โครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษาเพื่อพัฒนาท้องถิ่นโดยมีสถาบันอุดมศึกษา(มหาวิทยาลัยหาดใหญ่) เป็นพี่เลี้ยง
1 ได้มีการประชุมกับครูใหญ่และครูในโรงเรียน เพื่อรับทราบวัตถุประสงค์ในการจัดโครงการในภาพรวม
2 มีการประชุมทีมงาน เพื่อวางแผนการดำเนินโครงการ และกิจกรรมที่สามารถสอดคล้องกับโครงการ
3 ลงพื้นที่ที่ได้รับมอบหมาย มีการประชุมกับครูและหัวหน้าวิชาการที่ดูแลโครงการ เพื่อรับทราบวัตุประสงค์ และ ข้อมูลเพื่อเติมที่ทางโรงเรียนต้องการในการพัฒนานักเรียน โดยเฉพาะเรื่อง วันและเวลาที่เหมาะสม จำนวนนักเรียนที่เข้าร่วมโครงการ ซึ่งโรงเรียนต้องการพัฒนาให้นักเรียนระดับชั้นอนุบาล และ ประถมศึกษา 1 – 6 จำนวน 55 คน ให้มีความสนใจ และรักการเรียนภาษาอังกฤษ พร้อมทั้งต้องการให้นักเรียนสามารถอ่านออกเสียงภาษาอังกฤษที่เป็นคำศัพท์ ประโยคอย่างง่าย และ นิทานอย่างง่ายได้ นอกจากนี้ต้องการพัฒนานักเรียนในเรื่องทักษะการฟังและความคิดสร้างสรรค์ เพื่อนำไปสู่การต่อยอดในเรื่องทักษะการอ่านเชิงวิเคราะห์
4 มีการจัดประชุมกับกับทีมงานและนักศึกษาที่ต้องลงไปจัดกิจกรรมให้กับนักเรียนในโรงเรียน
5 มีทีมงานลงไปจัดกิจกรรมให้กับนักเรียนโดยแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มใหญ่ ได้แก่ กลุ่มนักเรียนอนุบาล 1 -3กลุ่มนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษา 1 – 3 และ กลุ่มระดับชั้นประถมศึกษา 4 – 6
กิจกรรมที่ดำเนินการพัฒนา
ช่วงชั้นอนุบาล
จัดกิจกรรมผ่านการร้องเพลง A-Z และ Old McDonald has a farm และการเรียนรู้การอ่านออกเสียงคำศัพท์ เรื่อง Animals ได้แก่ Fish, Cow, Cat, Goat, Sheep เป็นต้น โดยผ่านกิจกรรมเกมส์และชิ้นงาน
ช่วงชั้นที่ 1
จัดกิจกรรมการเรียนรู้ของ Theme: Occupations and Workplace โดยให้นักเรียนได้เรียนรู้คำศัพท์อาชีพผ่านเพลง Occupations ฝึกการอ่านออกเสียงที่เป็นคำและประโยคอย่างง่าย พร้อมทั้งผ่านกิจกรรมเกมส์ โดยนักเรียนได้เรียนจากคำศัพท์ ไปสู่รูประโยคอย่างง่าย และเชื่อมโยงไปถึงสถานที่ทำงาน ได้แก่ Teacher – I am a teacher. A teacher works in a school.
ช่วงชั้นที่ 2
จัดกิจกรรมการเรียนรู้ของ Theme: A hero in my dream โดยให้นักเรียนเรียนรู้ผ่านคำศัพท์ในหมวดหมู่ ได้แก่ Animals, Environment, and Sports ซึ่งนักเรียนเรียนรู้การสะกดคำ การอ่านออกเสียงผ่านเกมส์ รวมไปถึงการอ่านนิทานที่เชื่อมโยงเกี่ยวกับคำศัพท์ที่เรียนรู้ และให้นักเรียนได้มีการฝึกสร้างรูปประโยคอย่างง่ายเป็นตัวละคร จนนำไปสู่การสร้างนิทานเกี่ยวกับ My hero
ผลผลิตโครงการฯ (เช่น คู่มือ สื่อนวัตกรรมเพื่อการเรียนการสอน เป็นต้น) จากการจัดกิจกรรม
ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้เชิงบูรณาการ 2. สื่อการเรียนการสอน ได้แก่ Flash cards, เกมส์ และ เพลง 3. ชิ้นงานเชิงบูรณาการ (โปรดแนบผลผลิตโครงการฯ ในภาคผนวก)
การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับ
ครู : ได้เทคนิคการสอนภาษาอังกฤษใหม่ๆ โดยผ่านการทำกิจกรรมเกมส์
นักเรียน : ได้พัฒนาทักษะการอ่าน และความคิดเชิงสร้างสรรค์ผ่านการฝึกแต่งประโยคอย่างง่าย
โรงเรียน: ได้สร้างเครือข่ายในการพัฒนาครูและนักเรียนในโรงเรียน
ตัวชี้วัดการเปลี่ยนแปลง เช่น ผลการประเมินโดยเปรียบเทียบระหว่าง Pre-test /Post-test/ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน
นักเรียนสามารถสะกดคำศัพท์ อ่านออกเสียง หรือเล่าเรื่องราว โดยใช้ภาษาอังกฤษอย่างง่าย
ประโยชน์ที่โรงเรียนและชุมชนได้รับจากการดำเนินโครงการฯ
1 ครูได้เห็นเทคนิคการสอนภาษาอังกฤษใหม่ๆ เพื่อใช้พัฒนานักเรียนในโรงเรียน
2 นักเรียนในโรงเรียนได้เพิ่มพูนเกี่ยวกับคำศัพท์ภาษาอังกฤษในรูปแบบ Theme มีการพัฒนาการอ่านออกเสียงในรูปแบบคำศัพท์ และประโยคอย่างง่ายได้ถูกต้อง
ประโยชน์ที่สถาบันอุดมศึกษาได้รับจากการดำเนินโครงการฯ
1 นักศึกษาครูวิชาภาษาอังกฤษ ได้มีการพัฒนากระบวนการสอน การวางแผน การผลิตสื่อ และ การทำงานเป็นทีม
2 นักศึกษาครูวิชาภาษาอังกฤษ ได้มีการฝึกสอนในสถานศึกษาจริง ได้รู้จักการแก้ไขปัญหาในสภาพจริง
3 สาขาและมหาวิทยาลัยได้มีการสร้างเครือข่าย และความสัมพันธ์กับชุมชน