบภาพวรรณกรรมมรดกของไทย 3 เรื่องคือ เงาะป่า อิเหนา และสงข์ทอง การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับ 1.นักเรียนมีพัฒนาการด้านในด้านทักษะการฟัง การอ่าน การเล่าเรื่อง และการทำงานเป็นทีมเพิ่มขึ้น 2. นักเรียนมีทัศนคติทางบวกต่อวรรณคดีมรดกของไทย มีความรักการอ่าน การเล่าเรื่อง และการค้นคว้าความหมายคำศัพท์ โรงเรียน 1.ผลการเรียนภาษาไทยของนักเรียนดีขึ้น 2. ครูมีทักษะการสอนที่เกิดจากการสังเกตการณ์การสอนของวิทยากรและวิทยากรผู้ช่วย 3.โรงเรียนมีหนังสือวรรณคดีมรดก ไว้เป็นสื่อการสอนภาษาไทยประจำห้องสมุดโรงเรียน และให้นักเรียนได้ค้นคว้าเพื่อการเรียนรู้ตามอัธยาศัย 10. ตัวชี้วัดการเปลี่ยนแปลง เช่น ผลการประเมินโดยเปรียบเทียบระหว่าง Pre-test /Post-test/ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน นักเรียนมีความรู้และทักษะการอ่าน การเล่าเรื่อง การเขียนภาษาไทยเพิ่มขึ้น 11. ประโยชน์ที่โรงเรียนและชุมชนได้รับจากการดำเนินโครงการฯ ประโยชน์สำหรับโรงเรียน 1. โรงเรียนได้เห็นศักยภาพด้านการอ่าน การเล่าเรื่อง การเขียน ภาษาไทยของ 2. โรงเรียนมีสื่อการสอนวรรณคดีมรดกเพิ่มขึ้น@27 ก.ย. 62 13:44