แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์
รายงานฉบับสมบูรณ์
เครือข่ายอุดมศึกษา
“ โครงการพัฒนาศักยภาพด้านภาษาและส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมแก่นักเรียน ”
จังหวัดนราธิวาส
หัวหน้าโครงการ
นาย วันชัย แก้วหนูนวล
ชื่อโครงการ โครงการพัฒนาศักยภาพด้านภาษาและส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมแก่นักเรียน
ที่อยู่ จังหวัดนราธิวาส จังหวัด นราธิวาส
รหัสโครงการ เลขที่ข้อตกลง
ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2561 ถึง 30 สิงหาคม 2562
กิตติกรรมประกาศ
"โครงการพัฒนาศักยภาพด้านภาษาและส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมแก่นักเรียน จังหวัดนราธิวาส" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน จังหวัดนราธิวาส
คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ เครือข่ายอุดมศึกษา ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป
คณะทำงานโครงการ
โครงการพัฒนาศักยภาพด้านภาษาและส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมแก่นักเรียน
บทคัดย่อ
โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่ออบรมเทคนิคการสอบอ่านและเขียน
ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ (1) กิจกรรมการสอนการอ่านและเขียนภาษาไทยแก่นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษา (ช่วงชั้นที่ ๑ ป.๑-ป.๓)ในจังหวัดนราธิวาส (2) กิจกรรมการอบรมเทคนิคการสอนอ่านและเขียนภาษาไทยแก่ผู้สอนภาษาไทยที่ไม่ตรงตามคุณวุฒิในจังหวัดนราธิวาส (3) กิจกรรมส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมจำนวน 30 ชั่วโมง
ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...
หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"
สารบัญ
กิตติกรรมประกาศ
บทคัดย่อ
ความเป็นมา/หลักการเหตุผล
วัตถุประสงค์โครงการ
กิจกรรม/การดำเนินงาน
กลุ่มเป้าหมาย
ผลลัพธ์ที่ได้
การประเมินผล
ปัญหาและอุปสรรค
ข้อเสนอแนะ
เอกสารประกอบอื่นๆ
ความเป็นมา/หลักการเหตุผล
จากการวิเคราะห์ข้อมูลตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๒ (พ.ศ. ๒๕๖๐-๒๕๖๔) พบว่าศักยภาพและระดับคุณภาพชีวิตของคนไทยหลายด้านยังต่ำกว่าเป้าหมาย และไม่สอดคล้องกับทิศทางการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมบนฐานความรู้ ปัญหาสำคัญ เช่น การศึกษาและ การเรียนรู้ของคนไทยยังมีปัญหาเชิงคุณภาพ เด็กปฐมวัยยังมีพัฒนาการที่ล่าช้ากว่าวัย เพราะครอบครัวไม่มีความรู้และขาดเวลาในการเลี้ยงดูอย่างเหมาะสม และเด็กวัยเรียนยังมีปัญหาด้านสติปัญญาเพราะคุณภาพการศึกษาไทยอยู่ในระดับต่ำ เมื่อเปรียบเทียบกับหลายประเทศอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันของไทยปรับตัวดีขึ้นช้าและลดลงในบางช่วงเวลาที่เศรษฐกิจผันผวน ทั้งนี้อันดับความสามารถในการแข่งขันซึ่งจัด โดย International Institute for Management Development (IMD) ของประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ ๓๐ จากจำนวนประเทศทั้งหมด ๕๙ ประเทศ ตั้งแต่ปี ๒๕๕๕ เป็นต้นมา และล่าสุดในปี ๒๕๕๙ อันดับได้ปรับดีขึ้น เล็กน้อยเป็นอันดับที่ ๒๘ จากจำนวนประเทศทั้งหมด ๖๑ ประเทศ ซึ่งชี้ว่าความสามารถในการแข่งขันโดยรวมของไทยในช่วง ๕ ปีของแผนพัฒนาฯ เมื่อเทียบกับต่างประเทศยังปรับตัวดีขึ้นได้น้อยมาก กล่าวได้ว่าข้อจำกัดต่อการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของไทยในช่วงที่ผ่านมานั้นเกิดจากปัจจัยหลักทั้งในเรื่องปัญหาคุณภาพคนต่ำ การพัฒนาความรู้และทักษะของแรงงานไม่ตรงกับตลาดงาน คนไทยจำนวนไม่น้อยยังไม่สามารถคัดกรองและเลือกรับ ๑๒ วัฒนธรรมได้อย่างเหมาะสม ซึ่งส่งผลต่อวิกฤตค่านิยม ทัศนคติ และพฤติกรรมในการดำเนินชีวิต ดังนั้นการพัฒนาในระยะต่อไปจึงต้องให้ความสำคัญกับการวางรากฐานการพัฒนาคนให้มีความสมบูรณ์ เพื่อให้คนไทยมีทัศนคติ และพฤติกรรมตามบรรทัดฐานที่ดีของสังคม ได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพสูงตามมาตรฐานสากล และสามารถเรียนรู้ด้วยตนเองอย่างต่อเนื่อง
จากแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติดังกล่าว การเตรียมพร้อมด้านกำลังคนและการเสริมสร้างศักยภาพของประชากรใน ทุกช่วงวัย โดยมุ่งเน้นการพัฒนาคนในทุกมิติและในทุกช่วงวัยให้เป็นทุนมนุษย์ที่มีศักยภาพสูง ภายใต้เงื่อนไข การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ ได้แก่ การเปลี่ยนแปลงไปสู่โครงสร้างประชากรสังคมสูงวัยสมบูรณ์เมื่อสิ้นสุดแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ ๑๒ จำนวนประชากรวัยแรงงานลดลงต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี ๒๕๕๘ และเกิดการขาดแคลนแรงงาน ผลิตภาพแรงงานต่าง คุณภาพคนยังมีปัญหาในทุกช่วงวัยและส่งผลกระทบต่อเนื่องถึงกันตลอดช่วงชีวิต ตั้งแต่ พัฒนาการไม่สมวัยในเด็กปฐมวัย ผลลัพธ์ทางการศึกษาของเด็กวัยเรียนค่อนข้างต่าง แรงงานมีปัญหาทั้งในเรื่อง ความรู้ ทักษะ และทัศนคติที่ไม่ตรงกับความต้องการของตลาดงาน และผู้สูงอายุมีปัญหาสุขภาพโดยที่จำนวน ไม่น้อยต้องพึ่งพิงผู้อื่นในการดำเนินชีวิต เป็นต้น ดังนั้น จุดเน้นการพัฒนาคนที่สำคัญในช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ ๑๒ มีดังนี้ ๑) การพัฒนากลุ่มเด็กปฐมวัยให้มีสุขภาพกายและใจที่ดี มีทักษะทางสมอง ทักษะ การเรียนรู้ ทักษะชีวิตและทักษะทางสังคม เพื่อให้เติบโตอย่างมีคุณภาพ ๒) การหล่อหลอมให้คนไทยมีค่านิยมตามบรรทัดฐานที่ดีทางสังคม คนไทยในทุก ช่วงวัยเป็นคนดี มีสุขภาวะที่ดี มีคุณธรรมจริยธรรม มีระเบียบวินัย มีจิตสำนึกที่ดีต่อสังคมส่วนรวม ๓) การพัฒนาทักษะความรู้ความสามารถของคน มุ่งเน้นการพัฒนาทักษะที่เหมาะสม ในแต่ละช่วงวัยเพื่อวางรากฐานให้เป็นคนมีคุณภาพในอนาคต การพัฒนาทักษะสอดคล้องกับความต้องการ ในตลาดแรงงานและทักษะที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตในศตวรรษที่ ๒๑ ของคนในแต่ละช่วงวัยตามความ เหมาะสม เช่น เด็กวัยเรียนและวัยรุ่นพัฒนาทักษะการวิเคราะห์อย่างเป็นระบบ มีความคิดสร้างสรรค์รวมทั้ง การให้ความสำคัญกับการพัฒนาให้มีความพร้อมในการต่อยอดพัฒนาทักษะในทุกด้าน มีทักษะการทำงานและ การใช้ชีวิตที่พร้อมเข้าสู่ตลาดงาน วัยแรงงานเน้นการสร้างความรู้และทักษะในการประกอบอาชีพที่สอดคล้อง กับตลาดงานทั้งทักษะขั้นพื้นฐาน ทักษะเฉพาะในวิชาชีพ ทักษะการเป็นผู้ประกอบการรายใหม่ ทักษะ การประกอบอาชีพอิสระ วัยสูงอายุเน้นพัฒนาทักษะที่เอื้อต่อการประกอบอาชีพที่เหมาะสมกับวัยและ ประสบการณ์ ๔) การเตรียมความพร้อมของกำลังคนด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีใน กลุ่มวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่จะเปลี่ยนแปลงโลกในอนาคตอย่างสำคัญ ๕) การยกระดับคุณภาพการศึกษาสู่ความเป็นเลิศในทุกระดับและยกระดับ การเรียนรู้ โดยเน้นการพัฒนาคุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐานทั้งการบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็ก ปรับระบบ การจัดการเรียนการสอน และการพัฒนาคุณภาพครูทั้งระบบ รวมทั้งการยกระดับคุณภาพการศึกษาสู่ ความเป็นเลิศในสาขาวิชาที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน และพัฒนาระบบทวิภาคีหรือสหกิจศึกษาให้เอื้อต่อ การเตรียมคนที่มีทักษะให้พร้อมเข้าสู่ตลาดแรงงาน นอกจากนี้ต้องให้ความสำคัญกับการสร้างปัจจัยแวดล้อม ที่เอื้อต่อการเรียนรู้ตลอดชีวิตทั้งสื่อการเรียนรู้และแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย การสร้างเสริมให้คนมีสุขภาพดี เน้นการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมทางสุขภาพและ การลดปัจจัยเสี่ยงด้านสภาพแวดล้อมที่ส่งผลต่อสุขภาพ โดยให้ความสำคัญกับการพัฒนาความรู้ในการดูแลสุขภาพ การพัฒนารูปแบบการออกก าลังกายและโภชนาการที่เหมาะสมกับแต่ละช่วงวัย การใช้มาตรการทางกฎหมายและ ภาษีในการควบคุมและส่งเสริมอาหารและผลิตภัณฑ์ที่ส่งผลเสียต่อสุขภาพ การสร้างกลไกในการจัดทำนโยบาย สาธารณะที่ต้องคำนึงถึงผลกระทบต่อสุขภาพที่จะนำไปสู่การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการมีสุขภาพดี
ภาษาเป็นเครื่องมือสำคัญที่มนุษย์ใช้ในการติดต่อสื่อสาร เพื่อถ่ายทอดความรู้ ประสบการณ์ อารมณ์ และความรู้สึกนึกคิดต่าง ๆ ให้ผู้อื่นทราบ ทุกชาติทุกภาษาต่างก็มีภาษาเป็นสื่อกลางในการสื่อสาร เพื่อให้เกิดความเข้าใจซึ่งกันและกันของคนในชาติ
ประเทศไทยเป็นประเทศหนึ่งที่มีภาษาไทยเป็นเอกลักษณ์ของความเป็นไทย แสดงถึงภูมิปัญญาของ บรรพบุรุษที่ได้รังสรรค์ภาษาเป็นเครื่องมือในการแสวงหาความรู้ การติดต่อสื่อสาร และการดำเนินชีวิต นอกจากนี้ภาษายังเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจของคน เพื่อสร้างความรัก ความสามัคคี และความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันของคนในชาติ ดังข้อความตอนหนึ่งในพระราชนิพนธ์เรื่องความเป็นชาติในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวความว่า
“ภาษาเป็นเครื่องผูกพันมนุษย์ต่อมนุษย์แน่นแฟ้นยิ่งกว่าสิ่งอื่น และไม่มีสิ่งใดจะทำให้คนรู้สึกเป็นพวกเดียวกันหรือแน่นอนยิ่งไปกว่าพูดภาษาเดียวกัน รัฐบาลทั้งปวงย่อมรู้สึกในข้อนี้อยู่ดี เพราะฉะนั้นรัฐบาลใดที่ต้องปกครองชนต่างชาติต่างภาษาจึงต้องพยายามตั้งโรงเรียนและออกบัญญัติบังคับให้ชนต่างชาติต่างภาษาเรียนภาษาของผู้ปกครอง...แต่ถ้ายังจัดการแปลงภาษาไม่สำเร็จอยู่ตราบใด ก็แปลว่าผู้พูดภาษากับผู้ปกครองนั้นยังไม่เชื่ออยู่ตราบนั้น และยังเรียกว่าเป็นชาติเดียวกันกับมหาชนพื้นเมืองไม่ได้อยู่ตราบนั้น” (อมรรัตน์ เทพกำปนาท, 2548)สอดคล้องกับพระราชดำรัสในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชบรมนาถบพิตรที่ทรงเห็นถึงความสำคัญของภาษาไทย ซึ่งเป็นภาษาของชาติไทย ความว่า “ภาษาเป็นเครื่องมืออย่างหนึ่งของชาติ...ประเทศไทยนั้นมีภาษาของเราเองต้องหวงแหน...” และ “เราโชคดีที่มีภาษาของเราเองแต่โบราณ จึงสมควรอย่างยิ่งที่จะต้องรักษาไว้” (สมศักดิ์ ทองช่วย, 2561) และกองเทพ เคลือบพนิชกุล (2542) กล่าวว่า “ถ้าชนชาติใดรักษาภาษาของตนเองให้บริสุทธิ์ก็ได้ชื่อว่ารักษาความเป็นชาติไว้ได้”ดังนั้นการธำรงรักษาและใช้ภาษาไทยให้ถูกต้องจึงเป็นสิ่งจำเป็นที่คนไทยทุกคนไม่ว่าจะมีบรรพบุรุษมาจากเชื้อชาติศาสนาใดจะต้องเรียนรู้ให้แตกฉานและร่วมกันอนุรักษ์ภาษาไทยให้คงอยู่สืบไป
ปัจจุบันผู้ใช้ภาษาไทยจำนวนมากใช้ภาษาไทยไม่ถูกต้อง โดยเฉพาะผู้ที่ใช้ภาษาไทยเป็นภาษาที่สองจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะให้ผู้ใช้ภาษาไทยเป็นภาษาที่สองฝึกฝนและเรียนรู้การใช้ภาษาไทยให้ถูกต้องทั้งการพูด การอ่าน และการเขียน เนื่องจากบุคคลเหล่านี้ไม่คุ้นชินกับลักษณะและวัฒนธรรมภาษาของไทย เพราะไม่ได้ใช้ภาษาไทยมาแต่กำเนิด เมื่อมาเรียนรู้ภาษาไทยและวัฒนธรรมการใช้ภาษาไทย อาจจะไม่เข้าใจภาษาไทยและวัฒนธรรมการใช้ภาษาไทยอย่างแท้จริง ดังที่นวลทิพย์ เพิ่มเกสร (2551) กล่าวถึงปัญหาการใช้ภาษาไทยของนักเรียนชาวจีน สรุปได้ว่า นักเรียนชาวจีนไม่สามารถออกเสียงพยัญชนะหรือสระบางเสียงที่ไม่มีในภาษาจีนได้ ยกตัวอย่างเช่น คำว่า [บางที] ออกเสียงเป็น [ปางที] คำว่า [หวังว่า] ออกเสียงเป็น [หวางว่า] คำว่า [ดีใจ] ออกเสียงเป็น [ดีจาย] ทั้งนี้ “เนื่องจากการแทรกแซงของภาษาแม่มีอิทธิพลต่อภาษาต่างประเทศ” (Williams, 2535) สอดคล้องกับ หวี่นห์ วัน ฟุก,(2546) พบว่า “ผู้เรียนชาวเวียดนามถิ่นใต้ออกเสียงภาษาไทยไม่ชัดเจน เนื่องจากลักษณะของเสียงภาษาไทยมาตรฐานบางเสียงไม่ปรากฏในภาษาเวียดนามถิ่นใต้ ผู้เรียนจึงเอาลักษณะทางเสียงในภาษาเวียดนามที่ใกล้เคียงกับภาษาไทยเข้ามาแทรกแซงเมื่อใช้ภาษาไทย” สอดคล้องกับธีราภรณ์ พลายเล็ก (2555) ได้ศึกษาเรื่องเสียงพยัญชนะท้ายคำภาษาอังกฤษที่เป็นปัญหาในการออกเสียงของนักศึกษาไทย สรุปได้ว่า มีเสียง [θ], [ð], [ɾ], [z], [ʃ] ซึ่งเป็นเสียงที่มีปัญหาในการออกเสียงของนักเรียนไทย และจันทนี กัณโท (2554) ได้ศึกษาปัญหาการออกเสียงพยัญชนะท้ายภาษาอังกฤษของนักเรียนระดับชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพ ปีที่ 1 พบว่า “นักเรียนมีปัญหาการออกเสียง [-st], [-ts] และ [r]” เนื่องจากเป็นเสียงที่ไม่มีใช้ในภาษาไทย ดังนั้นจะเห็นได้ว่าไม่ว่าผู้ใช้ภาษาใดเป็นภาษาที่หนึ่ง เมื่อมาเรียนรู้ภาษาที่สองจะมีปัญหาด้านการใช้ภาษา กล่าวคือผู้เรียนไม่มีความมั่นใจในการใช้ภาษา ใช้ภาษาไม่ถูกต้อง ทั้งการพูด การอ่าน และการเขียน ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการสื่อสารและอาจมีผลกระทบต่อความมั่นคงหรือความรู้สึกในความเป็นชาติตามมา
สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย คือ ปัตตานียะลา และนราธิวาส เป็นกลุ่มจังหวัดที่มีผู้ใช้ภาษามลายูถิ่นเป็นภาษาที่หนึ่งและใช้ภาษาไทยเป็นภาษาที่สอง “ประมาณร้อยละ 80-85” (กามารุดดีน อิสายะ,2553) ส่งผลให้บุคคลที่ใช้ภาษามลายูถิ่นเป็นภาษาหลักในพื้นที่ดังกล่าว “ขาดทักษะด้านการใช้ภาษาไทย เมื่อจะใช้ภาษาไทยก็ไม่มีความมั่นใจ และใช้ไม่ถูกต้อง” (เรชา ชูสุวรรณ, 2552) และยังกล่าวไว้สรุปได้ว่า สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ยังมีผู้อ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ รวมทั้งไม่สามารถพูดภาษาไทยได้อีกจำนวนมาก ซึ่งเป็นข้อจำกัดทางด้านสังคมที่ส่งผลต่อการเรียนรู้ภาษาไทย โดยเฉพาะในกลุ่มนักเรียน ทั้งนี้เนื่องจากลักษณะของภาษาไทยกับมลายูถิ่นที่นักเรียนใช้ในการพูดและภาษาอาหรับที่นักเรียนต้องเรียนทั้งอ่านและเขียนมีความแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง ทั้งในลักษณะโครงสร้างทางภาษา รูปและเสียงพยัญชนะ สำเนียงการพูด การออกเสียงคำหรือประโยคการออกเสียงในการพูดภาษามลายูถิ่น แตกต่างกับเสียงในภาษาไทย ทำให้ออกเสียงไม่ชัดการพูดหรืออ่านออกเสียงไม่ชัด ส่งผลต่อการเขียนที่ถูกต้องด้วย เช่น คำว่า กิน นักเรียนจะออกเสียง กิง และเขียน กิง ด้วย
สถานการณ์
วัตถุประสงค์โครงการ
- เพื่ออบรมเทคนิคการสอบอ่านและเขียน
กิจกรรม/การดำเนินงาน
- กิจกรรมการอบรมเทคนิคการสอนอ่านและเขียนภาษาไทยแก่ผู้สอนภาษาไทยที่ไม่ตรงตามคุณวุฒิในจังหวัดนราธิวาส
- กิจกรรมการสอนการอ่านและเขียนภาษาไทยแก่นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษา (ช่วงชั้นที่ ๑ ป.๑-ป.๓)ในจังหวัดนราธิวาส
กลุ่มเป้าหมาย
กลุ่มเป้าหมาย จำนวนที่วางไว้
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
1.นักเรียนกลุ่มโคกเคียน โรงเรียนไทยรัฐวิทยา 10 และโรงเรียนบ้านบาตาปาเซ มีความรู้ภาษาอังกฤษ
และภาษาไทยสูงขึ้นกว่าก่อนเรียนร้อยละ 20
2.นักเรียนกลุ่มโรงเรียนโคกเคียน โรงเรียนไทยรัฐวิทยา 10 และโรงเรียนบ้านบาตาปาเซ ตระหนักในความสำคัญของการมีคุณธรรมจริยธรรมและมีจริยธรรมที่ดีงามมากขึ้น
3.ครูผู้สอนภาษาไทยในจังหวัดนราธิวาสมีเทคนิคการเรียนการสอนภาษาไทยมากมากขึ้น
ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน
วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ ผลผลิต* ผลผลิตที่ตั้งไว้ ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง
1. กิจกรรมการอบรมเทคนิคการสอนอ่านและเขียนภาษาไทยแก่ผู้สอนภาษาไทยที่ไม่ตรงตามคุณวุฒิในจังหวัดนราธิวาส
วันที่ 1 กรกฎาคม 2562กิจกรรมที่ทำ
1.มีการประชุมเพื่อเตรียมความพร้อมในการดำเนินการในส่วนของกิจกรรมการอบรมเทคนิคการสอนอ่านและเขียนภาษาไทยแก่ผู้สอนภาษาไทยที่ไม่ตรงตามคุณวุฒิฯ
2.มีการจัดทำหนังสือในการเข้าร่วมอบรมกิจกรรมฯ ไปยังโรงเรียนต่าง ๆ
3.ได้มีการทำหนังสือเชิญวิทยากรมาบรรยายในการจัดกิจกรรมให้แก่คุณครูที่สอนไม่ตรงคุณวุฒิ
4.จัดทำคำสั่งแต่งตั้งผู้ดำเนินการโครงการและรับผิดชอบในแต่ละฝ่าย
5.มอบหมายหน้าที่ให้แต่ละผู้รับผิดชอบดำเนินการในงานต่าง ๆ
6.จัดทำหลักสูตร คู่มือแบบฝึกหัดและเอกสารประกอบการเรียนการสอน
7.ดำเนินกิจกรรมการอบรมเทคนิคการสอนอ่านและเขียนภาษาไทยแก่ผู้สอนภาษาไทยไม่ตรงตามคุณวุฒิในจังหวัดนราธิวาส จัดขึ้นระหว่างวันที่ 29-30 มิถุนายน - 1 กรกฏาคม 2562 โดยจัด ณ ห้องเรียนสื่อสารทางไกล คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ โดยการจัดกิจกรรมมีการเชิญวิทยากรมาบรรยายให้กับผู้สอนภาษาไทยไม่ตรงตามคุณวุฒิฯ
8.ผู้รับผิดชอบโครงการดำเนินการวางแผนจัดโครงการ โดยกำหนดวันและเวลาที่จัดการอบรม และสถานที่จัดกิจกรรม ณ คณะศิลปสาสตร์ มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ ประกอบด้วย
1) ห้องเรียนสื่อสารทางไกล
2) ห้องสโมสรนักศึกษา
9.ผู้รับผิดชอบโครงการได้จัดทำแบบสอบถามออนไลน์ (Google Form) เพื่อใช้สำรวจความพึงพอใจของครูที่ได้เข้าร่วมโครงการ โดยจะนำข้อมูลที่ได้ไปปรับใช้ในการจัดโครงการให้มีคุณภาพมากยิ่งขึ้นในครั้งต่อไป
10.ผู้รับผิดชอบโครงการได้ดำเนินการจัดโครงการ ตามวันเวลาและกำหนดการที่วางไว้ และเมื่อเสร็จสิ้นการจัดโครงการ ๆได้นำส่งแบบสอบถามออนไลน์ (Google Form) ไปยังผู้เข้าร่วมโครงการเพื่อสำรวจความพึงพอใจของผู้เข้าอบรมจากการเข้าร่วมโครงการ เพื่อตรวจสอบความเข้าใจในหัวข้อการอบรมต่างๆ รวมถึงข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะเพิ่มเติมของผู้เข้าร่วมโครงการในครั้งนี้
ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น
ผลผลิต
1.ความรู้หลังเรียนของครูสูงกว่าก่อนเรียน ร้อยละ 20 ขึ้นไป
2.ความพึงพอใจของครูผู้เข้าร่วมอบรมคะแนน 3.51 ขึ้นไป
ผลลัพธ์
1.ครูมีเทคนิคและวิธีการสอนอ่านและเขียนภาษาไทยมากขึ้น
20
0
* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น
ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม
ผลการดำเนินโครงการ
สรุปผลการดำเนินโครงการ
ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
ผลผลิตโครงการ
วัตถุประสงค์ สถานการณ์ เป้าหมาย ผลผลิต อธิบาย
1
เพื่ออบรมเทคนิคการสอบอ่านและเขียน
ตัวชี้วัด : ร้อยละของผู้อ่านออกเขียนได้
50.00
80.00
ผู้เข้าร่วมโครงการ
กลุ่มเป้าหมาย จำนวนที่วางไว้(คน) จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด
กลุ่มเป้าหมาย จำนวนที่วางไว้(คน) จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
บทคัดย่อ*
ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ
ปัญหาและอุปสรรค สาเหตุ ข้อเสนอแนะ
โครงการพัฒนาศักยภาพด้านภาษาและส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมแก่นักเรียน จังหวัด นราธิวาส
รหัสโครงการ
ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว
................................
( นาย วันชัย แก้วหนูนวล )
ผู้รับผิดชอบโครงการ
......./............/.......
เครือข่ายอุดมศึกษา
“ โครงการพัฒนาศักยภาพด้านภาษาและส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมแก่นักเรียน ”
จังหวัดนราธิวาสหัวหน้าโครงการ
นาย วันชัย แก้วหนูนวล
ชื่อโครงการ โครงการพัฒนาศักยภาพด้านภาษาและส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมแก่นักเรียน
ที่อยู่ จังหวัดนราธิวาส จังหวัด นราธิวาส
รหัสโครงการ เลขที่ข้อตกลง
ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2561 ถึง 30 สิงหาคม 2562
กิตติกรรมประกาศ
"โครงการพัฒนาศักยภาพด้านภาษาและส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมแก่นักเรียน จังหวัดนราธิวาส" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน จังหวัดนราธิวาส
คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ เครือข่ายอุดมศึกษา ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป
คณะทำงานโครงการ
โครงการพัฒนาศักยภาพด้านภาษาและส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมแก่นักเรียน
บทคัดย่อ
โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่ออบรมเทคนิคการสอบอ่านและเขียน
ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ (1) กิจกรรมการสอนการอ่านและเขียนภาษาไทยแก่นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษา (ช่วงชั้นที่ ๑ ป.๑-ป.๓)ในจังหวัดนราธิวาส (2) กิจกรรมการอบรมเทคนิคการสอนอ่านและเขียนภาษาไทยแก่ผู้สอนภาษาไทยที่ไม่ตรงตามคุณวุฒิในจังหวัดนราธิวาส (3) กิจกรรมส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมจำนวน 30 ชั่วโมง
ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...
หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"
สารบัญ
กิตติกรรมประกาศ | |
บทคัดย่อ | |
ความเป็นมา/หลักการเหตุผล | |
วัตถุประสงค์โครงการ | |
กิจกรรม/การดำเนินงาน | |
กลุ่มเป้าหมาย | |
ผลลัพธ์ที่ได้ | |
การประเมินผล | |
ปัญหาและอุปสรรค | |
ข้อเสนอแนะ | |
เอกสารประกอบอื่นๆ |
ความเป็นมา/หลักการเหตุผล
จากการวิเคราะห์ข้อมูลตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๒ (พ.ศ. ๒๕๖๐-๒๕๖๔) พบว่าศักยภาพและระดับคุณภาพชีวิตของคนไทยหลายด้านยังต่ำกว่าเป้าหมาย และไม่สอดคล้องกับทิศทางการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมบนฐานความรู้ ปัญหาสำคัญ เช่น การศึกษาและ การเรียนรู้ของคนไทยยังมีปัญหาเชิงคุณภาพ เด็กปฐมวัยยังมีพัฒนาการที่ล่าช้ากว่าวัย เพราะครอบครัวไม่มีความรู้และขาดเวลาในการเลี้ยงดูอย่างเหมาะสม และเด็กวัยเรียนยังมีปัญหาด้านสติปัญญาเพราะคุณภาพการศึกษาไทยอยู่ในระดับต่ำ เมื่อเปรียบเทียบกับหลายประเทศอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันของไทยปรับตัวดีขึ้นช้าและลดลงในบางช่วงเวลาที่เศรษฐกิจผันผวน ทั้งนี้อันดับความสามารถในการแข่งขันซึ่งจัด โดย International Institute for Management Development (IMD) ของประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ ๓๐ จากจำนวนประเทศทั้งหมด ๕๙ ประเทศ ตั้งแต่ปี ๒๕๕๕ เป็นต้นมา และล่าสุดในปี ๒๕๕๙ อันดับได้ปรับดีขึ้น เล็กน้อยเป็นอันดับที่ ๒๘ จากจำนวนประเทศทั้งหมด ๖๑ ประเทศ ซึ่งชี้ว่าความสามารถในการแข่งขันโดยรวมของไทยในช่วง ๕ ปีของแผนพัฒนาฯ เมื่อเทียบกับต่างประเทศยังปรับตัวดีขึ้นได้น้อยมาก กล่าวได้ว่าข้อจำกัดต่อการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของไทยในช่วงที่ผ่านมานั้นเกิดจากปัจจัยหลักทั้งในเรื่องปัญหาคุณภาพคนต่ำ การพัฒนาความรู้และทักษะของแรงงานไม่ตรงกับตลาดงาน คนไทยจำนวนไม่น้อยยังไม่สามารถคัดกรองและเลือกรับ ๑๒ วัฒนธรรมได้อย่างเหมาะสม ซึ่งส่งผลต่อวิกฤตค่านิยม ทัศนคติ และพฤติกรรมในการดำเนินชีวิต ดังนั้นการพัฒนาในระยะต่อไปจึงต้องให้ความสำคัญกับการวางรากฐานการพัฒนาคนให้มีความสมบูรณ์ เพื่อให้คนไทยมีทัศนคติ และพฤติกรรมตามบรรทัดฐานที่ดีของสังคม ได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพสูงตามมาตรฐานสากล และสามารถเรียนรู้ด้วยตนเองอย่างต่อเนื่อง
จากแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติดังกล่าว การเตรียมพร้อมด้านกำลังคนและการเสริมสร้างศักยภาพของประชากรใน ทุกช่วงวัย โดยมุ่งเน้นการพัฒนาคนในทุกมิติและในทุกช่วงวัยให้เป็นทุนมนุษย์ที่มีศักยภาพสูง ภายใต้เงื่อนไข การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ ได้แก่ การเปลี่ยนแปลงไปสู่โครงสร้างประชากรสังคมสูงวัยสมบูรณ์เมื่อสิ้นสุดแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ ๑๒ จำนวนประชากรวัยแรงงานลดลงต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี ๒๕๕๘ และเกิดการขาดแคลนแรงงาน ผลิตภาพแรงงานต่าง คุณภาพคนยังมีปัญหาในทุกช่วงวัยและส่งผลกระทบต่อเนื่องถึงกันตลอดช่วงชีวิต ตั้งแต่ พัฒนาการไม่สมวัยในเด็กปฐมวัย ผลลัพธ์ทางการศึกษาของเด็กวัยเรียนค่อนข้างต่าง แรงงานมีปัญหาทั้งในเรื่อง ความรู้ ทักษะ และทัศนคติที่ไม่ตรงกับความต้องการของตลาดงาน และผู้สูงอายุมีปัญหาสุขภาพโดยที่จำนวน ไม่น้อยต้องพึ่งพิงผู้อื่นในการดำเนินชีวิต เป็นต้น ดังนั้น จุดเน้นการพัฒนาคนที่สำคัญในช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ ๑๒ มีดังนี้ ๑) การพัฒนากลุ่มเด็กปฐมวัยให้มีสุขภาพกายและใจที่ดี มีทักษะทางสมอง ทักษะ การเรียนรู้ ทักษะชีวิตและทักษะทางสังคม เพื่อให้เติบโตอย่างมีคุณภาพ ๒) การหล่อหลอมให้คนไทยมีค่านิยมตามบรรทัดฐานที่ดีทางสังคม คนไทยในทุก ช่วงวัยเป็นคนดี มีสุขภาวะที่ดี มีคุณธรรมจริยธรรม มีระเบียบวินัย มีจิตสำนึกที่ดีต่อสังคมส่วนรวม ๓) การพัฒนาทักษะความรู้ความสามารถของคน มุ่งเน้นการพัฒนาทักษะที่เหมาะสม ในแต่ละช่วงวัยเพื่อวางรากฐานให้เป็นคนมีคุณภาพในอนาคต การพัฒนาทักษะสอดคล้องกับความต้องการ ในตลาดแรงงานและทักษะที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตในศตวรรษที่ ๒๑ ของคนในแต่ละช่วงวัยตามความ เหมาะสม เช่น เด็กวัยเรียนและวัยรุ่นพัฒนาทักษะการวิเคราะห์อย่างเป็นระบบ มีความคิดสร้างสรรค์รวมทั้ง การให้ความสำคัญกับการพัฒนาให้มีความพร้อมในการต่อยอดพัฒนาทักษะในทุกด้าน มีทักษะการทำงานและ การใช้ชีวิตที่พร้อมเข้าสู่ตลาดงาน วัยแรงงานเน้นการสร้างความรู้และทักษะในการประกอบอาชีพที่สอดคล้อง กับตลาดงานทั้งทักษะขั้นพื้นฐาน ทักษะเฉพาะในวิชาชีพ ทักษะการเป็นผู้ประกอบการรายใหม่ ทักษะ การประกอบอาชีพอิสระ วัยสูงอายุเน้นพัฒนาทักษะที่เอื้อต่อการประกอบอาชีพที่เหมาะสมกับวัยและ ประสบการณ์ ๔) การเตรียมความพร้อมของกำลังคนด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีใน กลุ่มวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่จะเปลี่ยนแปลงโลกในอนาคตอย่างสำคัญ ๕) การยกระดับคุณภาพการศึกษาสู่ความเป็นเลิศในทุกระดับและยกระดับ การเรียนรู้ โดยเน้นการพัฒนาคุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐานทั้งการบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็ก ปรับระบบ การจัดการเรียนการสอน และการพัฒนาคุณภาพครูทั้งระบบ รวมทั้งการยกระดับคุณภาพการศึกษาสู่ ความเป็นเลิศในสาขาวิชาที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน และพัฒนาระบบทวิภาคีหรือสหกิจศึกษาให้เอื้อต่อ การเตรียมคนที่มีทักษะให้พร้อมเข้าสู่ตลาดแรงงาน นอกจากนี้ต้องให้ความสำคัญกับการสร้างปัจจัยแวดล้อม ที่เอื้อต่อการเรียนรู้ตลอดชีวิตทั้งสื่อการเรียนรู้และแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย การสร้างเสริมให้คนมีสุขภาพดี เน้นการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมทางสุขภาพและ การลดปัจจัยเสี่ยงด้านสภาพแวดล้อมที่ส่งผลต่อสุขภาพ โดยให้ความสำคัญกับการพัฒนาความรู้ในการดูแลสุขภาพ การพัฒนารูปแบบการออกก าลังกายและโภชนาการที่เหมาะสมกับแต่ละช่วงวัย การใช้มาตรการทางกฎหมายและ ภาษีในการควบคุมและส่งเสริมอาหารและผลิตภัณฑ์ที่ส่งผลเสียต่อสุขภาพ การสร้างกลไกในการจัดทำนโยบาย สาธารณะที่ต้องคำนึงถึงผลกระทบต่อสุขภาพที่จะนำไปสู่การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการมีสุขภาพดี
ภาษาเป็นเครื่องมือสำคัญที่มนุษย์ใช้ในการติดต่อสื่อสาร เพื่อถ่ายทอดความรู้ ประสบการณ์ อารมณ์ และความรู้สึกนึกคิดต่าง ๆ ให้ผู้อื่นทราบ ทุกชาติทุกภาษาต่างก็มีภาษาเป็นสื่อกลางในการสื่อสาร เพื่อให้เกิดความเข้าใจซึ่งกันและกันของคนในชาติ
ประเทศไทยเป็นประเทศหนึ่งที่มีภาษาไทยเป็นเอกลักษณ์ของความเป็นไทย แสดงถึงภูมิปัญญาของ บรรพบุรุษที่ได้รังสรรค์ภาษาเป็นเครื่องมือในการแสวงหาความรู้ การติดต่อสื่อสาร และการดำเนินชีวิต นอกจากนี้ภาษายังเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจของคน เพื่อสร้างความรัก ความสามัคคี และความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันของคนในชาติ ดังข้อความตอนหนึ่งในพระราชนิพนธ์เรื่องความเป็นชาติในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวความว่า
“ภาษาเป็นเครื่องผูกพันมนุษย์ต่อมนุษย์แน่นแฟ้นยิ่งกว่าสิ่งอื่น และไม่มีสิ่งใดจะทำให้คนรู้สึกเป็นพวกเดียวกันหรือแน่นอนยิ่งไปกว่าพูดภาษาเดียวกัน รัฐบาลทั้งปวงย่อมรู้สึกในข้อนี้อยู่ดี เพราะฉะนั้นรัฐบาลใดที่ต้องปกครองชนต่างชาติต่างภาษาจึงต้องพยายามตั้งโรงเรียนและออกบัญญัติบังคับให้ชนต่างชาติต่างภาษาเรียนภาษาของผู้ปกครอง...แต่ถ้ายังจัดการแปลงภาษาไม่สำเร็จอยู่ตราบใด ก็แปลว่าผู้พูดภาษากับผู้ปกครองนั้นยังไม่เชื่ออยู่ตราบนั้น และยังเรียกว่าเป็นชาติเดียวกันกับมหาชนพื้นเมืองไม่ได้อยู่ตราบนั้น” (อมรรัตน์ เทพกำปนาท, 2548)สอดคล้องกับพระราชดำรัสในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชบรมนาถบพิตรที่ทรงเห็นถึงความสำคัญของภาษาไทย ซึ่งเป็นภาษาของชาติไทย ความว่า “ภาษาเป็นเครื่องมืออย่างหนึ่งของชาติ...ประเทศไทยนั้นมีภาษาของเราเองต้องหวงแหน...” และ “เราโชคดีที่มีภาษาของเราเองแต่โบราณ จึงสมควรอย่างยิ่งที่จะต้องรักษาไว้” (สมศักดิ์ ทองช่วย, 2561) และกองเทพ เคลือบพนิชกุล (2542) กล่าวว่า “ถ้าชนชาติใดรักษาภาษาของตนเองให้บริสุทธิ์ก็ได้ชื่อว่ารักษาความเป็นชาติไว้ได้”ดังนั้นการธำรงรักษาและใช้ภาษาไทยให้ถูกต้องจึงเป็นสิ่งจำเป็นที่คนไทยทุกคนไม่ว่าจะมีบรรพบุรุษมาจากเชื้อชาติศาสนาใดจะต้องเรียนรู้ให้แตกฉานและร่วมกันอนุรักษ์ภาษาไทยให้คงอยู่สืบไป
ปัจจุบันผู้ใช้ภาษาไทยจำนวนมากใช้ภาษาไทยไม่ถูกต้อง โดยเฉพาะผู้ที่ใช้ภาษาไทยเป็นภาษาที่สองจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะให้ผู้ใช้ภาษาไทยเป็นภาษาที่สองฝึกฝนและเรียนรู้การใช้ภาษาไทยให้ถูกต้องทั้งการพูด การอ่าน และการเขียน เนื่องจากบุคคลเหล่านี้ไม่คุ้นชินกับลักษณะและวัฒนธรรมภาษาของไทย เพราะไม่ได้ใช้ภาษาไทยมาแต่กำเนิด เมื่อมาเรียนรู้ภาษาไทยและวัฒนธรรมการใช้ภาษาไทย อาจจะไม่เข้าใจภาษาไทยและวัฒนธรรมการใช้ภาษาไทยอย่างแท้จริง ดังที่นวลทิพย์ เพิ่มเกสร (2551) กล่าวถึงปัญหาการใช้ภาษาไทยของนักเรียนชาวจีน สรุปได้ว่า นักเรียนชาวจีนไม่สามารถออกเสียงพยัญชนะหรือสระบางเสียงที่ไม่มีในภาษาจีนได้ ยกตัวอย่างเช่น คำว่า [บางที] ออกเสียงเป็น [ปางที] คำว่า [หวังว่า] ออกเสียงเป็น [หวางว่า] คำว่า [ดีใจ] ออกเสียงเป็น [ดีจาย] ทั้งนี้ “เนื่องจากการแทรกแซงของภาษาแม่มีอิทธิพลต่อภาษาต่างประเทศ” (Williams, 2535) สอดคล้องกับ หวี่นห์ วัน ฟุก,(2546) พบว่า “ผู้เรียนชาวเวียดนามถิ่นใต้ออกเสียงภาษาไทยไม่ชัดเจน เนื่องจากลักษณะของเสียงภาษาไทยมาตรฐานบางเสียงไม่ปรากฏในภาษาเวียดนามถิ่นใต้ ผู้เรียนจึงเอาลักษณะทางเสียงในภาษาเวียดนามที่ใกล้เคียงกับภาษาไทยเข้ามาแทรกแซงเมื่อใช้ภาษาไทย” สอดคล้องกับธีราภรณ์ พลายเล็ก (2555) ได้ศึกษาเรื่องเสียงพยัญชนะท้ายคำภาษาอังกฤษที่เป็นปัญหาในการออกเสียงของนักศึกษาไทย สรุปได้ว่า มีเสียง [θ], [ð], [ɾ], [z], [ʃ] ซึ่งเป็นเสียงที่มีปัญหาในการออกเสียงของนักเรียนไทย และจันทนี กัณโท (2554) ได้ศึกษาปัญหาการออกเสียงพยัญชนะท้ายภาษาอังกฤษของนักเรียนระดับชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพ ปีที่ 1 พบว่า “นักเรียนมีปัญหาการออกเสียง [-st], [-ts] และ [r]” เนื่องจากเป็นเสียงที่ไม่มีใช้ในภาษาไทย ดังนั้นจะเห็นได้ว่าไม่ว่าผู้ใช้ภาษาใดเป็นภาษาที่หนึ่ง เมื่อมาเรียนรู้ภาษาที่สองจะมีปัญหาด้านการใช้ภาษา กล่าวคือผู้เรียนไม่มีความมั่นใจในการใช้ภาษา ใช้ภาษาไม่ถูกต้อง ทั้งการพูด การอ่าน และการเขียน ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการสื่อสารและอาจมีผลกระทบต่อความมั่นคงหรือความรู้สึกในความเป็นชาติตามมา
สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย คือ ปัตตานียะลา และนราธิวาส เป็นกลุ่มจังหวัดที่มีผู้ใช้ภาษามลายูถิ่นเป็นภาษาที่หนึ่งและใช้ภาษาไทยเป็นภาษาที่สอง “ประมาณร้อยละ 80-85” (กามารุดดีน อิสายะ,2553) ส่งผลให้บุคคลที่ใช้ภาษามลายูถิ่นเป็นภาษาหลักในพื้นที่ดังกล่าว “ขาดทักษะด้านการใช้ภาษาไทย เมื่อจะใช้ภาษาไทยก็ไม่มีความมั่นใจ และใช้ไม่ถูกต้อง” (เรชา ชูสุวรรณ, 2552) และยังกล่าวไว้สรุปได้ว่า สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ยังมีผู้อ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ รวมทั้งไม่สามารถพูดภาษาไทยได้อีกจำนวนมาก ซึ่งเป็นข้อจำกัดทางด้านสังคมที่ส่งผลต่อการเรียนรู้ภาษาไทย โดยเฉพาะในกลุ่มนักเรียน ทั้งนี้เนื่องจากลักษณะของภาษาไทยกับมลายูถิ่นที่นักเรียนใช้ในการพูดและภาษาอาหรับที่นักเรียนต้องเรียนทั้งอ่านและเขียนมีความแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง ทั้งในลักษณะโครงสร้างทางภาษา รูปและเสียงพยัญชนะ สำเนียงการพูด การออกเสียงคำหรือประโยคการออกเสียงในการพูดภาษามลายูถิ่น แตกต่างกับเสียงในภาษาไทย ทำให้ออกเสียงไม่ชัดการพูดหรืออ่านออกเสียงไม่ชัด ส่งผลต่อการเขียนที่ถูกต้องด้วย เช่น คำว่า กิน นักเรียนจะออกเสียง กิง และเขียน กิง ด้วย
สถานการณ์
วัตถุประสงค์โครงการ
- เพื่ออบรมเทคนิคการสอบอ่านและเขียน
กิจกรรม/การดำเนินงาน
- กิจกรรมการอบรมเทคนิคการสอนอ่านและเขียนภาษาไทยแก่ผู้สอนภาษาไทยที่ไม่ตรงตามคุณวุฒิในจังหวัดนราธิวาส
- กิจกรรมการสอนการอ่านและเขียนภาษาไทยแก่นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษา (ช่วงชั้นที่ ๑ ป.๑-ป.๓)ในจังหวัดนราธิวาส
กลุ่มเป้าหมาย
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวนที่วางไว้ |
---|
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
1.นักเรียนกลุ่มโคกเคียน โรงเรียนไทยรัฐวิทยา 10 และโรงเรียนบ้านบาตาปาเซ มีความรู้ภาษาอังกฤษ
และภาษาไทยสูงขึ้นกว่าก่อนเรียนร้อยละ 20
2.นักเรียนกลุ่มโรงเรียนโคกเคียน โรงเรียนไทยรัฐวิทยา 10 และโรงเรียนบ้านบาตาปาเซ ตระหนักในความสำคัญของการมีคุณธรรมจริยธรรมและมีจริยธรรมที่ดีงามมากขึ้น
3.ครูผู้สอนภาษาไทยในจังหวัดนราธิวาสมีเทคนิคการเรียนการสอนภาษาไทยมากมากขึ้น
ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน
วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์** กิจกรรมของโครงการ | ผลผลิต* | |
---|---|---|
ผลผลิตที่ตั้งไว้ | ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง | |
1. กิจกรรมการอบรมเทคนิคการสอนอ่านและเขียนภาษาไทยแก่ผู้สอนภาษาไทยที่ไม่ตรงตามคุณวุฒิในจังหวัดนราธิวาส |
||
วันที่ 1 กรกฎาคม 2562กิจกรรมที่ทำ1.มีการประชุมเพื่อเตรียมความพร้อมในการดำเนินการในส่วนของกิจกรรมการอบรมเทคนิคการสอนอ่านและเขียนภาษาไทยแก่ผู้สอนภาษาไทยที่ไม่ตรงตามคุณวุฒิฯ
2.มีการจัดทำหนังสือในการเข้าร่วมอบรมกิจกรรมฯ ไปยังโรงเรียนต่าง ๆ ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นผลผลิต 1.ความรู้หลังเรียนของครูสูงกว่าก่อนเรียน ร้อยละ 20 ขึ้นไป 2.ความพึงพอใจของครูผู้เข้าร่วมอบรมคะแนน 3.51 ขึ้นไป ผลลัพธ์ 1.ครูมีเทคนิคและวิธีการสอนอ่านและเขียนภาษาไทยมากขึ้น
|
20 | 0 |
* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น
ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม
ผลการดำเนินโครงการ
สรุปผลการดำเนินโครงการ
ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
ผลผลิตโครงการ
วัตถุประสงค์ | สถานการณ์ | เป้าหมาย | ผลผลิต | อธิบาย | |
---|---|---|---|---|---|
1 | เพื่ออบรมเทคนิคการสอบอ่านและเขียน ตัวชี้วัด : ร้อยละของผู้อ่านออกเขียนได้ |
50.00 | 80.00 |
ผู้เข้าร่วมโครงการ
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวนที่วางไว้(คน) | จำนวนที่เข้าร่วม(คน) |
---|---|---|
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด | ||
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวนที่วางไว้(คน) | จำนวนที่เข้าร่วม(คน) |
บทคัดย่อ*
ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ
ปัญหาและอุปสรรค | สาเหตุ | ข้อเสนอแนะ |
---|---|---|
โครงการพัฒนาศักยภาพด้านภาษาและส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมแก่นักเรียน จังหวัด นราธิวาส
รหัสโครงการ
ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว
( นาย วันชัย แก้วหนูนวล )
ผู้รับผิดชอบโครงการ
......./............/.......