โครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษาเพื่อพัฒนาท้องถิ่นโดยมีสถาบันอุดมศึกษา(มหาวิทยาลัยหาดใหญ่) เป็นพี่เลี้ยง

บ้านนักอ่าน ลานเรื่องเล่า โรงเรียนบ้านหาร25 มิถุนายน 2562
25
มิถุนายน 2562รายงานจากพื้นที่ โดย Siriporn
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  1. ลงพื้นที่ประชุมร่วมกันระหว่างผู้บริหาร ครู โรงเรียนบ้านหาร กับคณาจารย์ และนักศึกษา มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ วันที่ 18 มิถุนายน 2562   2. ลงพื้นที่จัดกิจกรรม“บ้านนักอ่าน...ลานเรื่องเล่า เรียนรู้ศัพท์ภาษาไทยผ่านบทเพลง” โดยลงพื้นที่จำนวน 4 ครั้ง ครั้งละ 4 ชั่วโมง ดังนี้   - ครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 25 มิถุนายน 2562 จัดกิจกรรมเรียนรู้ศัพท์ภาษาไทยผ่านบทเพลง ตอน คำภาษาถิ่น
      - ครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2562 จัดกิจกรรมเรียนรู้ศัพท์ภาษาไทยผ่านบทเพลง ตอน คำไวพจน์   - ครั้งที่ 3 เมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม 2562 จัดกิจกรรมเรียนรู้ศัพท์ภาษาไทยผ่านบทเพลง ตอน คำราชาศัพท์   - ครั้งที่ 4 เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2562  จัดกิจกรรมเรียนรู้ศัพท์ภาษาไทยผ่านบทเพลง ตอน ประมวลความรู้สู่การปฏิบัติจริง   3. สรุปโครงการ “บ้านนักอ่าน...ลานเรื่องเล่า เรียนรู้ศัพท์ภาษาไทยผ่านบทเพลง”
    1. จัดนิทรรศการ
circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. เกิดความร่วมมือในการทำกิจกรรมด้านวิชาการร่วมกันระหว่างโรงเรียนบ้านหารกับมหาวิทยาลัยหาดใหญ่   2. นักเรียนโรงเรียนบ้านหารที่เข้าร่วมโครงการได้ฝึกและทบทวนทักษะการอ่านและการเขียนในสาระการเรียนรู้วิชาภาษาไทย   3. นักเรียนโรงเรียนบ้านหารได้เรียนรู้การฝึกหัดร้องเพลงเบื้องต้นที่ถูกต้อง และสามารถร่วมร้องเพลงหมู่ได้   4. นักศึกษามหาวิทยาลัยหาดใหญ่ได้ฝึกปฏิบัติการทำงานจริง กล่าวคือ นักศึกษาสาขาวิชาภาษาไทยได้ฝึกปฏิบัติการสอนในรายวิชาภาษาไทย และนักศึกษาสาขาวิชาดนตรีสมัยนิยม ได้จัดกิจกรรมเล่นดนตรีเพื่อสันทนาการ และสอนนักเรียนร้องเพลงในสถานการณ์จริง   5. โรงเรียนได้รับไฟล์มิวสิกวิดีโอเพลงสดุดีจอมราชา โดยมีนักเรียนที่เข้าร่วมโครงการร่วมกันร้องเพลงหมู่ ซึ่งโรงเรียนสามารถนำไฟล์วิดีโอดังกล่าวไปใช้ประโยชน์ในกิจกรรมต่าง ๆ ของโรงเรียนได้
  2. การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับ   ครู
    ครูสามารถใช้หนังสือนิทานฯ สำหรับประกอบการเรียนการสอนหรือให้ผู้เรียนอ่านเพื่อศึกษาหาความรู้ เพิ่มเติมนอกเหนือจากหนังสือแบบเรียนตามความสามารถในการอ่านของนักเรียนแต่ละคน
    นักเรียน นักเรียนสามารถอ่านหนังสือนิทานฯ เพื่อศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมด้วยตนเองทั้งในเวลาเรียนและนอกเวลาเรียนเนื่องจากเด็กที่ศึกษาอยู่ในระดับชั้นประถมศึกษาเป็นวัยที่สนใจเกี่ยวกับชีวิตจริงมากขึ้น ชอบฟังเรื่องราวต่างๆ สามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเองมากขึ้นจากการอ่านหนังสือ โดยเฉพาะหนังสืออ่านเพิ่มเติมในรูปแบบหนังสือนิทาน เช่น นิทานพื้นบ้าน (Folk Tales) นิทานสอนคติธรรม (Fables) เนื่องจากมีความสนุกสนานเพลิดเพลิน ให้ความรู้ สอดแทรกคติและคุณธรรมเพื่อสอนใจ มีลักษณะเป็นเรื่องราวเชื่อมโยงและมีภาพประกอบ ช่วยทำให้เด็กเกิดความสนุกสนาน ตอบสนองความต้องการ ความอยากรู้อยากเห็น และช่วยกระตุ้นความสนใจใฝ่รู้ในการอ่านของเด็ก   โรงเรียน
    โรงเรียนนำไฟล์มิวสิกวิดีโอเพลงสดุดีจอมราชา ที่มีนักเรียนโรงเรียนบ้านหารร่วมร้องเพลงหมู่ ไปใช้ประโยชน์ในกิจกรรมต่าง ๆ ของโรงเรียน