โครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษาเพื่อพัฒนาท้องถิ่นโดยมีสถาบันอุดมศึกษา(มหาวิทยาลัยหาดใหญ่) เป็นพี่เลี้ยง

บ้านนักอ่าน ลานเรื่องเล่า โรงเรียนบ้านท่าเนียน27 กันยายน 2562
27
กันยายน 2562รายงานจากพื้นที่ โดย Siriporn
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ขั้นตอนวิธีดำเนินการ   7    กรกฎาคม 2562 ประชุมเพื่อวางแผนดำเนินงานร่วมกับครูและผู้บริหารโรงเรียนบ้านท่าเนียน   12  กรกฎาคม 2562      ประชุมวางแผนการจัดโครงการร่วมกับนักศึกษาวิทยากรที่จะเป็นผู้สอนการอ่านร่วมกับ   27-28  กรกฏาคม 2562  จัดกิจกรรม “อ่านวรรณคดีไทย  การเล่าเรื่อง  และการเขียนภาษาไทย จากสื่อวรรณคดีมรดก”  ให้แก่นักเรียน                 19  สิงหาคม 2562          ติดตามประเมินโครงการ  และให้ข้อเสนอแนะแก่ครูและผู้บริหารโรงเรียนท่าเนียนในการต่อยอดทักษะการอ่านภาษาไทยของนักเรียน

กิจกรรมที่ดำเนินการพัฒนา - พัฒนาทักษะการอ่านและการเขียนภาษาไทยแก่นักเรียน - สอนเสริมการวาดภาพประกอบเรื่อง  คำศัพท์  และวรรณคดีมรดกเรื่องอิเหนา  สังข์ทอง  และเงาะป่า - ฝึกปฏิบัติการเล่าเรื่องจากเรื่องที่อ่าน - ฝึกการทำงานเป็นทีม

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผลผลิตโครงการฯ
                              1. ผลงานสมุดเล่มเล็กจากการสรุปเรื่อง  การวาดภาพ  และการเขียนคำศัพท์ของนักเรียน                                 2.  หนังสือเรื่องประกอบภาพวรรณกรรมมรดกของไทย 3 เรื่องคือ  เงาะป่า  อิเหนา  และสงข์ทอง

การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับ
1.นักเรียนมีพัฒนาการด้านในด้านทักษะการฟัง  การอ่าน การเล่าเรื่อง และการทำงานเป็นทีมเพิ่มขึ้น
              2. นักเรียนมีทัศนคติทางบวกต่อวรรณคดีมรดกของไทย  มีความรักการอ่าน  การเล่าเรื่อง  และการค้นคว้าความหมายคำศัพท์   โรงเรียน     1.ผลการเรียนภาษาไทยของนักเรียนดีขึ้น                   2. ครูมีทักษะการสอนที่เกิดจากการสังเกตการณ์การสอนของวิทยากรและวิทยากรผู้ช่วย                   3.โรงเรียนมีหนังสือวรรณคดีมรดก ไว้เป็นสื่อการสอนภาษาไทยประจำห้องสมุดโรงเรียน  และให้นักเรียนได้ค้นคว้าเพื่อการเรียนรู้ตามอัธยาศัย 10. ตัวชี้วัดการเปลี่ยนแปลง เช่น ผลการประเมินโดยเปรียบเทียบระหว่าง Pre-test /Post-test/ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน นักเรียนมีความรู้และทักษะการอ่าน  การเล่าเรื่อง  การเขียนภาษาไทยเพิ่มขึ้น
11. ประโยชน์ที่โรงเรียนและชุมชนได้รับจากการดำเนินโครงการฯ ประโยชน์สำหรับโรงเรียน
1. โรงเรียนได้เห็นศักยภาพด้านการอ่าน  การเล่าเรื่อง  การเขียน ภาษาไทยของ 2. โรงเรียนมีสื่อการสอนวรรณคดีมรดกเพิ่มขึ้น