โครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษาเพื่อพัฒนาท้องถิ่นโดยมีสถาบันอุดมศึกษา(มหาวิทยาลัยหาดใหญ่) เป็นพี่เลี้ยง
ลงพื้นที่ทำกิจกรรมครั้งที่ 1 วันที่ 14 มิถุนายน 2562
ประชุมเพื่อวางแผนดำเนินงานร่วมกับครูและผู้บริหารโรงเรียนวัดควนเนียง อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา
ลงพื้นที่ทำกิจกรรมครั้งที่ 2 วันที่ 24 มิถุนายน 2562
1. มอบกล่องคำศัพท์และสมุดบันทึกกิจกรรม “สะสมศัพท์สะสมทรัพย์”
2. มอบหนังสือประเภทต่าง ๆ ทั้งเรื่องสั้น สารคดี วรรณคดีวรรณกรรม นิทาน นิยาย และอื่น ๆ
3. มอบสมุดฉีกเพื่อให้นักเรียนใช้เขียนคำศัพท์หยอดลงกล่องแก่ทางโรงเรียน
ติดตามความก้าวหน้าโครงการ ครั้งที่ 3 วันที่ 15 กรกฎาคม 2562
ตรวจสอบการทำกิจกรรม “บ้านนักอ่านลานเรื่องเล่า” ของนักเรียน ติดตามการให้ความสนใจของนักเรียนและการสะสมศัพท์อย่างต่อเนื่องของนักเรียน
ดำเนินการติดตามผลการสะสมศัพท์ของนักเรียนเพื่อมอบของรางวัล ครั้งที่ 4 ในวันที่ 30 กรกฎาคม 2562 ตรวจสอบคำศัพท์พร้อมความหมายที่เขียนแล้วนำมาบรรจุกล่อง ตรวจผลการสะสมศัพท์ของนักเรียนและมอบของรางวัลตามลำดับจำนวนการสะสมศัพท์ เพื่อเป็นขวัญและกำลังใจแก่คนที่อ่านมาก สะสมได้มาก และเพื่อให้นักเรียนสนใจอ่านมากขึ้น และตรวจสอบสมุดบันทึกกิจกรรมของนักเรียน ที่มีการบันทึกคำศัพท์ และวาดภาพประกอบเพื่อพัฒนาทักษะความคิดสร้างสรรค์แก่เยาวชน
ผลที่เกิดขึ้น ครั้งที่ 1 และ ครั้งที่ 2 เพื่อชี้แจงข้อตกลง ประชุมวางแผนปการดำเนินงานโครงการ การให้นักเรียนร่วมกิจกรรมโดยเขียนคำศัพท์หยอดลงกล่องแก่ทางโรงเรียน เพื่อฝึกให้นักเรียนอ่านหนังสือที่สนใจ และเขียนคำศัพท์ที่สนใจพร้อมอธิบายความหมาย เพื่อให้เกิดทักษะการรับรู้ความหมายและมีคลังคำศัพท์เพิ่มมากขึ้นตามโครงการ “บ้านนักอ่านลานเรื่องเล่า”
ครั้งที่ 3 ได้ตรวจสอบและติดตามการอ่านหนังสือและการเขียนคำศัพท์ของนักเรียน การสะกดคำ การบันทึกคำศัพท์ โดยได้ติดตามการอ่านของนักเรียนทุกระดับชั้น ตั้งแต่ ระดับชั้น ป.1-ป.6 ติดตามสภาพปัญหาการอ่าน การเขียนสะสมคำศัพท์จากคุณครูประจำชั้น คุณครูฝ่ายวิชาการ
ครั้งที่ 4 นักเรียนสามารถเขียนคำศัพท์ได้และปลูกฝังนิสัยรักการอ่าน การมีความกล้าแสดงออก ความรับผิดชอบ จากการทำกิจกรรมทำให้นักเรียนได้อ่านหนังสือหลากหลายมากขึ้น อาทิ สมุดภาพ นิทาน เรื่องสั้น ความรู้รอบตัว เรื่องราวในบทความต่าง ๆ ทำให้นักเรียนสามารถแลกเปลี่ยนความรู้ในแต่ละระดับชั้นได้ เกิดการสอนคำศัพท์จากการอ่าน จากการถามครู ถามเพื่อน ถามรุ่นพี่ คุณครูแจ้งว่า ผลการเรียนวิชาอื่น ๆ เมื่อนักเรียนรักการอ่าน การเรียนมีประสิทธิภาพมากขึ้นด้วย
โดยนวัตกรรมที่ใช้ในการยกระดับคุณภาพมาตรฐานการศึกษาสำหรับครูและนักเรียนของสถานศึกษา ได้แก่ สมุดบันทึกกิจกรรม “บ้านนักอ่าน ลานเรื่องเล่า” เป็นสมุด “สะสมศัพท์สะสมทรัพย์” ซึ่งนักเรียนเขียนคำศัพท์พร้อมความหมายที่ได้จากการอ่าน และวาดภาพประกอบการอธิบายความ
ผลลัพท์ในภาพรวมที่เกิดขึ้นกับนักเรียนโรงเรียนวัดควนเนียง อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา
- เกิดการพัฒนาทักษะการอ่าน การเขียน และการส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ จากกิจกรรมการอ่านหนังสือ การเขียนคำศัพท์พร้อมอธิบายความหมายของคำ และวาดภาพสร้างสรรค์เพื่อสื่อความหมายคำศัพท์ที่ได้จากการอ่าน
- สนับสนุนให้นักเรียนรักการอ่าน สนใจอ่านหนังสือมากขึ้นจากหนังสือหลากหลายประเภท และได้รับความรู้จากการอ่านอันเป็นประโยชน์ต่อการนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้
- พัฒนาทักษะการคิดเพื่อการสื่อความ เพื่อร้อยเรียงความคิดกับการเขียนสื่อความให้ผู้รับสาร (ผู้อ่าน) สามารถเข้าใจความหมายของคำศัพท์ที่เขียนอธิบายในสมุดบันทึกกิจกรรม (คุณครูตรวจสอบการเขียนอธิบายความหมายของคำที่นักเรียนเขียน ว่าถูกต้องหรือสอดคล้องตามความที่แท้จริงหรือไม่)
- ฝึกความคิดด้านการสื่อภาพตามจินตนาการ อันเป็นการส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ และพัฒนาทักษะการคิดสื่อความหมายถึงความสัมพันธ์ของคำกับภาพวาด และการตกแต่งภาพที่สวยงาม เป็นการสนับสนุนสมาธิให้แก่นักเรียนมากขึ้น
ผลผลิตที่ได้ ได้แก่ สมุดบันทึกกิจกรรม “สะสมศัพท์สะสมทรัพย์” ภายในสมุดมีการเขียนคำศัพท์พร้อมอธิบายความหมาย และวาดภาพสวยงามประกอบการอธิบายความหมาย (โปรดแนบผลผลิตโครงการฯ ในภาคผนวก)
การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับ ครู ครูเห็นพัฒนาการที่เกิดขึ้นกับนักเรียน ในด้านทักษะการอ่าน และทักษะการเขียน นักเรียนมีความสนใจในการอ่าน รักการอ่านมากขึ้น และกล้าแสดงออกทางความคิดมากขึ้น ครูสามารถนำรูปแบบกิจกรรมไปต่อยอดในการส่งเสริมการอ่านแก่นักเรียน และบูรณาการกับการสอนรายวิชาอื่น ๆ ได้ นักเรียน นักเรียนมีพัฒนาการด้านทักษะการอ่าน และทักษะการเขียนเพิ่มมากขึ้น กิจกรรม “สะสมศัพท์สะสมทรัพย์” พัฒนาทักษะการคิดเพื่อการสื่อความ เพื่อร้อยเรียงความคิดกับการเขียนสื่อความให้ผู้รับสาร (ผู้อ่าน) สามารถเข้าใจความหมายของคำศัพท์ที่เขียนอธิบายในสมุดบันทึกกิจกรรม อีกทั้งนักเรียนได้พัฒนาความคิดสร้างสรรค์ตามจินตนาการจากการวาดภาพประกอบความหมายของคำ โรงเรียน โรงเรียนได้เห็นศักยภาพของนักเรียนมากขึ้น สามารถนำสื่อการเรียนรู้ของนักเรียนไปจัดแสดงทางวิชาการ เพื่อส่งเสริม สนับสนุนการเรียนรู้ของนักเรียนให้โรงเรียนอื่น ๆ หรือผู้ปกครองได้เห็นพัฒนาการทางการเรียนรู้และความคิดที่นักเรียนได้รับจากการอ่าน พร้อมความคิดในการเขียนสื่อความหมายและความคิดจากจินตนาการผ่านภาพวาดอันสวยงาม
ทั้งนี้ ประโยชน์ที่โรงเรียนและชุมชนได้รับจากการดำเนินโครงการฯ ประโยชน์สำหรับโรงเรียน : โรงเรียนได้เห็นศักยภาพของนักเรียนมากขึ้น สามารถนำสื่อการเรียนรู้ของนักเรียนไปจัดแสดงทางวิชาการ เพื่อส่งเสริม สนับสนุนการเรียนรู้ของนักเรียนให้โรงเรียนอื่น ๆ หรือผู้ปกครองได้เห็นพัฒนาการทางการเรียนรู้และความคิดจากจินตนาการที่นักเรียนได้รับจากการอ่าน พร้อมความคิดในการเขียนสื่อความหมายและความคิดจากจินตนาการผ่านภาพวาดอันสวยงาม อีกทั้งนักเรียนมีพัฒนาการด้านการรับสารที่ดีขึ้น เพราะอ่านหนังสือมากขึ้น ประโยชน์สำหรับชุมชน : นักเรียนมีความรู้เพิ่มขึ้นจากการอ่าน สามารถนำความรู้ของตนเองไปเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างประโยชน์แก่ชุมชน เช่น การบอกกล่าวให้คนในชุมชนดูแลสุขภาพ การป้องกันโรค การบริโภคที่ถูกต้อง เป็นต้น ผู้ปกครองหรือผู้คนในชุมชนก็จะได้รับประโยชน์จากนักเรียน อีกทั้งได้เห็นลูกหลานที่เป็นนักเรียนมีนิสัยรักการอ่านมากขึ้น และมีพัฒนาการการเรียนรู้ที่ดีขึ้นก็ย่อมสร้างความสุขแก่ผู้ปกครองซึ่งเป็นผู้อาศัยในชุมชน ประโยชน์ที่สถาบันอุดมศึกษาได้รับจากการดำเนินโครงการฯ มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ได้บริการวิชาการในฐานะมหาวิทยาลัยพี่เลี้ยง ได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิด ประสบการณ์ การสอนและการเรียนรู้ร่วมกับกับทุกฝ่าย ทั้งทางโรงเรียน ผู้อำนวยการโรงเรียน ครูผู้สอน รวมถึงนักเรียน ได้สร้างกิจกรรมเพื่อพัฒนาทักษะการเรียนรู้ ทั้งทักษะการฟัง ทักษะการพูด ทักษะการอ่าน และทักษะการเขียน ให้นักเรียนมีโอกาสแสดงความคิด ความรู้ จินตนาการ และความสามารถเต็มที่ตามศักยภาพ ของตน อีกทั้งมหาวิทยาลัยได้พัฒนานักศึกษาที่มีจิตอาสาในการบริการวิชาการ ร่วมทำกิจกรรมกับทางโรงเรียน อันเป็นการพัฒนาคุณภาพนักศึกษาได้อีกทางหนึ่งด้วย