directions_run

โครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษาเพื่อพัฒนาท้องถิ่นโดยมีสถาบันอุดมศึกษา(มหาวิทยาลัยหาดใหญ่) เป็นพี่เลี้ยง

แบบการติดตามประเมินผลการดำเนินกิจกรรมของโครงการ (Process Evaluation)

กิจกรรมระยะเวลาเป้าหมาย/วิธีการผลการดำเนินงานปัญหา/อุปสรรค/แนวทางแก้ไข
ตามแผนปฏิบัติจริงตามแผนปฏิบัติจริงตามแผนปฏิบัติจริง
ประชุมเชิงปฏิบัติการ การใช้งานระบบสารสนเทศ ในการรายงานโครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษาและการพัฒนาท้องถิ่น โดยมีสถาบันอุดมศึกษาเป็นพี่เลี้ยง 1 ก.พ. 2562 1 ก.พ. 2562

 

ผู้ประสานงาน อ.พิชญา สุวรรณโน และตัวแทนผู้ดำเนินงานโครงการ อ.ภาชินี เต็มรัตน์ คณะศึกษาศาราสตร์และศิลปศาสตร์ มหาวทยาลัยหาดใหญ่ ได้เข้าร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการ อบรมการใช้งานระบบสารสนเทศ ในการรายงานโครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษาและการพัฒนาท้องถิ่น ณ  โดยมีสถาบันอุดมศึกษาเป็นพี่เลี้ยง ณ ห้องอบรมคอมพิวเตอร์ 107 ศูนย์คอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ โดยรับคำแนะนำการใช้ระบบและทดลองฝึกปฏิบัติการใช้งานระบบสารสนเทศเพื่อรายงานผลการดำเนินโครงการ ประจำปีงบประมาณ 2562

 

ได้รับคำแนะนำการใช้ระบบและทดลองฝึกปฏิบัติการใช้งานระบบสารสนเทศเพื่อรายงานผลการดำเนินโครงการ ประจำปีงบประมาณ 2562 จาทีมงานวิทยากรผู้เชี่ยวชาญด้านสารสนเทศจากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ โดยผู้เข้าอบรมได้ฝึกเข้าระบบการรายงานผลเบื้องต้น เพื่อนำไปสไปใช้ในการรายงานผลการดำเนินกิจกรรมครั้งต่อไป ซึ่งจะต้องเข้าไปรายงานผลในลิ้งค์  https://www.hednetwork.com/project/my/action/122/all

 

ประชุมความร่วมมือผู้บริหารโรงเรียน ศึกษานิเทศก์ สำนักงานเขตพื้นที่ คณาจารย์ และทีมงานดำเนินโครงการ 14 มี.ค. 2562 28 มี.ค. 2562

 

คณะศึกษาศาสตร์และศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ จัดประชุมคณะผู้บริหารโรงเรียน จำนวน 10 โรงเรียน ศึกษานิเทศก์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลาเขต 2 และสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา พัทลุง เขต 1 เพื่อหารือและวางแผนการทำงานร่วมกับคณาจารย์และทีมงานพี่เลี้ยง มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ เพื่อเตรียมดำเนินโครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษาเพื่อพัฒนาท้องถิ่นฯ ประจำปีงบประมาณ 2562 วันที่ 28 มีนาคม 2562 ณ ห้องประชุมสมุย อาคารสุราษฎร์ธานี มหาวิทยาลัยหาดใหญ่  ภายใต้ชื่อโครงการ "การพัฒนาคุณภาพการศึกษาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นโดยมีมหาวิทยาลัยหาดใหญ่เป็นพี่เลี้ยง:กิจกรรมบ้านนักอ่านลานเรื่องเล่า"  เพื่อส่งเสริมการอ่านแก่นักเรียนในโรงเรียนกลุ่มเป้าหมาย

 

โครงการ "การพัฒนาคุณภาพการศึกษาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นโดยมีมหาวิทยาลัยหาดใหญ่เป็นพี่เลี้ยง:กิจกรรมบ้านนักอ่านลานเรื่องเล่า"  ลักษณะกิจกรรมเป็นการจัดชั่วโมงกิจกรรมส่งเสริมการแก่นักเรียนโรงเรียนกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 10 โรงเรียน ประกอบด้วยโรงเรียน

 

บ้านนักอ่าน ลานเรื่องเล่า โรงเรียนบ้านฉลุง 1 พ.ค. 2562 14 มิ.ย. 2562

 

14 มิถุนายน 2562 ประชุมเพื่อวางแผนดำเนินงานร่วมกับครูและผู้บริหารโรงเรียนบ้านฉลุง 20 มิถุนายน 2562 ร่วมทำกิจกรรมกับคุณครูและนักเรียน โดยมมอบกล่อง “สะสมศัพท์ สะสมทรัพย์” สมุดบันทึกกิจกรรม และสื่อการสอนแก่ทางโงเรียน
22 กรกฎาคม 2562 ติดตามความก้าวหน้าการจัดทำโครงการ “บ้านนักอ่าน ลานเรื่องเล่า” ของคุณครูและนักเรียน 27 กรกฎาคม 2562 เปิดกล่อง “สะสมศัพท์ สะสมทรัพย์” และสรุปผลการ “สะสมศัพท์ สะสมทรัพย์” ของนักเรียน และมอบของรางวัลแก่นักเรียนที่มีการสะสมศัพท์สะสมทรัพย์ได้จำนวนมากตามลำดับ

 

ทางโรงเรียนมีความพึงพอใจในระดับดีมาก นักเรียนมีทักษะการอ่านและการเขียนที่ดีขึ้น  และใช้เวลาว่างให่เกิดประโยชน์โดยการอ่านหนังสือ นิทาน วรรณคดี ตลอดจนบทความที่ทางมหาวิทยาลัยได้นำไปให้  นอกจากนี้ได้มีการบูรณาการเข้ากับทักษะศิลปะคือการวาดภาพลงในสมุดกิจกรรมที่มหาวิทยาลัยให้ไว้เพื่อบันทึกคำศัพท์  ทางโรงเรียนมีความยินดีเป็นอย่างมากหากได้ร่วมกิจกรรมดังกล่าวอย่างต่อเนื่องและจะให้ความร่วมมือกับทางมหาวิทยาลัยเป็นอย่างดีตลอดไป

 

บ้านนักอ่าน ลานเรื่องเล่า โรงเรียนวัดท่านางหอม 1 พ.ค. 2562 16 พ.ค. 2562

 

ขึ้นที่ 1 การประชุมวางแผนออกแบบกิจกรรมพัฒนานักเรียน เพื่อใช้ใน
      ช่วงเวลาลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้ที่สอดคล้องกับบริบทสถานศึกษา 1.1 ประสานงานกับศึกษานิเทศก์สำนักงานเขตพื้นที่ 1.2 ประสานกับผู้บริหารสถานศึกษา 1.3 จัดประชุมเชิงปฏิบัติการจัดทำการออกแบบกิจกรรม 1.4 จัดนำเสนอแผนกิจกรรมของสถานศึกษา 1.5 วางแผนการนำไปใช้ในสถานศึกษา 1.6 มหาวิทยาลัยร่วมกับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา วางแผนเป็นโค้ชและเป็นพี่เลี้ยงในสถานศึกษา ขั้นที่ 2 การดำเนินกิจกรรมพัฒนานักเรียน เพื่อใช้ในช่วงเวลา ลดเวลาเรียน เพิ่ม                       เวลารู้ ที่สอดคล้องกับบริบทสถานศึกษา                       2.1 ผู้บริหารสถานศึกษาเตรียมครูในสถานศึกษา โดยมีโค้ชจากมหาวิทยาลัย                             และสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาดูแล 2.2 ครูนำกิจกรรมไปใช้ตามแผน ทุกสัปดาห์ 2.3 มหาวิทยาลัย ศึกษานิเทศก์ ผู้บริหารและโค้ชทำการนิเทศช่วยเหลือครูในการดำเนินกิจกรรมทุก 1-2 สัปดาห์ 2.4 สะท้อนผลการดำเนินกิจกรรมในรูปแบบ AAR ทุก 1-2 สัปดาห์ 2.5 การปรับปรุงผลการดำเนินงานให้มีประสิทธิภาพตลอดระยะเวลาดำเนินการซึ่งเป็นการนำผลจากการทำ AAR มาปรับให้ดีขึ้น      


  ขั้นที่ 3 การสะท้อนผลและการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ตามกิจกรรมที่ดำเนินการ
                      พัฒนา                     3.1  ร่วมกันพัฒนามุมนักอ่านโดยการจัดมุมอ่านหนังสือแบบไม่เป็นทางการ                     โดยให้นักเรียนกับทีมพี่เลี้ยงช่วยกันโดยกั้นมุมห้องเล็กๆ มีโต๊ะญี่ปุ่น  หมอน
                    รองนั่ง ติดรูปสาระความรู้  วอลเปเปอร์สวยสีสันสวยงาม ตกแต่งด้วยหน้าต่าง                     ด้วยผ้าม่านสีขาว และจัดหนังสืออ่านเล่น หนังสือกาตูนย์ที่เด็กๆ ชอบนำไป                     ไว้ในมุมนักอ่าน    และทำความสะอาดม้านั่งหินอ่อนสำหรับนั่งอ่านหนังสือ                     เล่นๆ  นักเรียนมีความพึงพอใจกับมุมอ่านหนังสือใหม่  และเข้าไปนั่งเล่น
                    นอนเล่นอ่านหนังสือ  และทำกิจกรรม  ในชั่วโมงลดเวลาเรียน     3.1 กิจกรรมสอนน้องฝึกอ่าน ฝึกเขียน ฝึกวาดภาพ โดยกิจกรรมดังกล่าวจะให้นักเรียนเลือกอ่านหนังสือที่นักเรียนชอบคนละกี่เล่มก็ได้    และจะแบ่งนักเรียนออกเป็นกลุ่ม  แต่ละกลุ่มจะมีพี่เลี้ยงคอยสอนอย่างใกล้ชิดโดยจะไม่เน้นสอนในห้องเรียนเนื่องจากนักเรียนจะรู้สึกเหนื่อยล้ากับการเรียนในห้องเรียนมาทั้งวันแล้ว  กิจกรรมนี้จะนำนักเรียน แต่ละกลุ่มพี่เลี้ยงจะนำน้องไปใต้ต้นไม้บาง  ม้าหินอ่อนบ้าง ก่อนเข้าสู่บทเรียนก็จะให้นักเรียนททำความรู้จักและคุ้นเคยกับพี่เลี้ยงประจำกลุ่มเพื่อลดความเกร็งและความเครียด จะเน้นบรรยากาศที่สบายๆ ไม่เป็นทางการ  จากการแบ่งน้องนักเรียนเป็นกลุ่มย่อย จะทำให้สอนได้เป็นรายบุคคลน้องนักเรียนคนไหนอ่านไม่ออกภายในกลุ่มก็จะต้องช่วนกันฝึกฝนจนอ่านคล่องขึ้น  โดยในแต่ละสัปดาห์อ่านแล้วก็จะให้เขียนคำศัพท์ลงในบัตรคำ และในสมุดบันทึกเขียนความหมายของคำศัพท์พร้อมวาดรูปประกอบระบายสีให้สวยงามทุกครั้ง  และจะมีการแข่งขันกันระหว่างกลุ่มว่ากลุ่มพี่เลี้ยงของคนไหนที่ช่วยกันแล้วน้องอ่านเก่ง เขียนเก่ง เขียนสวย ที่สุดด้วยก็จะทำให้น้องๆ กระตือรือร้นที่จะช่วยกันภายในกลุ่มอีกด้วย
3.2 กิจกรรมฝึกอ่านฝึกเล่า  โดยให้นักเรียนไปอ่านหนังสือแล้วออกมาเล่าเรื่องให้เพื่อนๆ ฟัง
3.3 กิจกรรมเขียนคำศัพท์ในบัตรคำ โดยทีมพี่เลี้ยงจัดทำกล่องคำศัพท์ให้กับนักเรียน และให้นักเรียนไปฝึกอ่านและเขียนคำศัพท์ลงในกล่องโดยใครได้คำศัพท์เยอะที่สุดจะมาเปิดในวันปิดโครงการและจะมีรางวัลให้ กิจกรรมนี้ทำให้นักเรียนสนุกกระตือรือร้นที่จะอ่านและฝึกหาคำศัพท์เพื่อหย่อนลงในกล่อง ผลคือทำให้นักเรียนอ่านหนังสือเพิ่มขึ้นสนุกกับการอ่านมากขึ้น 3.4 กิจกรรมเล่าเรื่องโชว์ปิดโครงการ

 

การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับครู คือ ครูในโรงเรียนจะให้ความร่วมมือในการสังเกตุพฤติกรรมของนักเรียนและทราบปัญหาของนักเรียนแต่ละคนอย่างละเอียดมากขึ้นว่าเด็กคนนี้ควรพัฒนาอย่างไร ได้เรียนรู้ที่จะนำกิจกรรมเพื่อนช่วยเพื่อนไปใช้ในชั้นเรียนมากขึ้น
การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับนักเรียน  คือ นักเรียนมีความกระตือรือร้นที่จะฝึกในเรื่องของการอ่าน การเขียน เนื่องจากชอบที่ได้เปลี่ยนบรรยากาศรูปแบบการเรียนรู้จากในห้องเรียน เป็นใต้ต้นไม้  ม้าหินอ่อน ทำให้บรรยาศน่าเรียนรู้ ผนวกกับตื่นตาตื่นใจที่ได้เจอกับคุณครูพีเลี้ยงจากมหาวิทยาลัยหาดใหญ่ที่ให้ทั้งความรู้และความบันเทิง จึงกระตุ้นให้ผู้เรียนตั้งใจฝึกเขียน ฝึกอ่านมากขึ้น  จึงทำให้เกิดความสัมพันธ์อันดีระหว่างโรงเรียนกับมหาวิทยาลัย ผลจากการให้อ่านหนังสือตามที่นักเรียนชอบ จะกระตุ้นให้นักเรียนรักการอ่านอย่างอิสระ ได้อ่านหนังสือที่ตัวเองชอบ นักเรียนทุกคนอ่านหนังสือเพิ่มขึ้นจากเดิมเฉลี่ยนคนละ 5 เล่ม
ปัญหาและข้อเสนอแนะ  มีข้อจำกัดของเวลา  ซึ่งบางครั้งการทำงานไม่ต่อเนื่อง

 

บ้านนักอ่าน ลานเรื่องเล่า โรงเรียนบ้านหาร 1 พ.ค. 2562 25 มิ.ย. 2562

 

  1. ลงพื้นที่ประชุมร่วมกันระหว่างผู้บริหาร ครู โรงเรียนบ้านหาร กับคณาจารย์ และนักศึกษา มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ วันที่ 18 มิถุนายน 2562   2. ลงพื้นที่จัดกิจกรรม“บ้านนักอ่าน...ลานเรื่องเล่า เรียนรู้ศัพท์ภาษาไทยผ่านบทเพลง” โดยลงพื้นที่จำนวน 4 ครั้ง ครั้งละ 4 ชั่วโมง ดังนี้   - ครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 25 มิถุนายน 2562 จัดกิจกรรมเรียนรู้ศัพท์ภาษาไทยผ่านบทเพลง ตอน คำภาษาถิ่น
      - ครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2562 จัดกิจกรรมเรียนรู้ศัพท์ภาษาไทยผ่านบทเพลง ตอน คำไวพจน์   - ครั้งที่ 3 เมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม 2562 จัดกิจกรรมเรียนรู้ศัพท์ภาษาไทยผ่านบทเพลง ตอน คำราชาศัพท์   - ครั้งที่ 4 เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2562  จัดกิจกรรมเรียนรู้ศัพท์ภาษาไทยผ่านบทเพลง ตอน ประมวลความรู้สู่การปฏิบัติจริง   3. สรุปโครงการ “บ้านนักอ่าน...ลานเรื่องเล่า เรียนรู้ศัพท์ภาษาไทยผ่านบทเพลง”
    1. จัดนิทรรศการ

 

  1. เกิดความร่วมมือในการทำกิจกรรมด้านวิชาการร่วมกันระหว่างโรงเรียนบ้านหารกับมหาวิทยาลัยหาดใหญ่   2. นักเรียนโรงเรียนบ้านหารที่เข้าร่วมโครงการได้ฝึกและทบทวนทักษะการอ่านและการเขียนในสาระการเรียนรู้วิชาภาษาไทย   3. นักเรียนโรงเรียนบ้านหารได้เรียนรู้การฝึกหัดร้องเพลงเบื้องต้นที่ถูกต้อง และสามารถร่วมร้องเพลงหมู่ได้   4. นักศึกษามหาวิทยาลัยหาดใหญ่ได้ฝึกปฏิบัติการทำงานจริง กล่าวคือ นักศึกษาสาขาวิชาภาษาไทยได้ฝึกปฏิบัติการสอนในรายวิชาภาษาไทย และนักศึกษาสาขาวิชาดนตรีสมัยนิยม ได้จัดกิจกรรมเล่นดนตรีเพื่อสันทนาการ และสอนนักเรียนร้องเพลงในสถานการณ์จริง   5. โรงเรียนได้รับไฟล์มิวสิกวิดีโอเพลงสดุดีจอมราชา โดยมีนักเรียนที่เข้าร่วมโครงการร่วมกันร้องเพลงหมู่ ซึ่งโรงเรียนสามารถนำไฟล์วิดีโอดังกล่าวไปใช้ประโยชน์ในกิจกรรมต่าง ๆ ของโรงเรียนได้
  2. การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับ   ครู
    ครูสามารถใช้หนังสือนิทานฯ สำหรับประกอบการเรียนการสอนหรือให้ผู้เรียนอ่านเพื่อศึกษาหาความรู้ เพิ่มเติมนอกเหนือจากหนังสือแบบเรียนตามความสามารถในการอ่านของนักเรียนแต่ละคน
    นักเรียน นักเรียนสามารถอ่านหนังสือนิทานฯ เพื่อศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมด้วยตนเองทั้งในเวลาเรียนและนอกเวลาเรียนเนื่องจากเด็กที่ศึกษาอยู่ในระดับชั้นประถมศึกษาเป็นวัยที่สนใจเกี่ยวกับชีวิตจริงมากขึ้น ชอบฟังเรื่องราวต่างๆ สามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเองมากขึ้นจากการอ่านหนังสือ โดยเฉพาะหนังสืออ่านเพิ่มเติมในรูปแบบหนังสือนิทาน เช่น นิทานพื้นบ้าน (Folk Tales) นิทานสอนคติธรรม (Fables) เนื่องจากมีความสนุกสนานเพลิดเพลิน ให้ความรู้ สอดแทรกคติและคุณธรรมเพื่อสอนใจ มีลักษณะเป็นเรื่องราวเชื่อมโยงและมีภาพประกอบ ช่วยทำให้เด็กเกิดความสนุกสนาน ตอบสนองความต้องการ ความอยากรู้อยากเห็น และช่วยกระตุ้นความสนใจใฝ่รู้ในการอ่านของเด็ก   โรงเรียน
    โรงเรียนนำไฟล์มิวสิกวิดีโอเพลงสดุดีจอมราชา ที่มีนักเรียนโรงเรียนบ้านหารร่วมร้องเพลงหมู่ ไปใช้ประโยชน์ในกิจกรรมต่าง ๆ ของโรงเรียน

 

บ้านนักอ่าน ลานเรื่องเล่า โรงเรียนวัดเขากลอย 1 พ.ค. 2562 6 มิ.ย. 2562

 

ขั้นตอนวิธีดำเนินการ แนวทาง/วิธีการดำเนินโครงการ โรงเรียน/กลุ่มเป้าหมาย ผู้เข้าร่วม         ครู นักเรียน 1.ศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับศิลปะสร้างสรรค์ในโรงเรียนบูรณาการบ้านนักอ่าน ลานเรื่องเล่า คณะทำงาน
2. ดำเนินการคัดเลือกกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ในโรงเรียนบูรณาการการบ้านนักอ่าน ลานเรื่องเล่า คณะทำงาน
3. จัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ในโรงเรียนบูรณาการการบ้านนักอ่าน ลานเรื่องเล่า บันทึกประสบการณ์ และกิจกรรมการวาดภาพประกอบพืชในท้องถิ่น โรงเรียนวัดเขากลอย 5 90 4. การติดตามผล โดยการกำหนดให้เด็กประเมินตนเองในแต่ละสัปดาห์โดยครูอธิบายให้เด็กรู้จักใช้แบบบันทึกการปฏิบัติงาน พร้อมทั้งให้สติ้กเกอร์ เมื่อเด็กปฏิบัติงานศิลปะสำเร็จและเพิ่มสติ้กเกอร์ให้ผลงานที่โดดเด่นในแบบบันทึกการปฏิบัติรายบุคคล โรงเรียนวัดเขากลอย 5 90 .   กิจกรรมที่ดำเนินการพัฒนา กิจกรรมที่ 1 การออกแบบภาพประกอบพืชในท้องถิ่นของโรงเรียนวัดเขากลอย กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมบ้านนักอ่าน ลานเรื่องเล่า “นิทานอาชีพในฝันด้วยภาษาอังกฤษ ”ระดับประถมศึกษาที่1-6 กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมบ้านนักอ่าน ลานเรื่องเล่า “สงขลาน่าอยู่” ระดับประถมศึกษาที่ 1-3 กิจกรรมที่ 4 กิจกรรมบ้านนักอ่าน ลานเรื่องเล่า “เทคนิคการระบายสีน้ำ”ระดับประถมศึกษาที่ 3-6

 

ผลผลิตโครงการฯ จากการจัดกิจกรรม  ได้แก่ ผลงานภาพภาพประกอบพืชในท้องถิ่นของโรงเรียนวัดเขากลอย ผลงานศิลปะของนักเรียน  คู่มือสื่อเอกสารการเรียนการสอน สมุดบันทึกคำศัพท์ การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับ   ครู ได้รับความรู้เทคนิคการระบายสีน้ำ การการวาดภาพประกอบ สามารถนำความรู้ไปสอนนักเรียนได้ นักเรียน ได้รับความรู้เทคนิคการระบายสีน้ำ  การการวาดภาพประกอบ  ฝึกสมาธิ เสริมสร้างจินตนาการ สามารถทำเป็นอาชีพเสริมได้ และพัฒนาทักษะการอ่าน การเขียน   โรงเรียน มีความสวยงามน่าอยู่มากขึ้นเป็นแหล่งเรียนรู้ทางวิชาการของคนในท้องถิ่น

 

บ้านนักอ่าน ลานเรื่องเล่า โรงเรียนวัดควนเนียง 1 พ.ค. 2562 14 มิ.ย. 2562

 

ลงพื้นที่ทำกิจกรรมครั้งที่ 1 วันที่ 14 มิถุนายน 2562
ประชุมเพื่อวางแผนดำเนินงานร่วมกับครูและผู้บริหารโรงเรียนวัดควนเนียง อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา

ลงพื้นที่ทำกิจกรรมครั้งที่ 2 วันที่ 24 มิถุนายน 2562
1. มอบกล่องคำศัพท์และสมุดบันทึกกิจกรรม “สะสมศัพท์สะสมทรัพย์”
2. มอบหนังสือประเภทต่าง ๆ  ทั้งเรื่องสั้น สารคดี วรรณคดีวรรณกรรม นิทาน นิยาย และอื่น ๆ
3. มอบสมุดฉีกเพื่อให้นักเรียนใช้เขียนคำศัพท์หยอดลงกล่องแก่ทางโรงเรียน

ติดตามความก้าวหน้าโครงการ ครั้งที่ 3 วันที่ 15 กรกฎาคม 2562
ตรวจสอบการทำกิจกรรม “บ้านนักอ่านลานเรื่องเล่า” ของนักเรียน ติดตามการให้ความสนใจของนักเรียนและการสะสมศัพท์อย่างต่อเนื่องของนักเรียน

ดำเนินการติดตามผลการสะสมศัพท์ของนักเรียนเพื่อมอบของรางวัล ครั้งที่ 4 ในวันที่ 30 กรกฎาคม 2562 ตรวจสอบคำศัพท์พร้อมความหมายที่เขียนแล้วนำมาบรรจุกล่อง ตรวจผลการสะสมศัพท์ของนักเรียนและมอบของรางวัลตามลำดับจำนวนการสะสมศัพท์ เพื่อเป็นขวัญและกำลังใจแก่คนที่อ่านมาก สะสมได้มาก และเพื่อให้นักเรียนสนใจอ่านมากขึ้น และตรวจสอบสมุดบันทึกกิจกรรมของนักเรียน ที่มีการบันทึกคำศัพท์ และวาดภาพประกอบเพื่อพัฒนาทักษะความคิดสร้างสรรค์แก่เยาวชน

 

ผลที่เกิดขึ้น ครั้งที่ 1 และ ครั้งที่ 2 เพื่อชี้แจงข้อตกลง ประชุมวางแผนปการดำเนินงานโครงการ การให้นักเรียนร่วมกิจกรรมโดยเขียนคำศัพท์หยอดลงกล่องแก่ทางโรงเรียน เพื่อฝึกให้นักเรียนอ่านหนังสือที่สนใจ และเขียนคำศัพท์ที่สนใจพร้อมอธิบายความหมาย เพื่อให้เกิดทักษะการรับรู้ความหมายและมีคลังคำศัพท์เพิ่มมากขึ้นตามโครงการ “บ้านนักอ่านลานเรื่องเล่า”

ครั้งที่ 3 ได้ตรวจสอบและติดตามการอ่านหนังสือและการเขียนคำศัพท์ของนักเรียน การสะกดคำ การบันทึกคำศัพท์ โดยได้ติดตามการอ่านของนักเรียนทุกระดับชั้น ตั้งแต่ ระดับชั้น ป.1-ป.6 ติดตามสภาพปัญหาการอ่าน การเขียนสะสมคำศัพท์จากคุณครูประจำชั้น คุณครูฝ่ายวิชาการ

ครั้งที่ 4 นักเรียนสามารถเขียนคำศัพท์ได้และปลูกฝังนิสัยรักการอ่าน การมีความกล้าแสดงออก ความรับผิดชอบ จากการทำกิจกรรมทำให้นักเรียนได้อ่านหนังสือหลากหลายมากขึ้น อาทิ สมุดภาพ นิทาน เรื่องสั้น ความรู้รอบตัว เรื่องราวในบทความต่าง ๆ ทำให้นักเรียนสามารถแลกเปลี่ยนความรู้ในแต่ละระดับชั้นได้ เกิดการสอนคำศัพท์จากการอ่าน จากการถามครู ถามเพื่อน ถามรุ่นพี่ คุณครูแจ้งว่า ผลการเรียนวิชาอื่น ๆ เมื่อนักเรียนรักการอ่าน การเรียนมีประสิทธิภาพมากขึ้นด้วย

โดยนวัตกรรมที่ใช้ในการยกระดับคุณภาพมาตรฐานการศึกษาสำหรับครูและนักเรียนของสถานศึกษา ได้แก่ สมุดบันทึกกิจกรรม “บ้านนักอ่าน ลานเรื่องเล่า” เป็นสมุด “สะสมศัพท์สะสมทรัพย์” ซึ่งนักเรียนเขียนคำศัพท์พร้อมความหมายที่ได้จากการอ่าน และวาดภาพประกอบการอธิบายความ

ผลลัพท์ในภาพรวมที่เกิดขึ้นกับนักเรียนโรงเรียนวัดควนเนียง อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา         - เกิดการพัฒนาทักษะการอ่าน การเขียน และการส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ จากกิจกรรมการอ่านหนังสือ การเขียนคำศัพท์พร้อมอธิบายความหมายของคำ และวาดภาพสร้างสรรค์เพื่อสื่อความหมายคำศัพท์ที่ได้จากการอ่าน
- สนับสนุนให้นักเรียนรักการอ่าน สนใจอ่านหนังสือมากขึ้นจากหนังสือหลากหลายประเภท และได้รับความรู้จากการอ่านอันเป็นประโยชน์ต่อการนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้ - พัฒนาทักษะการคิดเพื่อการสื่อความ เพื่อร้อยเรียงความคิดกับการเขียนสื่อความให้ผู้รับสาร (ผู้อ่าน) สามารถเข้าใจความหมายของคำศัพท์ที่เขียนอธิบายในสมุดบันทึกกิจกรรม (คุณครูตรวจสอบการเขียนอธิบายความหมายของคำที่นักเรียนเขียน ว่าถูกต้องหรือสอดคล้องตามความที่แท้จริงหรือไม่)
- ฝึกความคิดด้านการสื่อภาพตามจินตนาการ อันเป็นการส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ และพัฒนาทักษะการคิดสื่อความหมายถึงความสัมพันธ์ของคำกับภาพวาด และการตกแต่งภาพที่สวยงาม เป็นการสนับสนุนสมาธิให้แก่นักเรียนมากขึ้น

ผลผลิตที่ได้ ได้แก่ สมุดบันทึกกิจกรรม “สะสมศัพท์สะสมทรัพย์” ภายในสมุดมีการเขียนคำศัพท์พร้อมอธิบายความหมาย และวาดภาพสวยงามประกอบการอธิบายความหมาย (โปรดแนบผลผลิตโครงการฯ ในภาคผนวก)

การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับ   ครู ครูเห็นพัฒนาการที่เกิดขึ้นกับนักเรียน ในด้านทักษะการอ่าน และทักษะการเขียน  นักเรียนมีความสนใจในการอ่าน รักการอ่านมากขึ้น และกล้าแสดงออกทางความคิดมากขึ้น ครูสามารถนำรูปแบบกิจกรรมไปต่อยอดในการส่งเสริมการอ่านแก่นักเรียน และบูรณาการกับการสอนรายวิชาอื่น ๆ ได้ นักเรียน นักเรียนมีพัฒนาการด้านทักษะการอ่าน และทักษะการเขียนเพิ่มมากขึ้น กิจกรรม “สะสมศัพท์สะสมทรัพย์” พัฒนาทักษะการคิดเพื่อการสื่อความ เพื่อร้อยเรียงความคิดกับการเขียนสื่อความให้ผู้รับสาร (ผู้อ่าน) สามารถเข้าใจความหมายของคำศัพท์ที่เขียนอธิบายในสมุดบันทึกกิจกรรม อีกทั้งนักเรียนได้พัฒนาความคิดสร้างสรรค์ตามจินตนาการจากการวาดภาพประกอบความหมายของคำ โรงเรียน โรงเรียนได้เห็นศักยภาพของนักเรียนมากขึ้น สามารถนำสื่อการเรียนรู้ของนักเรียนไปจัดแสดงทางวิชาการ เพื่อส่งเสริม สนับสนุนการเรียนรู้ของนักเรียนให้โรงเรียนอื่น ๆ หรือผู้ปกครองได้เห็นพัฒนาการทางการเรียนรู้และความคิดที่นักเรียนได้รับจากการอ่าน พร้อมความคิดในการเขียนสื่อความหมายและความคิดจากจินตนาการผ่านภาพวาดอันสวยงาม

ทั้งนี้ ประโยชน์ที่โรงเรียนและชุมชนได้รับจากการดำเนินโครงการฯ ประโยชน์สำหรับโรงเรียน : โรงเรียนได้เห็นศักยภาพของนักเรียนมากขึ้น สามารถนำสื่อการเรียนรู้ของนักเรียนไปจัดแสดงทางวิชาการ เพื่อส่งเสริม สนับสนุนการเรียนรู้ของนักเรียนให้โรงเรียนอื่น ๆ หรือผู้ปกครองได้เห็นพัฒนาการทางการเรียนรู้และความคิดจากจินตนาการที่นักเรียนได้รับจากการอ่าน พร้อมความคิดในการเขียนสื่อความหมายและความคิดจากจินตนาการผ่านภาพวาดอันสวยงาม อีกทั้งนักเรียนมีพัฒนาการด้านการรับสารที่ดีขึ้น เพราะอ่านหนังสือมากขึ้น ประโยชน์สำหรับชุมชน : นักเรียนมีความรู้เพิ่มขึ้นจากการอ่าน สามารถนำความรู้ของตนเองไปเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างประโยชน์แก่ชุมชน เช่น การบอกกล่าวให้คนในชุมชนดูแลสุขภาพ การป้องกันโรค การบริโภคที่ถูกต้อง เป็นต้น ผู้ปกครองหรือผู้คนในชุมชนก็จะได้รับประโยชน์จากนักเรียน อีกทั้งได้เห็นลูกหลานที่เป็นนักเรียนมีนิสัยรักการอ่านมากขึ้น และมีพัฒนาการการเรียนรู้ที่ดีขึ้นก็ย่อมสร้างความสุขแก่ผู้ปกครองซึ่งเป็นผู้อาศัยในชุมชน         ประโยชน์ที่สถาบันอุดมศึกษาได้รับจากการดำเนินโครงการฯ มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ได้บริการวิชาการในฐานะมหาวิทยาลัยพี่เลี้ยง ได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิด ประสบการณ์ การสอนและการเรียนรู้ร่วมกับกับทุกฝ่าย ทั้งทางโรงเรียน ผู้อำนวยการโรงเรียน ครูผู้สอน รวมถึงนักเรียน ได้สร้างกิจกรรมเพื่อพัฒนาทักษะการเรียนรู้ ทั้งทักษะการฟัง ทักษะการพูด ทักษะการอ่าน และทักษะการเขียน ให้นักเรียนมีโอกาสแสดงความคิด ความรู้ จินตนาการ และความสามารถเต็มที่ตามศักยภาพ ของตน อีกทั้งมหาวิทยาลัยได้พัฒนานักศึกษาที่มีจิตอาสาในการบริการวิชาการ ร่วมทำกิจกรรมกับทางโรงเรียน อันเป็นการพัฒนาคุณภาพนักศึกษาได้อีกทางหนึ่งด้วย

 

บ้านนักอ่าน ลานเรื่องเล่า โรงเรียนบ้านหน้าควนลัง(ราษฎร์สามัคคี) 1 พ.ค. 2562

 

 

 

 

 

บ้านนักอ่าน ลานเรื่องเล่า โรงเรียนบ้านนาแสน 1 พ.ค. 2562 18 มิ.ย. 2562

 

1 ได้มีการประชุมกับครูใหญ่และครูในโรงเรียน เพื่อรับทราบวัตถุประสงค์ในการจัดโครงการในภาพรวม 2 มีการประชุมทีมงาน เพื่อวางแผนการดำเนินโครงการ และกิจกรรมที่สามารถสอดคล้องกับโครงการ 3 ลงพื้นที่ที่ได้รับมอบหมาย มีการประชุมกับครูและหัวหน้าวิชาการที่ดูแลโครงการ เพื่อรับทราบวัตุประสงค์ และ ข้อมูลเพื่อเติมที่ทางโรงเรียนต้องการในการพัฒนานักเรียน โดยเฉพาะเรื่อง วันและเวลาที่เหมาะสม จำนวนนักเรียนที่เข้าร่วมโครงการ ซึ่งโรงเรียนต้องการพัฒนาให้นักเรียนระดับชั้นอนุบาล และ ประถมศึกษา 1 – 6 จำนวน 55 คน ให้มีความสนใจ และรักการเรียนภาษาอังกฤษ พร้อมทั้งต้องการให้นักเรียนสามารถอ่านออกเสียงภาษาอังกฤษที่เป็นคำศัพท์ ประโยคอย่างง่าย และ นิทานอย่างง่ายได้ นอกจากนี้ต้องการพัฒนานักเรียนในเรื่องทักษะการฟังและความคิดสร้างสรรค์ เพื่อนำไปสู่การต่อยอดในเรื่องทักษะการอ่านเชิงวิเคราะห์
4 มีการจัดประชุมกับกับทีมงานและนักศึกษาที่ต้องลงไปจัดกิจกรรมให้กับนักเรียนในโรงเรียน 5 มีทีมงานลงไปจัดกิจกรรมให้กับนักเรียนโดยแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มใหญ่ ได้แก่ กลุ่มนักเรียนอนุบาล 1 -3กลุ่มนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษา 1 – 3 และ กลุ่มระดับชั้นประถมศึกษา 4 – 6
กิจกรรมที่ดำเนินการพัฒนา   ช่วงชั้นอนุบาล
จัดกิจกรรมผ่านการร้องเพลง A-Z และ Old McDonald has a farm และการเรียนรู้การอ่านออกเสียงคำศัพท์ เรื่อง Animals ได้แก่ Fish, Cow, Cat, Goat, Sheep เป็นต้น โดยผ่านกิจกรรมเกมส์และชิ้นงาน   ช่วงชั้นที่ 1     จัดกิจกรรมการเรียนรู้ของ Theme: Occupations and Workplace โดยให้นักเรียนได้เรียนรู้คำศัพท์อาชีพผ่านเพลง Occupations ฝึกการอ่านออกเสียงที่เป็นคำและประโยคอย่างง่าย พร้อมทั้งผ่านกิจกรรมเกมส์ โดยนักเรียนได้เรียนจากคำศัพท์ ไปสู่รูประโยคอย่างง่าย และเชื่อมโยงไปถึงสถานที่ทำงาน ได้แก่ Teacher – I am a teacher. A teacher works in a school.
    ช่วงชั้นที่ 2 จัดกิจกรรมการเรียนรู้ของ Theme: A hero in my dream โดยให้นักเรียนเรียนรู้ผ่านคำศัพท์ในหมวดหมู่ ได้แก่ Animals, Environment, and Sports ซึ่งนักเรียนเรียนรู้การสะกดคำ การอ่านออกเสียงผ่านเกมส์ รวมไปถึงการอ่านนิทานที่เชื่อมโยงเกี่ยวกับคำศัพท์ที่เรียนรู้ และให้นักเรียนได้มีการฝึกสร้างรูปประโยคอย่างง่ายเป็นตัวละคร จนนำไปสู่การสร้างนิทานเกี่ยวกับ My hero

 

ผลผลิตโครงการฯ (เช่น คู่มือ สื่อนวัตกรรมเพื่อการเรียนการสอน เป็นต้น) จากการจัดกิจกรรม
    ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้เชิงบูรณาการ 2. สื่อการเรียนการสอน ได้แก่ Flash cards, เกมส์ และ เพลง 3. ชิ้นงานเชิงบูรณาการ (โปรดแนบผลผลิตโครงการฯ ในภาคผนวก) การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับ   ครู : ได้เทคนิคการสอนภาษาอังกฤษใหม่ๆ โดยผ่านการทำกิจกรรมเกมส์
นักเรียน : ได้พัฒนาทักษะการอ่าน และความคิดเชิงสร้างสรรค์ผ่านการฝึกแต่งประโยคอย่างง่าย   โรงเรียน: ได้สร้างเครือข่ายในการพัฒนาครูและนักเรียนในโรงเรียน ตัวชี้วัดการเปลี่ยนแปลง เช่น ผลการประเมินโดยเปรียบเทียบระหว่าง Pre-test /Post-test/ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน       นักเรียนสามารถสะกดคำศัพท์ อ่านออกเสียง หรือเล่าเรื่องราว โดยใช้ภาษาอังกฤษอย่างง่าย ประโยชน์ที่โรงเรียนและชุมชนได้รับจากการดำเนินโครงการฯ       1 ครูได้เห็นเทคนิคการสอนภาษาอังกฤษใหม่ๆ เพื่อใช้พัฒนานักเรียนในโรงเรียน       2 นักเรียนในโรงเรียนได้เพิ่มพูนเกี่ยวกับคำศัพท์ภาษาอังกฤษในรูปแบบ Theme มีการพัฒนาการอ่านออกเสียงในรูปแบบคำศัพท์ และประโยคอย่างง่ายได้ถูกต้อง
ประโยชน์ที่สถาบันอุดมศึกษาได้รับจากการดำเนินโครงการฯ       1 นักศึกษาครูวิชาภาษาอังกฤษ ได้มีการพัฒนากระบวนการสอน การวางแผน การผลิตสื่อ และ การทำงานเป็นทีม       2 นักศึกษาครูวิชาภาษาอังกฤษ ได้มีการฝึกสอนในสถานศึกษาจริง ได้รู้จักการแก้ไขปัญหาในสภาพจริง       3 สาขาและมหาวิทยาลัยได้มีการสร้างเครือข่าย และความสัมพันธ์กับชุมชน

 

บ้านนักอ่าน ลานเรื่องเล่า โรงเรียนบ้านท่าเนียน 1 พ.ค. 2562 27 ก.ย. 2562

 

ขั้นตอนวิธีดำเนินการ   7    กรกฎาคม 2562 ประชุมเพื่อวางแผนดำเนินงานร่วมกับครูและผู้บริหารโรงเรียนบ้านท่าเนียน   12  กรกฎาคม 2562      ประชุมวางแผนการจัดโครงการร่วมกับนักศึกษาวิทยากรที่จะเป็นผู้สอนการอ่านร่วมกับ   27-28  กรกฏาคม 2562  จัดกิจกรรม “อ่านวรรณคดีไทย  การเล่าเรื่อง  และการเขียนภาษาไทย จากสื่อวรรณคดีมรดก”  ให้แก่นักเรียน                 19  สิงหาคม 2562          ติดตามประเมินโครงการ  และให้ข้อเสนอแนะแก่ครูและผู้บริหารโรงเรียนท่าเนียนในการต่อยอดทักษะการอ่านภาษาไทยของนักเรียน

กิจกรรมที่ดำเนินการพัฒนา - พัฒนาทักษะการอ่านและการเขียนภาษาไทยแก่นักเรียน - สอนเสริมการวาดภาพประกอบเรื่อง  คำศัพท์  และวรรณคดีมรดกเรื่องอิเหนา  สังข์ทอง  และเงาะป่า - ฝึกปฏิบัติการเล่าเรื่องจากเรื่องที่อ่าน - ฝึกการทำงานเป็นทีม

 

ผลผลิตโครงการฯ
                              1. ผลงานสมุดเล่มเล็กจากการสรุปเรื่อง  การวาดภาพ  และการเขียนคำศัพท์ของนักเรียน                                 2.  หนังสือเรื่องประกอบภาพวรรณกรรมมรดกของไทย 3 เรื่องคือ  เงาะป่า  อิเหนา  และสงข์ทอง

การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับ
1.นักเรียนมีพัฒนาการด้านในด้านทักษะการฟัง  การอ่าน การเล่าเรื่อง และการทำงานเป็นทีมเพิ่มขึ้น
              2. นักเรียนมีทัศนคติทางบวกต่อวรรณคดีมรดกของไทย  มีความรักการอ่าน  การเล่าเรื่อง  และการค้นคว้าความหมายคำศัพท์   โรงเรียน     1.ผลการเรียนภาษาไทยของนักเรียนดีขึ้น                   2. ครูมีทักษะการสอนที่เกิดจากการสังเกตการณ์การสอนของวิทยากรและวิทยากรผู้ช่วย                   3.โรงเรียนมีหนังสือวรรณคดีมรดก ไว้เป็นสื่อการสอนภาษาไทยประจำห้องสมุดโรงเรียน  และให้นักเรียนได้ค้นคว้าเพื่อการเรียนรู้ตามอัธยาศัย 10. ตัวชี้วัดการเปลี่ยนแปลง เช่น ผลการประเมินโดยเปรียบเทียบระหว่าง Pre-test /Post-test/ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน นักเรียนมีความรู้และทักษะการอ่าน  การเล่าเรื่อง  การเขียนภาษาไทยเพิ่มขึ้น
11. ประโยชน์ที่โรงเรียนและชุมชนได้รับจากการดำเนินโครงการฯ ประโยชน์สำหรับโรงเรียน
1. โรงเรียนได้เห็นศักยภาพด้านการอ่าน  การเล่าเรื่อง  การเขียน ภาษาไทยของ 2. โรงเรียนมีสื่อการสอนวรรณคดีมรดกเพิ่มขึ้น

 

บ้านนักอ่าน ลานเรื่องเล่า โรงเรียนนิคมสร้างตนเองรัตภูมิ 1 พ.ค. 2562 17 พ.ค. 2562

 

  1. ประชุมวางแผนการดำเนินงานร่วมกับโรงเรียน
  2. อบรมเชิงปฏิบัติการสร้างหนังสือนิทาน
  3. ดำเนินกิจกรรม “เปิดบ้านนักอ่าน ลานเรื่องเล่า”
    -คณะทำงานจากมหาวิทยาลัยร่วมกับคณะครูชี้แจงลักษณะกิจกรรม -ทีมพี่เลี้ยงมอบสื่อส่งเสริมการอ่าน ได้แก่หนังสือนิทานส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมให้นักเรียนเพื่อไปจัดเก็บในมุม “บ้านนักอ่าน ลานเล่าเรื่อง” ของของโรงเรียน -ทีมพี่เลี้ยงเล่านิทาน (จริยธรรมด้านการพูด)และ(จริยธรรมด้านการกระทำ)ให้กับนักเรียนฟังและให้นักเรียนบันทึกคำศัพท์ยากหรือคำศัพท์ใหม่ลงในสมุดบันทึกพร้อมทั้งเขียนคำศัพท์ลงในบัตรคำเพื่อนำไปหย่อนกล่องสะสมคำศัพท์จากนั้นให้นักเรียนทุกคนอ่านหนังสือนิทานด้วยตนเองโดยในแต่ละครั้งที่อ่านให้นักเรียนเขียนคำศัพท์ยากหรือคำศัพท์ใหม่ที่อ่านเจอลงในสมุดบันทึกและเขียนใส่บัตรคำหย่อนลงในกล่องสะสมคำศัพท์
  4. การติดตามผล โดยการกำหนดให้เด็กประเมินตนเองว่าอ่านอะไรไปบ้างในแต่ละวันด้วยการบันทึกสิ่งที่อ่านลงในสมุดบันทึกทำมือของตนเอง และมีการประกวดสมุดบันทึกรายบุคคล โดยที่คณะทำงานจะดำเนินการติดตามผล 3 ครั้ง
    1. กิจกรรม “เปิดบ้านเปิดลานนักเล่า”  นักเรียนเปิดกล่องสะสมคำศัพท์สรุปคำศัพท์ยากในกล่อง พร้อมทั้งเล่าเรื่องราวที่ได้จากการอ่าน โดยการพูดเล่าเรื่อง

 

ได้แก่ หนังสือนิทานเพื่อพัฒนาจริยธรรมสำหรับเด็กประถมศึกษา จำนวน 10 เล่ม (โปรดแนบผลผลิตโครงการฯ ในภาคผนวก) การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับ   ครู
ครูสามารถใช้หนังสือนิทานฯ สำหรับประกอบการเรียนการสอนหรือให้ผู้เรียนอ่านเพื่อศึกษาหาความรู้ เพิ่มเติมนอกเหนือจากหนังสือแบบเรียนตามความสามารถในการอ่านของนักเรียนแต่ละคน
นักเรียน นักเรียนสามารถอ่านหนังสือนิทานฯ เพื่อศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมด้วยตนเองทั้งในเวลาเรียนและนอกเวลาเรียนเนื่องจากเด็กที่ศึกษาอยู่ในระดับชั้นประถมศึกษาเป็นวัยที่สนใจเกี่ยวกับชีวิตจริงมากขึ้น ชอบฟังเรื่องราวต่างๆ สามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเองมากขึ้นจากการอ่านหนังสือ โดยเฉพาะหนังสืออ่านเพิ่มเติมในรูปแบบหนังสือนิทาน เช่น นิทานพื้นบ้าน (Folk Tales) นิทานสอนคติธรรม (Fables) เนื่องจากมีความสนุกสนานเพลิดเพลิน ให้ความรู้ สอดแทรกคติและคุณธรรมเพื่อสอนใจ มีลักษณะเป็นเรื่องราวเชื่อมโยงและมีภาพประกอบ ช่วยทำให้เด็กเกิดความสนุกสนาน  ตอบสนองความต้องการ ความอยากรู้อยากเห็น และช่วยกระตุ้นความสนใจใฝ่รู้ในการอ่านของเด็ก   โรงเรียน
โรงเรียนมีกิจกรรมที่ส่งเสริมความสัมพันธ์อันดีระหว่างโรงเรียน ผู้ปกครอง และนักเรียนในการสร้าง    ความร่วมมือทางวิชาการร่วมกัน

 

บ้านนักอ่าน ลานเรื่องเล่า โรงเรียนรักเมืองไทย 6 28 ก.ค. 2562 23 ก.ค. 2562

 

  1. ลงพื้นที่ประชุมผู้บริหาร ครู โรงเรียนรักเมืองไทย 6 บ้านโตนงาช้าง ร่วมกับอาจารย์และนักศึกษามหาวิทยาลัยหาดใหญ่เพื่อวางแผนการทำงาน วันที่ 19 มิถุนายน 2562
  2. การดำเนินกิจกรรมพัฒนานักเรียน ทั้งหมด 5 ครั้ง ดังนี้ ครั้งที่ 1 ประชุมเพื่อวางแผนดำเนินงานให้แล้วเสร็จตามเป้าหมาย วันที่ 19 มิถุนายน 2562 ครั้งที่ 2 ดำเนินกิจกรรมเพื่อพัฒนาการอ่านของนักเรียนตามโครงการ "บ้านนักอ่าน ลานเรื่องเล่า" วันที่ 9 กรฎาคม 2562 ครั้งที่ 3 ติดตามผลการพัฒนาการอ่านและทำกิจกรรมร่วมกับครู อาจราย์และนักเรียน วันที่ 19 กรกฎาคม 2562 ครั้งที่ 4 สรุปผลการดำเนินงานโครงการโดยคัดเลือกและประกาศรายชื่อนักเรียนที่สะสมคำศัพท์ได้มากที่สุด จำนวน 6 รางวัล (ชั้นปีละ 1 รางวัล) และนักเรียนที่มีคะแนนสูงสุดอีก 1 รางวัล และรางวัลนักเรียนผลงานดีเด่นจำนวน 2 รางวัล (ช่วงป.1-3 1 รางวัล และ ป.4-6 1 รางวัล) และหัวหน้าโครงการกล่าวสรุปปิดโครงการ วันที่ 23 กรกฎาคม 2562 ครั้งที่ ติดตามและประเมินผลโครงการ วันที่ 15 สิงหาคม 2562 3.การดำเนินการติดตามกิจกรรมพัฒนานักเรียน
  3. สรุปผลการดำเนินงานโครงการ
  4. ติดตามและประเมินผลโครงการ

 

เกิดความร่วมมือในการทงานร่วมกันระหว่าง อาจารย์ นักศึกษา ศึกษานิเทศก์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ผู้บริหารโรงเรียน ครู นักเรียน และชุมชนโดยรอบเพื่อพัฒนาทักษะการอ่าน การพูด และการเขียนของนักเรียน

 

“บ้านนักอ่าน ลานเล่าเรื่อง” โรงเรียนบ้านหน้าควนลัง (ราษฎร์สามัคคี) 17 ส.ค. 2562 17 ส.ค. 2562

 

  1. ศึกษาองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน
  2. วางแผนการดำเนินงานเพื่อกำหนดกิจกรรม “บ้านนักอ่าน ลานเรื่องเล่า” ร่วมกับโรงเรียน 3.อาจารย์และทีมงานร่วมประชุมเตรียมความพร้อมให้กับนักศึกษาก่อนลงพื้นที่ดำเนินงานเพื่อกำหนดกิจกรรม และจัดทำสื่อและรวบรวมสื่อวัสดุอุปกรณ์เพื่อดำเนินกิจกรรม“บ้านนักอ่าน ลานเรื่องเล่า” โดยเตรียมสื่อและกิจกรรมตามความเชี่ยวชาญของสาขา วิชาสังคมศึกษา
  3. ดำเนินกิจกรรม “เปิดบ้านนักอ่าน ลานเรื่องเล่า” ในโรงเรียนบ้านหน้าควนลัง (ราษฎร์สามัคคี) โดยกิจกรรมมีดังนี้
        4.1 คณะทำงานจากสาขาวิชาสังคมศึกษา มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ร่วมกับคณะครูชี้แจงลักษณะกิจกรรมในโครงการ     4.2 นักศึกษาจากสถาบันชวนนักเรียนช่วยสร้างรูปบ้านจำลองมุมนักอ่านในห้องเรียน
        4.3 นักเรียนทำบ้านจำลองจากกล่องกระดาษเหลือใช้เพื่อเก็บสะสมคำศัพท์จากการอ่าน     4.4 ทีมพี่เลี้ยงมอบสื่อส่งเสริมการอ่าน หนังสือเล่ม และสื่อทำมือให้นักเรียนแต่ละห้อง ห้องละชุดเพื่อไปจัดเก็บในมุม “บ้านนักอ่าน ลานเล่าเรื่อง” ของห้องและหมุนเวียนกันอ่านครบทุกห้องภายใน 2  สัปดาห์ จำนวนชุดขึ้นอยู่กับจำนวนเด็ก
        4.5 แต่ละครั้งที่อ่านให้นักเรียนเขียนคำศัพท์ยากหรือคำศัพท์ใหม่ที่อ่านเจอหย่อนลงในกล่องบ้านสะสมคำพร้อมด้วยเงิน 1 บาท
  4. การติดตามผล โดยการกำหนดให้เด็กประเมินตนเองว่าอ่านอะไรไปบ้างในแต่ละวันด้วยการบันทึกสิ่งที่อ่านลงในสมุดบันทึกทำมือของตนเอง และอาจมีการประกวดสมุดบันทึกรายบุคคล
  5. กิจกรรม “เปิดบ้านเปิดลานนักเล่า”  นักเรียนเปิดกล่องบ้านสรุปคำศัพท์ยากและรวมเงินในกล่องบ้าน พร้อมทั้งเล่าเรื่องราวที่ได้จากการอ่าน โดยการพูดเล่าเรื่อง เขียนเล่าเรื่อง วาดรูปเล่าเรื่อง ตามลักษณะการออกแบบกิจกรรมของแต่ละศาสตร์วิชา
  6. ติดตามผลหลังการดำเนินงาน และประชุมสรุปผลการดำเนินงาน

 

  1. สามารถส่งเสริมศักยภาพด้านการอ่าน การเขียน การวาดรูป ให้กับนักเรียน  โดยมุ่งเน้นการส่งเสริมให้มีกิจกรรมการเรียนรู้รูปแบบที่หลากหลาย
  2. สามารถสร้างความร่วมมือในการพัฒนาระบบการเรียนรู้ที่หลากหลายรูปแบบ ให้กับเด็กนักเรียนของโรงเรียนในท้องถิ่น มีการถ่ายทอดองค์ความรู้โดยความร่วมมือระหว่างสถาบันอุดมศึกษา โรงเรียน และชุมชน
  3. สามารถพัฒนาศักยภาพนักเรียนและครูผู้สอน ผ่านรูปแบบกิจกรรมเสริมทักษะความรู้ โดยเน้นกิจกรรมเสริมทักษะด้านการอ่าน และการเขียนเพื่อลดปัญหาการอ่าน ไม่ออก เขียนไม่ได้ของนักเรียน