โครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษาเพื่อพัฒนาท้องถิ่นโดยมีสถาบันอุดมศึกษา(มหาวิทยาลัยหาดใหญ่) เป็นพี่เลี้ยง

“บ้านนักอ่าน ลานเล่าเรื่อง” โรงเรียนบ้านหน้าควนลัง (ราษฎร์สามัคคี)17 สิงหาคม 2562
17
สิงหาคม 2562รายงานจากพื้นที่ โดย Siriporn
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  1. ศึกษาองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน
  2. วางแผนการดำเนินงานเพื่อกำหนดกิจกรรม “บ้านนักอ่าน ลานเรื่องเล่า” ร่วมกับโรงเรียน 3.อาจารย์และทีมงานร่วมประชุมเตรียมความพร้อมให้กับนักศึกษาก่อนลงพื้นที่ดำเนินงานเพื่อกำหนดกิจกรรม และจัดทำสื่อและรวบรวมสื่อวัสดุอุปกรณ์เพื่อดำเนินกิจกรรม“บ้านนักอ่าน ลานเรื่องเล่า” โดยเตรียมสื่อและกิจกรรมตามความเชี่ยวชาญของสาขา วิชาสังคมศึกษา
  3. ดำเนินกิจกรรม “เปิดบ้านนักอ่าน ลานเรื่องเล่า” ในโรงเรียนบ้านหน้าควนลัง (ราษฎร์สามัคคี) โดยกิจกรรมมีดังนี้
        4.1 คณะทำงานจากสาขาวิชาสังคมศึกษา มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ร่วมกับคณะครูชี้แจงลักษณะกิจกรรมในโครงการ     4.2 นักศึกษาจากสถาบันชวนนักเรียนช่วยสร้างรูปบ้านจำลองมุมนักอ่านในห้องเรียน
        4.3 นักเรียนทำบ้านจำลองจากกล่องกระดาษเหลือใช้เพื่อเก็บสะสมคำศัพท์จากการอ่าน     4.4 ทีมพี่เลี้ยงมอบสื่อส่งเสริมการอ่าน หนังสือเล่ม และสื่อทำมือให้นักเรียนแต่ละห้อง ห้องละชุดเพื่อไปจัดเก็บในมุม “บ้านนักอ่าน ลานเล่าเรื่อง” ของห้องและหมุนเวียนกันอ่านครบทุกห้องภายใน 2  สัปดาห์ จำนวนชุดขึ้นอยู่กับจำนวนเด็ก
        4.5 แต่ละครั้งที่อ่านให้นักเรียนเขียนคำศัพท์ยากหรือคำศัพท์ใหม่ที่อ่านเจอหย่อนลงในกล่องบ้านสะสมคำพร้อมด้วยเงิน 1 บาท
  4. การติดตามผล โดยการกำหนดให้เด็กประเมินตนเองว่าอ่านอะไรไปบ้างในแต่ละวันด้วยการบันทึกสิ่งที่อ่านลงในสมุดบันทึกทำมือของตนเอง และอาจมีการประกวดสมุดบันทึกรายบุคคล
  5. กิจกรรม “เปิดบ้านเปิดลานนักเล่า”  นักเรียนเปิดกล่องบ้านสรุปคำศัพท์ยากและรวมเงินในกล่องบ้าน พร้อมทั้งเล่าเรื่องราวที่ได้จากการอ่าน โดยการพูดเล่าเรื่อง เขียนเล่าเรื่อง วาดรูปเล่าเรื่อง ตามลักษณะการออกแบบกิจกรรมของแต่ละศาสตร์วิชา
  6. ติดตามผลหลังการดำเนินงาน และประชุมสรุปผลการดำเนินงาน
circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. สามารถส่งเสริมศักยภาพด้านการอ่าน การเขียน การวาดรูป ให้กับนักเรียน  โดยมุ่งเน้นการส่งเสริมให้มีกิจกรรมการเรียนรู้รูปแบบที่หลากหลาย
  2. สามารถสร้างความร่วมมือในการพัฒนาระบบการเรียนรู้ที่หลากหลายรูปแบบ ให้กับเด็กนักเรียนของโรงเรียนในท้องถิ่น มีการถ่ายทอดองค์ความรู้โดยความร่วมมือระหว่างสถาบันอุดมศึกษา โรงเรียน และชุมชน
  3. สามารถพัฒนาศักยภาพนักเรียนและครูผู้สอน ผ่านรูปแบบกิจกรรมเสริมทักษะความรู้ โดยเน้นกิจกรรมเสริมทักษะด้านการอ่าน และการเขียนเพื่อลดปัญหาการอ่าน ไม่ออก เขียนไม่ได้ของนักเรียน