โครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษาเพื่อพัฒนาท้องถิ่นโดยมีสถาบันอุดมศึกษา(มหาวิทยาลัยหาดใหญ่) เป็นพี่เลี้ยง

บ้านนักอ่าน ลานเรื่องเล่า โรงเรียนวัดท่านางหอม16 พฤษภาคม 2562
16
พฤษภาคม 2562รายงานจากพื้นที่ โดย Siriporn
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ขึ้นที่ 1 การประชุมวางแผนออกแบบกิจกรรมพัฒนานักเรียน เพื่อใช้ใน
      ช่วงเวลาลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้ที่สอดคล้องกับบริบทสถานศึกษา 1.1 ประสานงานกับศึกษานิเทศก์สำนักงานเขตพื้นที่ 1.2 ประสานกับผู้บริหารสถานศึกษา 1.3 จัดประชุมเชิงปฏิบัติการจัดทำการออกแบบกิจกรรม 1.4 จัดนำเสนอแผนกิจกรรมของสถานศึกษา 1.5 วางแผนการนำไปใช้ในสถานศึกษา 1.6 มหาวิทยาลัยร่วมกับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา วางแผนเป็นโค้ชและเป็นพี่เลี้ยงในสถานศึกษา ขั้นที่ 2 การดำเนินกิจกรรมพัฒนานักเรียน เพื่อใช้ในช่วงเวลา ลดเวลาเรียน เพิ่ม                       เวลารู้ ที่สอดคล้องกับบริบทสถานศึกษา                       2.1 ผู้บริหารสถานศึกษาเตรียมครูในสถานศึกษา โดยมีโค้ชจากมหาวิทยาลัย                             และสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาดูแล 2.2 ครูนำกิจกรรมไปใช้ตามแผน ทุกสัปดาห์ 2.3 มหาวิทยาลัย ศึกษานิเทศก์ ผู้บริหารและโค้ชทำการนิเทศช่วยเหลือครูในการดำเนินกิจกรรมทุก 1-2 สัปดาห์ 2.4 สะท้อนผลการดำเนินกิจกรรมในรูปแบบ AAR ทุก 1-2 สัปดาห์ 2.5 การปรับปรุงผลการดำเนินงานให้มีประสิทธิภาพตลอดระยะเวลาดำเนินการซึ่งเป็นการนำผลจากการทำ AAR มาปรับให้ดีขึ้น      


  ขั้นที่ 3 การสะท้อนผลและการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ตามกิจกรรมที่ดำเนินการ
                      พัฒนา                     3.1  ร่วมกันพัฒนามุมนักอ่านโดยการจัดมุมอ่านหนังสือแบบไม่เป็นทางการ                     โดยให้นักเรียนกับทีมพี่เลี้ยงช่วยกันโดยกั้นมุมห้องเล็กๆ มีโต๊ะญี่ปุ่น  หมอน
                    รองนั่ง ติดรูปสาระความรู้  วอลเปเปอร์สวยสีสันสวยงาม ตกแต่งด้วยหน้าต่าง                     ด้วยผ้าม่านสีขาว และจัดหนังสืออ่านเล่น หนังสือกาตูนย์ที่เด็กๆ ชอบนำไป                     ไว้ในมุมนักอ่าน    และทำความสะอาดม้านั่งหินอ่อนสำหรับนั่งอ่านหนังสือ                     เล่นๆ  นักเรียนมีความพึงพอใจกับมุมอ่านหนังสือใหม่  และเข้าไปนั่งเล่น
                    นอนเล่นอ่านหนังสือ  และทำกิจกรรม  ในชั่วโมงลดเวลาเรียน     3.1 กิจกรรมสอนน้องฝึกอ่าน ฝึกเขียน ฝึกวาดภาพ โดยกิจกรรมดังกล่าวจะให้นักเรียนเลือกอ่านหนังสือที่นักเรียนชอบคนละกี่เล่มก็ได้    และจะแบ่งนักเรียนออกเป็นกลุ่ม  แต่ละกลุ่มจะมีพี่เลี้ยงคอยสอนอย่างใกล้ชิดโดยจะไม่เน้นสอนในห้องเรียนเนื่องจากนักเรียนจะรู้สึกเหนื่อยล้ากับการเรียนในห้องเรียนมาทั้งวันแล้ว  กิจกรรมนี้จะนำนักเรียน แต่ละกลุ่มพี่เลี้ยงจะนำน้องไปใต้ต้นไม้บาง  ม้าหินอ่อนบ้าง ก่อนเข้าสู่บทเรียนก็จะให้นักเรียนททำความรู้จักและคุ้นเคยกับพี่เลี้ยงประจำกลุ่มเพื่อลดความเกร็งและความเครียด จะเน้นบรรยากาศที่สบายๆ ไม่เป็นทางการ  จากการแบ่งน้องนักเรียนเป็นกลุ่มย่อย จะทำให้สอนได้เป็นรายบุคคลน้องนักเรียนคนไหนอ่านไม่ออกภายในกลุ่มก็จะต้องช่วนกันฝึกฝนจนอ่านคล่องขึ้น  โดยในแต่ละสัปดาห์อ่านแล้วก็จะให้เขียนคำศัพท์ลงในบัตรคำ และในสมุดบันทึกเขียนความหมายของคำศัพท์พร้อมวาดรูปประกอบระบายสีให้สวยงามทุกครั้ง  และจะมีการแข่งขันกันระหว่างกลุ่มว่ากลุ่มพี่เลี้ยงของคนไหนที่ช่วยกันแล้วน้องอ่านเก่ง เขียนเก่ง เขียนสวย ที่สุดด้วยก็จะทำให้น้องๆ กระตือรือร้นที่จะช่วยกันภายในกลุ่มอีกด้วย
3.2 กิจกรรมฝึกอ่านฝึกเล่า  โดยให้นักเรียนไปอ่านหนังสือแล้วออกมาเล่าเรื่องให้เพื่อนๆ ฟัง
3.3 กิจกรรมเขียนคำศัพท์ในบัตรคำ โดยทีมพี่เลี้ยงจัดทำกล่องคำศัพท์ให้กับนักเรียน และให้นักเรียนไปฝึกอ่านและเขียนคำศัพท์ลงในกล่องโดยใครได้คำศัพท์เยอะที่สุดจะมาเปิดในวันปิดโครงการและจะมีรางวัลให้ กิจกรรมนี้ทำให้นักเรียนสนุกกระตือรือร้นที่จะอ่านและฝึกหาคำศัพท์เพื่อหย่อนลงในกล่อง ผลคือทำให้นักเรียนอ่านหนังสือเพิ่มขึ้นสนุกกับการอ่านมากขึ้น 3.4 กิจกรรมเล่าเรื่องโชว์ปิดโครงการ

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับครู คือ ครูในโรงเรียนจะให้ความร่วมมือในการสังเกตุพฤติกรรมของนักเรียนและทราบปัญหาของนักเรียนแต่ละคนอย่างละเอียดมากขึ้นว่าเด็กคนนี้ควรพัฒนาอย่างไร ได้เรียนรู้ที่จะนำกิจกรรมเพื่อนช่วยเพื่อนไปใช้ในชั้นเรียนมากขึ้น
การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับนักเรียน  คือ นักเรียนมีความกระตือรือร้นที่จะฝึกในเรื่องของการอ่าน การเขียน เนื่องจากชอบที่ได้เปลี่ยนบรรยากาศรูปแบบการเรียนรู้จากในห้องเรียน เป็นใต้ต้นไม้  ม้าหินอ่อน ทำให้บรรยาศน่าเรียนรู้ ผนวกกับตื่นตาตื่นใจที่ได้เจอกับคุณครูพีเลี้ยงจากมหาวิทยาลัยหาดใหญ่ที่ให้ทั้งความรู้และความบันเทิง จึงกระตุ้นให้ผู้เรียนตั้งใจฝึกเขียน ฝึกอ่านมากขึ้น  จึงทำให้เกิดความสัมพันธ์อันดีระหว่างโรงเรียนกับมหาวิทยาลัย ผลจากการให้อ่านหนังสือตามที่นักเรียนชอบ จะกระตุ้นให้นักเรียนรักการอ่านอย่างอิสระ ได้อ่านหนังสือที่ตัวเองชอบ นักเรียนทุกคนอ่านหนังสือเพิ่มขึ้นจากเดิมเฉลี่ยนคนละ 5 เล่ม
ปัญหาและข้อเสนอแนะ  มีข้อจำกัดของเวลา  ซึ่งบางครั้งการทำงานไม่ต่อเนื่อง