โครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษาเพื่อพัฒนาท้องถิ่นโดยมีสถาบันอุดมศึกษา(มหาวิทยาลัยหาดใหญ่) เป็นพี่เลี้ยง

บ้านนักอ่าน ลานเรื่องเล่า โรงเรียนนิคมสร้างตนเองรัตภูมิ17 พฤษภาคม 2562
17
พฤษภาคม 2562รายงานจากพื้นที่ โดย PitchayaSuwanno
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  1. ประชุมวางแผนการดำเนินงานร่วมกับโรงเรียน
  2. อบรมเชิงปฏิบัติการสร้างหนังสือนิทาน
  3. ดำเนินกิจกรรม “เปิดบ้านนักอ่าน ลานเรื่องเล่า”
    -คณะทำงานจากมหาวิทยาลัยร่วมกับคณะครูชี้แจงลักษณะกิจกรรม -ทีมพี่เลี้ยงมอบสื่อส่งเสริมการอ่าน ได้แก่หนังสือนิทานส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมให้นักเรียนเพื่อไปจัดเก็บในมุม “บ้านนักอ่าน ลานเล่าเรื่อง” ของของโรงเรียน -ทีมพี่เลี้ยงเล่านิทาน (จริยธรรมด้านการพูด)และ(จริยธรรมด้านการกระทำ)ให้กับนักเรียนฟังและให้นักเรียนบันทึกคำศัพท์ยากหรือคำศัพท์ใหม่ลงในสมุดบันทึกพร้อมทั้งเขียนคำศัพท์ลงในบัตรคำเพื่อนำไปหย่อนกล่องสะสมคำศัพท์จากนั้นให้นักเรียนทุกคนอ่านหนังสือนิทานด้วยตนเองโดยในแต่ละครั้งที่อ่านให้นักเรียนเขียนคำศัพท์ยากหรือคำศัพท์ใหม่ที่อ่านเจอลงในสมุดบันทึกและเขียนใส่บัตรคำหย่อนลงในกล่องสะสมคำศัพท์
  4. การติดตามผล โดยการกำหนดให้เด็กประเมินตนเองว่าอ่านอะไรไปบ้างในแต่ละวันด้วยการบันทึกสิ่งที่อ่านลงในสมุดบันทึกทำมือของตนเอง และมีการประกวดสมุดบันทึกรายบุคคล โดยที่คณะทำงานจะดำเนินการติดตามผล 3 ครั้ง
    1. กิจกรรม “เปิดบ้านเปิดลานนักเล่า”  นักเรียนเปิดกล่องสะสมคำศัพท์สรุปคำศัพท์ยากในกล่อง พร้อมทั้งเล่าเรื่องราวที่ได้จากการอ่าน โดยการพูดเล่าเรื่อง
circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ได้แก่ หนังสือนิทานเพื่อพัฒนาจริยธรรมสำหรับเด็กประถมศึกษา จำนวน 10 เล่ม (โปรดแนบผลผลิตโครงการฯ ในภาคผนวก) การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับ   ครู
ครูสามารถใช้หนังสือนิทานฯ สำหรับประกอบการเรียนการสอนหรือให้ผู้เรียนอ่านเพื่อศึกษาหาความรู้ เพิ่มเติมนอกเหนือจากหนังสือแบบเรียนตามความสามารถในการอ่านของนักเรียนแต่ละคน
นักเรียน นักเรียนสามารถอ่านหนังสือนิทานฯ เพื่อศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมด้วยตนเองทั้งในเวลาเรียนและนอกเวลาเรียนเนื่องจากเด็กที่ศึกษาอยู่ในระดับชั้นประถมศึกษาเป็นวัยที่สนใจเกี่ยวกับชีวิตจริงมากขึ้น ชอบฟังเรื่องราวต่างๆ สามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเองมากขึ้นจากการอ่านหนังสือ โดยเฉพาะหนังสืออ่านเพิ่มเติมในรูปแบบหนังสือนิทาน เช่น นิทานพื้นบ้าน (Folk Tales) นิทานสอนคติธรรม (Fables) เนื่องจากมีความสนุกสนานเพลิดเพลิน ให้ความรู้ สอดแทรกคติและคุณธรรมเพื่อสอนใจ มีลักษณะเป็นเรื่องราวเชื่อมโยงและมีภาพประกอบ ช่วยทำให้เด็กเกิดความสนุกสนาน  ตอบสนองความต้องการ ความอยากรู้อยากเห็น และช่วยกระตุ้นความสนใจใฝ่รู้ในการอ่านของเด็ก   โรงเรียน
โรงเรียนมีกิจกรรมที่ส่งเสริมความสัมพันธ์อันดีระหว่างโรงเรียน ผู้ปกครอง และนักเรียนในการสร้าง    ความร่วมมือทางวิชาการร่วมกัน