ชื่อโครงการ | โครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษาและการพัฒนาท้องถิ่นโดยมีสถาบันอุดมศึกษาเป็นพี่เลี้ยง |
ภายใต้องค์กร | เครือข่ายอุดมศึกษา |
รหัสโครงการ | |
วันที่อนุมัติ | 1 มีนาคม 2562 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 มีนาคม 2562 - 30 กันยายน 2562 |
งบประมาณ | 300,000.00 บาท |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | วิทยาลัยชุมชนสตูล |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นาย อัศวยุช เทศอาเส็น |
เบอร์โทรผู้รับผิดชอบโครงการ | 0850808816,0850808816 |
อีเมล์ผู้รับผิดชอบโครงการ | |
พี่เลี้ยงโครงการ | วิทยาลัยชุมชนสตูล และมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา |
พื้นที่ดำเนินการ | จังหวัดสตูล |
ละติจูด-ลองจิจูด | 6.6781622344253,100.0724029541place |
งวด | วันที่งวดโครงการ | วันที่งวดรายงาน | งบประมาณ (บาท) | |||
---|---|---|---|---|---|---|
จากวันที่ | ถึงวันที่ | จากวันที่ | ถึงวันที่ | |||
1 | 1 มี.ค. 2562 | 30 ก.ย. 2562 | 300,000.00 | |||
รวมงบประมาณ | 300,000.00 |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
เพื่อมุ่งสู่แผนพัฒนาการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560–2564) ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องต้องเข้ามามีส่วนร่วมอย่างเป็นระบบ โดยเฉพาะภาคอุดมศึกษาซึ่งประสานพลัง ขับเคลื่อนในรูปของเครือข่ายอุดมศึกษาภูมิภาค 9 เครือข่าย โดยมีสถาบันอุดมศึกษาสมาชิกกระจายทั่วทุกภูมิภาคและมีความพร้อมทั้งด้านความรู้และความเชี่ยวชาญทางวิชาการของบุคลากรและเทคโนโลยีที่จะให้บริการทางวิชาการแก่ชุมชนท้องถิ่นได้อย่างเป็นรูปธรรมเพื่อช่วยพัฒนาโรงเรียนให้ผลิตนักเรียนที่มีคุณภาพเข้าสู่ภาคอุดมศึกษาและเป็นทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณภาพสูงในการขับเคลื่อนประเทศไทยไปสู่ Thailand 4.0 มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลาและวิทยาลัยชุมชนสตูลร่วมดำเนินงานโครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษาและการพัฒนาท้องถิ่น โดยมีสถาบันอุดมศึกษาเป็นพี่เลี้ยงในพื้นที่จังหวัดสตูล ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2559 และในปีที่ผ่านมาในปีงบประมาณ 2560 มีการขยายการดำเนินงานโครงการไปยังพื้นที่และโรงเรียนที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ที่แตกต่างกัน 3 กลุ่มโรงเรียน คือ โรงเรียนที่ตั้งอยู่ในพื้นที่การท่องเที่ยว โรงเรียนตั้งอยู่ในเขตพื้นที่ชนบท และโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนในโครงการพระราชดำริฯ รวม 14 โรงเรียน และในปีงบประมาณ 2561 มีการดำเนินการโดยการนำศาสตร์พระราชสู่การพัฒนาคุณภาพการศึกษาและการพัฒนาท้องถิ่น เพื่อพัฒนาการศึกษาและพัฒนาท้องถิ่นให้บรรลุผลตามนโยบายและเป้าหมายแห่งรัฐ อันจะส่งผลให้สามารถยกระดับคุณภาพและมาตรฐานการศึกษา ตลอดจนศักยภาพของผู้เรียนของโรงเรียนเป้าหมายได้ตามมาตรฐานการศึกษาชาติและสอดคล้องกับนโยบายการพัฒนาการศึกษาและการพัฒนาประเทศ
แผนพัฒนาการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560–2564) ประกอบด้วย 6 ยุทธศาสตร์ คือ 1) พัฒนาหลักสูตรกระบวนการเรียนการสอนการวัดและประเมินผล 2) ผลิตพัฒนาครู คณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษา 3) ผลิตและพัฒนากำลังคนและงานวิจัยที่สอดคล้องกับความต้องการของการพัฒนาประเทศ 4) ขยายโอกาสการเข้าถึงบริการทางการศึกษาและการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต 5) ส่งเสริมและพัฒนาเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการศึกษา และ 6) พัฒนาการบริหารจัดการและส่งเสริมให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา โดยมีเป้าหมายเพื่อพัฒนาคนให้นำประเทศสู่ “ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน” ตามยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2560–2579)
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อสนับสนุนให้สถาบันอุดมศึกษาทำหน้าที่เป็น “พี่เลี้ยง” โดยทำงานร่วมกับโรงเรียน ชุมชน และหน่วยงานในพื้นที่ในการนำองค์ความรู้ ความเชี่ยวชาญ และเทคโนโลยีไปช่วยแก้ปัญหาและพัฒนาคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนในท้องถิ่นให้เกิดความเข้มแข็งและพัฒนาท้องถิ่นได้ตรงตามบริบทของชุมชน หลักสูตรมัคคุเทศก์น้อย จำนวน 1 หลักสูตร นักเรียนร่วมกิจกรรมหลักสูตรมัคคุเทศก์น้อย จำนวน 300 คน หลักสูตรทักษะด้านอาชีพ จำนวน 1 หลักสูตร นักเรียนร่วมกิจกรรมหลักสูตรทักษะด้านอาชีพ จำนวน 300 คน มีแหล่งเรียนรู้ใกล้โรงเรียน จำนวน 10 แหล่ง ครูเข้าร่วมกิจกรรมการพัฒนาความสามารถใช้ ICT เพื่อการศึกษา จำนวน 50 คน |
350.00 | |
2 | เพื่อให้สถาบันอุดมศึกษามีส่วนร่วมในการส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดการยกระดับคุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐานในภาพรวมของประเทศ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาอังกฤษของนักเรียนสูงขึ้น ร้อยละ 60 นักเรียนมีทักษะในการพัฒนาตนเองด้านอาชีพมากขึ้น ร้อยละ 60 นักเรียนมีความรู้เกี่ยวกับแหล่งเรียนรู้ใกล้โรงเรียนเพิ่มขึ้น ร้อยละ 60 ครูสามารถนำ ICT มาใช้ในการสอนเพิ่มขึ้น ร้อยละ 60 |
60.00 |
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวนที่วางไว้(คน) | จำนวนที่เข้าร่วม(คน) | |
---|---|---|---|
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด | 350 | ||
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวนที่วางไว้(คน) | จำนวนที่เข้าร่วม(คน) | |
จำนวนครูที่เข้าร่วมโครงการ | 50 | - | |
จำนวนนักเรียนเป้าหมาย | 300 | - |
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรม | 0 | 175,424.00 | 11 | 147,380.00 | |
10 พ.ค. 62 | โครงการย่อยที่ 1 โครงการบริหารจัดการโครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษาและการพัฒนาท้องถิ่น โดยมีสถาบัน อุดมศึกษา : วิทยาลัยชุมชนสตูลและมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลาเป็นพี่เลี้ยงจังหวัดสตูล | 0 | 8.00 | ✔ | 14,240.00 | |
24 พ.ค. 62 | โครงการย่อยที่ 2 โครงการบูรณาการความรู้สู่วิชาชีพพัฒนามัคคุเทศก์น้อยของท้องถิ่น กิจกรรมที่ 5 กิจกรรมประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมค่ายมัคคุเทศก์น้อยของชุมชน ครั้งที่ 1 | 0 | 1,450.00 | ✔ | 6,510.00 | |
11 มิ.ย. 62 | โครงการย่อยที่ 4 โครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้อุทยานธรณีโลกสตูลในโรงเรียน กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมประชุมระดมความคิด ตระหนักในหลักการ เป้าหมาย และร่วมบูรณาการ แผนการ ดำเนินงานและกลไก การบริหารจัดการโครงการในโรงเรียนที่จะดำเนินการเกี่ยวกับการพัฒนาแหล่งเรียนรู้อุทยา | 0 | 0.00 | ✔ | 7,870.00 | |
14 - 15 มิ.ย. 62 | โครงการย่อยที่ 5 โครงการพัฒนาทักษะการใช้ ICT เพื่อการศึกษาของครู กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมประชุม อบรมพัฒนาทักษะการใช้ ICT เพื่อการศึกษา | 0 | 36,000.00 | ✔ | 35,000.00 | |
14 มิ.ย. 62 | กิจกรรมการเรียนรู้ภาษาอังกฤษผ่านมัคคุเทศก์น้อยของท้องถิ่น | 0 | 0.00 | ✔ | 0.00 | |
18 มิ.ย. 62 | โครงการย่อยที่ 2 โครงการบูรณาการความรู้สู่วิชาชีพพัฒนามัคคุเทศก์น้อยของท้องถิ่น กิจกรรมที่ 5 กิจกรรมประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมค่ายมัคคุเทศก์น้อยของชุมชน ครั้งที่ 2 | 0 | 4,300.00 | ✔ | 4,300.00 | |
21 - 27 มิ.ย. 62 | โครงการย่อยที่ 3 โครงการพัฒนาทักษะด้านอาชีพให้กับนักเรียนในเขตอุทยานธรณีโลกสตูล กิจกรรมที่ 6 กิจกรรมฝึกอบรม หลักสูตรพัฒนาทักษะด้านอาชีพให้กับนักเรียนในเขตอุทยานธรณีโลกสตูล | 0 | 9.00 | ✔ | 9,200.00 | |
24 มิ.ย. 62 - 25 ก.ค. 62 | โครงการย่อยที่ 3 โครงการพัฒนาทักษะด้านอาชีพให้กับนักเรียนในเขตอุทยานธรณีโลกสตูล กิจกรรมที่ 7 กิจกรรม ติดตาม นิเทศแบบกัลยาณมิตรเพื่อพัฒนาสมรรถนะครูในการพัฒนาทักษะด้านอาชีพให้กับนักเรียนในเขตอุทยานธรณีโลกสตูล | 0 | 44.00 | ✔ | 44,000.00 | |
24 มิ.ย. 62 | โครงการย่อยที่ 4 โครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้อุทยานธรณีโลกสตูลในโรงเรียน กิจกรรมที่ 1 การประชุมระดมความคิด ตระหนักในหลักการเป้าหมายและร่วมบูรณาการแผนการดำเนินงานและกลไกการบริหารจัดการโครงการในโรงเรียนที่จะดำเนินการเกี่ยวกับการพัฒนาแหล่งเรียนรู้อุทยานธรณีโล | 0 | 3.00 | ✔ | 3,000.00 | |
6 ก.ค. 62 - 31 ส.ค. 62 | โครงการย่อยที่ 3 โครงการพัฒนาทักษะด้านอาชีพให้กับนักเรียนในเขตอุทยานธรณีโลกสตูล กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมประชุมระดมความคิด ตระหนักในหลักการ เป้าหมาย และร่วมบูรณาการ แผนการ ดำเนินงานและกลไก การบริหารจัดการโครงการในโรงเรียนที่จะดำเนินการ | 0 | 72.00 | ✔ | 13,800.00 | |
6 ก.ค. 62 - 31 ส.ค. 62 | โครงการย่อยที่ 4 โครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้อุทยานธรณีโลกสตูลในโรงเรียน กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมประชุมระดมความคิด ตระหนักในหลักการ เป้าหมาย และร่วมบูรณาการ แผนการ ดำเนินงานและกลไก การบริหารจัดการโครงการในโรงเรียนที่จะดำเนินการเกี่ยวกับการพัฒนาแหล่งเรียนรู้อุทยา | 0 | 38.00 | ✔ | 9,460.00 | |
27 - 28 ก.ย. 62 | โครงการย่อยที่ 2 โครงการบูรณาการความรู้สู่วิชาชีพพัฒนามัคคุเทศก์น้อยของท้องถิ่น กิจกรรมที่ 9 กิจกรรมจัดค่ายฝึกอบรม | 0 | 133,500.00 | - | ||
??/??/???? | 0 | 0.00 | - | |||
??/??/???? | 0 | 0.00 | - |
1) เครือข่ายความร่วมมือ ประกอบด้วย เครือข่ายสถาบันอุดมศึกษาภาคใต้ตอนล่างที่รับผิดชอบจังหวัดสตูล : วิทยาลัยชุมชนสตูล องค์กรทั้งภาครัฐ ท้องงถิ่นและเอกชน สามารถร่วมมือพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาและการพัฒนาท้องถิ่นได้ตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายของโครงการอย่างเหมาะสม สอดคล้องกับบริบทและความต้องการของโรงเรียนและชุมชน
2) คณาจารย์ บุคลากรของวิทยาลัยชุมชนสตูลร่วมกับคณะครู นักวิชาการ และนักปฏิบัติการในโรงเรียนและท้องถิ่น เป้าหมาย บูรณาการองค์ความรู้ วิชาการ นวัตกรรมการจัดการศึกษา ทักษะและความเชี่ยวชาญด้านกระบวนการจัดการเรียนการสอนสู่การปฏิบัติจริง เสริมสร้างครูผู้สอนให้มีศักยภาพ รวมทั้งเพิ่มพูนศักยภาพ ประสบการณ์แก่คณาจารย์สถาบันอุดมศึกษาและนักวิชาการในท้องถิ่น ทำให้สามารถร่วมยกระดับคุณภาพการศึกษาได้ตามเป้าหมายและเสริมสร้างความตระหนักในความรับผิดชอบต่อสังคม มีบทบาทในการแก้ไขปัญหาการศึกษา การพัฒนาโรงเรียนและชุมชน
3) ผู้บริหาร คณะครู และโรงเรียนเป้าหมายมีความเข้มแข็งทางวิชาการ มีระบบ กลไก สามารถออกแบบการพัฒนาการจัดการเรียนรู้และฝึกทักษะด้านภาษาอังกฤษ และเรียนรู้และฝึกทักษะพัฒนาอาชีพ ตามมาตรฐานหลักสูตรที่เหมาะสมและสอดคล้องกับสภาพชุมชน
4) ครูผู้สอนที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนานักเรียนด้านภาษาอังกฤษ และด้านทักษะพัฒนาอาชีพ จำนวนไม่ต่ำกว่าร้อยละ 80 มีทักษะในการออกแบบการจัดการเรียนรู้และมีพฤติกรรมการจัดการเรียนรู้ผ่านเกณฑ์ในระดับดี (ร้อยละ 70)
5) ผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้สอน และนักเรียนที่เข้าร่วมโครงการอย่างน้อยร้อยละ 80 มีความพึงพอใจทางบวกต่อการดำเนินโครงการในระดับมาก (3.50) ขึ้นไปจากระดับการประเมิน 5 ระดับ
6) นักเรียนมีผลการเรียนประเมินด้านทักษะภาษาอังกฤษ และด้านทักษะพัฒนาอาชีพ หลังการเข้าร่วมกิจกรรมสูงกว่าก่อนเข้าร่วมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 1 ก.พ. 2562 10:28 น.