แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์
รายงานฉบับสมบูรณ์
เครือข่ายอุดมศึกษา
“ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา:การสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพครูสู่การพัฒนาผู้เรียน จังหวัดสตูล ”
จังหวัดสตูล
หัวหน้าโครงการ
อาจารย์วรรณี กองพิธี
ชื่อโครงการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา:การสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพครูสู่การพัฒนาผู้เรียน จังหวัดสตูล
ที่อยู่ จังหวัดสตูล จังหวัด สตูล
รหัสโครงการ เลขที่ข้อตกลง
ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 1 เมษายน 2562 ถึง 31 สิงหาคม 2562
กิตติกรรมประกาศ
"มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา:การสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพครูสู่การพัฒนาผู้เรียน จังหวัดสตูล จังหวัดสตูล" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน จังหวัดสตูล
คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ เครือข่ายอุดมศึกษา ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป
คณะทำงานโครงการ
มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา:การสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพครูสู่การพัฒนาผู้เรียน จังหวัดสตูล
บทคัดย่อ
โครงการ " มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา:การสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพครูสู่การพัฒนาผู้เรียน จังหวัดสตูล " ดำเนินการในพื้นที่ จังหวัดสตูล รหัสโครงการ ระยะเวลาการดำเนินงาน 1 เมษายน 2562 - 31 สิงหาคม 2562 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 240,000.00 บาท จาก เครือข่ายอุดมศึกษา เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 0 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้
โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ
หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"
สารบัญ
กิตติกรรมประกาศ
บทคัดย่อ
ความเป็นมา/หลักการเหตุผล
วัตถุประสงค์โครงการ
กิจกรรม/การดำเนินงาน
กลุ่มเป้าหมาย
ผลลัพธ์ที่ได้
การประเมินผล
ปัญหาและอุปสรรค
ข้อเสนอแนะ
เอกสารประกอบอื่นๆ
ความเป็นมา/หลักการเหตุผล
มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลาและวิทยาลัยชุมชนสตูล ได้ร่วมรับผิดชอบดำเนินการโครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษาและการพัฒนาท้องถิ่นโดยมีสถาบันอุดมศึกษาเป็นพี่เลี้ยงในพื้นที่จังหวัดสตูล มาตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 เพื่อสนองนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ ที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการในขณะนั้น กำหนดเป็นนโยบายสำคัญพร้อมมอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษาขับเคลื่อนผ่านเครือข่ายอุดมศึกษาภูมิภาคที่กระจายอยู่ทั่วประเทศ ประสานนโยบายให้สถาบันอุดมศึกษาประสานความร่วมมือกับทุกภาคส่วน ดำเนินพันธกิจของอุดมศึกษา ด้านการบริการวิชาการในบทบาทพี่เลี้ยงของโรงเรียนและชุมชน นำความพร้อมด้านองค์ความรู้ ความเชี่ยวชาญทางวิชาการ เทคโนโลยีและนวัตกรรมของสถาบันอุดมศึกษา ร่วมแก้ปัญหาการศึกษา การพัฒนาชาติ ยกระดับคุณภาพการจัดการศึกษา ให้โรงเรียนสามารถพัฒนาคน ให้เป็นพลังพัฒนาประเทศไปในทิศทางเดียวกัน ต่อมาได้มีการจัดสรรงบประมาณดำเนินการอย่างต่อเนื่อง ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2560 และในปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 โดยให้แต่ละกลุ่มสถาบัน ขยายจำนวนโรงเรียนเป้าหมาย ซึ่งกลุ่มมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลาและวิทยาลัยชุมชนสตูล ได้ขยายโรงเรียนเป้าหมายในแต่ละปีงบประมาณ จากจำนวน 2 โรงเรียนนำร่อง ในปีงบประมาณ 2559 เป็นจำนวน 14 โรงเรียน และจำนวน 34 โรงเรียน ในปีงบประมาณ 2560 และ 2561 ตามลำดับกำหนดแนวทางและเป้าหมายที่สอดคล้องกับแผนพัฒนาการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 – พ.ศ. 2564) เพื่อช่วยพัฒนาโรงเรียนประถมศึกษา ให้มีความเข้มแข็งทางวิชาการ ที่สามารถผลิตนักเรียนที่มีคุณภาพเข้าสู่ภาคอุดมศึกษา และเป็นทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณภาพ สามารถพัฒนาคุณภาพชีวิตและขับเคลื่อนประเทศไทยไปสู่ Thailand 4.0 ตามนโยบายของรัฐบาล สามารถนำประเทศไปสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน ตามยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2560 – พ.ศ. 2579)
การดำเนินงานโครงการของมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลาและวิทยาลัยชุมชนสตูลมุ่งดำเนินงานให้บรรลุเป้าหมาย การร่วมสร้างความเข้มแข็งทางวิชาการ ยกระดับคุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐานและการพัฒนาท้องถิ่นอย่างสอดคล้องกับบริบทชุมชนจังหวัดสตูล ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 นับเป็นปีที่ 4 ของการดำเนินงานโครงการฯ ซึ่งนอกเหนือจากการกำหนดให้ดำเนินกิจกรรมพัฒนาที่สอดคล้องกับแนวนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ สนองความต้องการร่วมกันของโรงเรียนและสถาบันอุดมศึกษา โดยเฉพาะสามารถส่งผลให้โรงเรียนเกิดการเปลี่ยนแปลงด้านคุณภาพการศึกษาอย่างรวดเร็ว หรือเห็นผลอย่างเป็นรูปธรรม
แนวคิดการนำกระบวนการสร้างชุมชนแห่งวิชาชีพ (PLC) นับเป็นแนวทางหนึ่งที่ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงที่ต้องการ เสริมส่งบทบาทความเป็นนักเรียนรู้ทั้งครูและนักเรียน เป็นการสร้างกลุ่ม“เพื่อนร่วมวิชาชีพ” อันเป็นกัลยาณมิตร รวมพลังเรียนรู้ ช่วยเหลือ แนะนำ ให้กำลังใจ และสะท้อนผลการปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง เป็นระบบ สามารถนำสู่เป้าหมายหลัก การปรับปรุง พัฒนาการจัดการเรียนการสอนของครู ไปพร้อมกับการเรียนรู้และพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ของผู้เรียน การดำเนินงานโครงการพัฒนาในปีงบประมาณ 2562 มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลาจึงดำเนินการขับเคลื่อนกระบวนการสร้างชุมชนทางการเรียนรู้ PLCสู่สถานศึกษาที่เน้นการยกระดับคุณภาพการศึกษา ในกลุ่มสาระภาษาไทยและภาษาอังกฤษและกิจกรรมบูรณาการวิชาการสู่วิชาชีพ เพื่อรองรับความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจและสังคม โดยเฉพาะการพัฒนาจังหวัดสตูลสู่การเป็นเมืองทางการศึกษาและเป็นเมืองท่องเที่ยวในระดับภูมิภาคและระดับโลกต่อไป โดยมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลาและวิทยาลัยชุมชนสตูลรับผิดชอบเป็นสถาบันอุดมศึกษาหลักในแต่ละโครงการพร้อมทั้งการบริหารจัดการโครงการและงบประมาณโดยมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลารับผิดชอบการเป็นสถาบันอุดมศึกษาหลักในโครงการ/กิจกรรมการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ส่วนวิทยาลัยชุมชนสตูลรับผิดชอบโครงการ/กิจกรรมการบริการทางวิชาการสู่วิชาชีพ พร้อมร่วมประสานการดำเนินงานการพัฒนา เพื่อไปสู่เป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลต่อไป
สถานการณ์
วัตถุประสงค์โครงการ
- เพื่อแก้ปัญหาและพัฒนาคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนเป้าหมายให้เกิดความเข้มแข็งและพัฒนาท้องถิ่นได้ตรงตามบริบทของชุมชนโดยการพัฒนาคุณภาพครูผู้สอนภาษาไทยและภาษาอังกฤษ โดยกระบวนการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC)
- เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดการยกระดับผลสัมฤทธิ์ด้านภาษาไทยและภาษาอังกฤษและเน้นคุณลักษณะที่ชุมชนต้องการของโรงเรียนเป้าหมาย
กิจกรรม/การดำเนินงาน
- กิจกรรมที่ 1 ประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่อง ศึกษาข้อกำหนดโครงการ นโยบาย หลักการ เป้าหมายสาระสำคัญของโครงการและศึกษารวบรวม จัดทำฐานข้อมูลที่สำคัญและเกี่ยวข้อง
- กิจกรรมที่ 2 ประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่อง วางแผนการดำเนินงาน/ปรับแผนการดำเนินโครงการ
- กิจกรรมที่ 3 ประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่อง การสร้างความร่วมมือ และร่วมกำหนดกลไกการดำเนินงานร่วมกับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสตูล
- กิจกรรมที่ 4 ประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่อง การกำหนดรูปแบบการดำเนิงานการขับเคลื่อนการะบวนการ PLC สู่สถานศึกษา ร่วมกับศึกษานิเทศก์ผู้เชี่ยวชาญวิชาภาษาไทย และภาษาอังกฤษ เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสตูล
- กิจกรรมที่ 5.1 ประชุมเชิงปฏิบัติdkiระดับ Core Team เพื่อกำหนดกลไกและกิจกรรมการนำกระบวนการ PLC สู่สถานศึกษาตามแผนงานโครงการ
- กิจกรรมที่ 5.2 ประชุมเชิงปฏิบัติการ Core Team : เตรียมการการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อขับเคลื่อนกระบวนการ PLC สู่สถานศึกษาและชั้นเรียน และตั้งกรรมการ PLC ระดับสถานศึกษา
- กิจกรรมที่ 6 อบรมเชิงปฏิบัติการ และการสร้างความรู้ ความเข้าใจ การจัดการเรียนรู้โดยกระบวนการ PLC การจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 (Active Learning) การจัดทำแผนการเรียนรู้สู่สถานศึกษา และการนำแผนการจัดการเรียนรู้สู่ชั้นเรียน
- กิจกรรมที่ 8 ประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่อง การนำแผนการปฏิบัติการเรียนรู้กระบวนการ PLC สู่สถานศึกษา สู่ชั้นเรียน และการนิเทศ ติดตาม และการประเมินผล และการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน (จากการติดตามผลการนิเทศช่วงที่ 1)
- กิจกรรมที่ 7 ประชุมเชิงปฏิบัติการ Core Team : วางแผน กำหนด การติดตาม ประเมินผล การนิเทศอย่างกัลยาณมิตร และสร้างพลัง แรงจูงใจ สาระวิชาภาษาไทย และภาษาอังกฤษ
- กิจกรรมที่ 7.1 กิจกรรมการติดตาม ประเมินผล และการนิเทศอย่างกัลยาณมิตร สร้างพลังและแรงจูงใจ (ช่วงที่ 1 จำนวน 5 ครั้ง)
- กิจกรรมที่ 8.1 กิจกรรมการติดตาม ประเมินผล และการนิเทศอย่างกัลยาณมิตร
- กิจกรรมที่ 9 ประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่อง การนำกระบวนการ PLC สู่สถานศึกษาและ จัดนิทรรศการทางวิชาการ Mini Show And Share เพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และถอดบทเรียนร่วมกัน และมอบเกียรติบัตรยกย่องเชิดชูเกียรติ การขับเคลื่อน PLC สู่สถานศึกษา
- กิจกรรมที่ 10 ประชุมเชิงปฏิบัติการคณะกรรมการ Core Team เพื่อร่วมสรุปโครงการถอดบทเรียนและจัดทำรายงานเผยแพร่ ในวันที่ 18 ธันวาคม 2562
- กิจกรรมที่ 11 ประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่อง การดำเนินงานจัดทำเอกสารรายงานโครงการและสรุปรายงานการวิจัย
กลุ่มเป้าหมาย
กลุ่มเป้าหมาย จำนวนที่วางไว้
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
โรงเรียนสามารถใช้กระบวนการ PLC ในการขับเคลื่อนพัฒนาครูได้
ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน
วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ ผลผลิต* ผลผลิตที่ตั้งไว้ ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง
1. กิจกรรมที่ 1 ประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่อง ศึกษาข้อกำหนดโครงการ นโยบาย หลักการ เป้าหมายสาระสำคัญของโครงการและศึกษารวบรวม จัดทำฐานข้อมูลที่สำคัญและเกี่ยวข้อง
วันที่ 19 เมษายน 2562กิจกรรมที่ทำ
08.00 น. – 08.30 น. -ลงทะเบียน
08.30 น. – 12.00 น. -ประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่อง การศึกษาข้อกำหนดโครงการ นโยบาย หลักการ เป้าหมายสาระสำคัญของโครงการและศึกษารวบรวม จัดทำฐานข้อมูลที่สำคัญและเกี่ยวข้อง
12.00 น. – 13.00 น. -พักรับประทานอาหารกลางวัน
13.00 น. – 16.00 น. -(ต่อ) ประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่อง การศึกษาข้อกำหนดโครงการ นโยบาย หลักการ เป้าหมายสาระสำคัญของโครงการและศึกษารวบรวม จัดทำฐานข้อมูลที่สำคัญและเกี่ยวข้อง
16.00 น. – 16.30 น. -สรุปผลการประชุม
1. ร่วมกำหนดแผนการดำเนินงานรายต่อไป
2. มอบหมายความรับผิดชอบ
3. ปิดการประชุม
นายนภดล ยิ่งยงสกุล ศึกษานิเทศก์ชำนาญการพิเศษ
คณะศึกษานิเทศก์ สพป. สตูล
ศึกษานิเทศก์ศุภวัลย์ ชูมี
ศึกษานิเทศก์อับดลรอหมาน ปะดูกา
คณะวิทยากร
คณาจารย์จากมหาวิทยาลัยพี่เลี้ยง มรภ.สงขลา
อาจารย์สมสวาท เจริญฤทธิ์
ผู้ช่วยศาสตราจารย์เพียงใจ ผลโภค
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ยุพดี ธรรมชาติ
อาจารย์เอื้อนจิต สัมมา
อาจารย์เสริมศรี ฤทธาภิรมย์
อาจารย์วรรณี กองพิธี
อาจารย์หทัยรัตน์ ศรีชัยชนะ
อาจารย์ ดร.ฤทัยวรรณ บุญครองชีพ
อาจารย์ ดร.กุลพัฒน์ ยิ่งดำนุ่น
อาจารย์วิไลลักษณ์ ทองช่วย (วิทยาลัยชุมชนสตูล)
ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น
ได้ข้อกำหนดโครงการ นโยบาย หลักการ เป้าหมายสาระสำคัญของโครงการและศึกษารวบรวม จัดทำฐานข้อมูลที่สำคัญและเกี่ยวข้องร่วมกัน
12
0
2. กิจกรรมที่ 2 ประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่อง วางแผนการดำเนินงาน/ปรับแผนการดำเนินโครงการ
วันที่ 20 เมษายน 2562กิจกรรมที่ทำ
08.00 น. – 08.30 น. -ลงทะเบียน
08.30 น. – 12.00 น. -ประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่อง การวางแผน/ปรับแผนการดำเนินงานโครงการ
12.00 น. – 13.00 น. -พักรับประทานอาหารกลางวัน
13.00 น. – 16.00 น. -(ต่อ) ประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่อง การวางแผน/ปรับแผนการดำเนินงานโครงการ
16.00 น. – 16.30 น. -สรุปผลการประชุม
1. ร่วมกำหนดแผนการดำเนินงานรายต่อไป
2. มอบหมายความรับผิดชอบ
3. ปิดการประชุม
นายนภดล ยิ่งยงสกุล ศึกษานิเทศก์ชำนาญการพิเศษ
คณะศึกษานิเทศก์ สพป. สตูล
ศึกษานิเทศก์ศุภวัลย์ ชูมี
ศึกษานิเทศก์อับดลรอหมาน ปะดูกา
คณะวิทยากร
คณาจารย์จากมหาวิทยาลัยพี่เลี้ยง มรภ.สงขลา
อาจารย์สมสวาท เจริญฤทธิ์
ผู้ช่วยศาสตราจารย์เพียงใจ ผลโภค
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ยุพดี ธรรมชาติ
อาจารย์เอื้อนจิต สัมมา
อาจารย์เสริมศรี ฤทธาภิรมย์
อาจารย์วรรณี กองพิธี
อาจารย์หทัยรัตน์ ศรีชัยชนะ
อาจารย์ ดร.ฤทัยวรรณ บุญครองชีพ
อาจารย์ ดร.กุลพัฒน์ ยิ่งดำนุ่น
อาจารย์วิไลลักษณ์ ทองช่วย (วิทยาลัยชุมชนสตูล)
ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น
จากการศึกษาข้อกำหนดโครงการ นโยบาย หลักการ เป้าหมายสาระสำคัญของโครงการและการศึกษารวบรวม จัดทำฐานข้อมูลที่สำคัญและเกี่ยวข้อง ร่วมกัน ประกอบด้วย คณะทำงานจากมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา และวิทยาลัยชุมชนสตูล ศึกษานิเทศก์ภาษาไทย และภาษาอังกฤษ จากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสตูล อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล สามารถกำหนดแผนงาน และปรับเปลี่ยนแผนงานเดิมของคณะทำงานได้สอดคล้องกับกลุ่มเป้าหมายทั้ง 10 โรงเรียนได้มากขึ้น
12
0
3. กิจกรรมที่ 3 ประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่อง การสร้างความร่วมมือ และร่วมกำหนดกลไกการดำเนินงานร่วมกับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสตูล
วันที่ 21 เมษายน 2562กิจกรรมที่ทำ
08.00 น. – 08.30 น. -ลงทะเบียน
08.30 น. – 12.00 น. -ประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่อง ร่วมสร้างความร่วมมือและร่วมกำหนดกลไก
การดำเนินงานร่วมกับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสตูล
12.00 น. – 13.00 น. -พักรับประทานอาหารกลางวัน
13.00 น. – 16.00 น. -(ต่อ) ประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่อง ร่วมสร้างความร่วมมือและร่วมกำหนดกลไกการดำเนินงานร่วมกับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสตูล
16.00 น. – 16.30 น. -สรุปผลการประชุม
1. ร่วมกำหนดแผนการดำเนินงานรายต่อไป
2. มอบหมายความรับผิดชอบ
3. ปิดการประชุม
นายนภดล ยิ่งยงสกุล ศึกษานิเทศก์ชำนาญการพิเศษ
คณะศึกษานิเทศก์ สพป. สตูล
ศึกษานิเทศก์ศุภวัลย์ ชูมี
ศึกษานิเทศก์อับดลรอหมาน ปะดูกา
คณะวิทยากร
คณาจารย์จากมหาวิทยาลัยพี่เลี้ยง มรภ.สงขลา
อาจารย์สมสวาท เจริญฤทธิ์
ผู้ช่วยศาสตราจารย์เพียงใจ ผลโภค
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ยุพดี ธรรมชาติ
อาจารย์เอื้อนจิต สัมมา
อาจารย์เสริมศรี ฤทธาภิรมย์
อาจารย์วรรณี กองพิธี
อาจารย์หทัยรัตน์ ศรีชัยชนะ
อาจารย์ ดร.ฤทัยวรรณ บุญครองชีพ
อาจารย์ ดร.กุลพัฒน์ ยิ่งดำนุ่น
อาจารย์วิไลลักษณ์ ทองช่วย (วิทยาลัยชุมชนสตูล)
ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น
เมื่อทางคณะทำงานจากมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา และวิทยาลัยชุมชนสตูล ศึกษานิเทศก์ภาษาไทย และภาษาอังกฤษ จากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสตูล อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล ได้ปรับแผนงานโครงการให้ตอบโจทย์ได้มากที่สุดแล้ว ในกระบวนการประชุมเชิงปฏิบัติการ สร้างความร่วมมือ ทางคณะทำงานได้เชิญผู้อำนวยการ คณะครูภาษาไทย และภาษาอังกฤษที่เกี่ยวข้อง จำนวน 10 โรงเรียน ประกอบด้วย
1. โรงเรียนอนุบาลท่าแพ
2. โรงเรียนบ้านสาครเหนือ
3. โรงเรียนบ้านอุบังปะโหลด
4. โรงเรียนบ้านสาคร
5. โรงเรียนบ้านทุ่งดินลุ่ม
6. โรงเรียนบ้านน้ำหรา
7. โรงเรียนบ้านทุ่งตำเสา
8. โรงเรียนบ้านทุ่งเสม็ด
มาร่วมกันกำหนดกลไกการดำเนินงานร่วมกับทางคณะทำงานใรครั้งนี้
18
0
4. กิจกรรมที่ 4 ประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่อง การกำหนดรูปแบบการดำเนิงานการขับเคลื่อนการะบวนการ PLC สู่สถานศึกษา ร่วมกับศึกษานิเทศก์ผู้เชี่ยวชาญวิชาภาษาไทย และภาษาอังกฤษ เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสตูล
วันที่ 22 เมษายน 2562กิจกรรมที่ทำ
08.00 น. – 08.30 น. -ลงทะเบียน
08.30 น. – 12.00 น. -ประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่อง การสร้างความรู้ ความเข้าใจ ร่วมกำหนดกิจกรรม การดำเนินงานร่วมกับศึกษานิเทศก์ผู้เชี่ยวชาญวิชาภาษาไทยและวิชาภาษาอังกฤษ เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสตูล
12.00 น. – 13.00 น. -พักรับประทานอาหารกลางวัน
13.00 น. – 16.00 น. -(ต่อ) ประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่อง การสร้างความรู้ ความเข้าใจ ร่วมกำหนดกิจกรรม การดำเนินงานร่วมกับศึกษานิเทศก์ผู้เชี่ยวชาญวิชาภาษาไทยและวิชาภาษาอังกฤษ เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสตูล
16.00 น. – 16.30 น. -สรุปผลการประชุม
1. ร่วมกำหนดแผนการดำเนินงานรายต่อไป
2. มอบหมายความรับผิดชอบ
3. ปิดการประชุม
นายนภดล ยิ่งยงสกุล ศึกษานิเทศก์ชำนาญการพิเศษ
คณะศึกษานิเทศก์ สพป. สตูล
ศึกษานิเทศก์ศุภวัลย์ ชูมี
ศึกษานิเทศก์อับดลรอหมาน ปะดูกา
คณะวิทยากร
คณาจารย์จากมหาวิทยาลัยพี่เลี้ยง มรภ.สงขลา
อาจารย์สมสวาท เจริญฤทธิ์
ผู้ช่วยศาสตราจารย์เพียงใจ ผลโภค
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ยุพดี ธรรมชาติ
อาจารย์เอื้อนจิต สัมมา
อาจารย์เสริมศรี ฤทธาภิรมย์
อาจารย์วรรณี กองพิธี
อาจารย์หทัยรัตน์ ศรีชัยชนะ
อาจารย์ ดร.ฤทัยวรรณ บุญครองชีพ
อาจารย์ ดร.กุลพัฒน์ ยิ่งดำนุ่น
อาจารย์วิไลลักษณ์ ทองช่วย (วิทยาลัยชุมชนสตูล)
ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น
คณะทำงานจากมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา และวิทยาลัยชุมชนสตูล ศึกษานิเทศก์ภาษาไทย และภาษาอังกฤษ จากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสตูล อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล ผู้อำนวยการ คณะครูภาษาไทย และภาษาอังกฤษที่เกี่ยวข้อง จำนวน 10 โรงเรียน ประกอบด้วย
1. โรงเรียนอนุบาลท่าแพ
2. โรงเรียนบ้านสาครเหนือ
3. โรงเรียนบ้านอุบังปะโหลด
4. โรงเรียนบ้านสาคร
5. โรงเรียนบ้านทุ่งดินลุ่ม
6. โรงเรียนบ้านน้ำหรา
7. โรงเรียนบ้านทุ่งตำเสา
8. โรงเรียนบ้านทุ่งเสม็ด
9. โรงเรียนบ้านทุ่งนุ้ย
10. โรงเรียนบ้านบ่อหิน
ร่วมกันกำหนดรูปแบบกิจกรรมการดำเนินงานให้เป็นรูปธรรมมากขึ้น ในการขับเคลื่อน PLC สู่สถานศึกษา โดยมีศึกษานิเทศก์ผู้เชี่ยวชาญภาษาไทย และภาษาอังกฤษ เป็นคนะวิทยากรในกิจกรรมครั้งนี้
18
0
5. กิจกรรมที่ 5.1 ประชุมเชิงปฏิบัติdkiระดับ Core Team เพื่อกำหนดกลไกและกิจกรรมการนำกระบวนการ PLC สู่สถานศึกษาตามแผนงานโครงการ
วันที่ 23 เมษายน 2562กิจกรรมที่ทำ
08.00 น. – 08.30 น. -ลงทะเบียน
08.30 น. – 12.00 น. -ประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่อง การแต่งตั้งกรรมการขับเคลื่อน PLC ระดับเครือข่าย สร้างความเข้าใจ กำหนดกลไกการดำเนินงาน ร่วมกัน (สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสตูล ศึกษานิเทศก์วิชาภาษาไทยและวิชาภาษาอังกฤษ ผู้อำนวยการโรงเรียน และคณะดำเนินโครงการ
(กรรมการ Core Team ครั้งที่ 1)
12.00 น. – 13.00 น. -พักรับประทานอาหารกลางวัน
13.00 น. – 16.00 น. -(ต่อ) ประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่อง การแต่งตั้งกรรมการขับเคลื่อน PLC ระดับเครือข่าย สร้างความเข้าใจ กำหนดกลไกการดำเนินงาน ร่วมกัน (สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสตูล ศึกษานิเทศก์วิชาภาษาไทยและวิชาภาษาอังกฤษ ผู้อำนวยการโรงเรียน และคณะดำเนินโครงการ
(กรรมการ Core Team ครั้งที่ 1)
16.00 น. – 16.30 น. -สรุปผลการประชุม
1. ร่วมกำหนดแผนการดำเนินงานรายต่อไป
2. มอบหมายความรับผิดชอบ
3. ปิดการประชุม
นายนภดล ยิ่งยงสกุล ศึกษานิเทศก์ชำนาญการพิเศษ
คณะศึกษานิเทศก์ สพป. สตูล
ศึกษานิเทศก์ศุภวัลย์ ชูมี
ศึกษานิเทศก์อับดลรอหมาน ปะดูกา
คณะวิทยากร
คณาจารย์จากมหาวิทยาลัยพี่เลี้ยง มรภ.สงขลา
อาจารย์สมสวาท เจริญฤทธิ์
ผู้ช่วยศาสตราจารย์เพียงใจ ผลโภค
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ยุพดี ธรรมชาติ
อาจารย์เอื้อนจิต สัมมา
อาจารย์เสริมศรี ฤทธาภิรมย์
อาจารย์วรรณี กองพิธี
อาจารย์หทัยรัตน์ ศรีชัยชนะ
อาจารย์ ดร.ฤทัยวรรณ บุญครองชีพ
อาจารย์ ดร.กุลพัฒน์ ยิ่งดำนุ่น
อาจารย์วิไลลักษณ์ ทองช่วย (วิทยาลัยชุมชนสตูล)
ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น
กำหนดทิศทางการทำงานในระดับ Core Team ให้เป็นไปตามแผนกิจกรรมตามโครงการ
30
0
6. กิจกรรมที่ 5.2 ประชุมเชิงปฏิบัติการ Core Team : เตรียมการการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อขับเคลื่อนกระบวนการ PLC สู่สถานศึกษาและชั้นเรียน และตั้งกรรมการ PLC ระดับสถานศึกษา
วันที่ 24 เมษายน 2562กิจกรรมที่ทำ
08.00 น. – 08.30 น. -ลงทะเบียน
08.30 น. – 12.00 น. -ประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่อง เตรียมการการจัดอบรมการอบรมเชิงปฏิบัติการ
เพื่อการขับเคลื่อนกระบวนการ PLC สู่สถานศึกษาและชั้นเรียน และตั้งกรรมการ PLC ระดับสถานศึกษา (สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสตูล ศึกษานิเทศก์วิชาภาษาไทยและวิชาภาษาอังกฤษ ผู้อำนวยการโรงเรียน และคณะดำเนินโครงการ
(กรรมการ Core Team ครั้งที่ 1)
12.00 น. – 13.00 น. -พักรับประทานอาหารกลางวัน
13.00 น. – 16.00 น. -(ต่อ) ประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่อง เตรียมการการจัดอบรมการอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อการขับเคลื่อนกระบวนการ PLC สู่สถานศึกษาและชั้นเรียน และตั้งกรรมการ PLC ระดับสถานศึกษา (สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสตูล ศึกษานิเทศก์วิชาภาษาไทยและวิชาภาษาอังกฤษ ผู้อำนวยการโรงเรียน และคณะดำเนินโครงการ
(กรรมการ Core Team ครั้งที่ 1)
16.00 น. – 16.30 น. -สรุปผลการประชุม
1. ร่วมกำหนดแผนการดำเนินงานรายต่อไป
2. มอบหมายความรับผิดชอบ
3. ปิดการประชุม
นายนภดล ยิ่งยงสกุล ศึกษานิเทศก์ชำนาญการพิเศษ
คณะศึกษานิเทศก์ สพป. สตูล
ศึกษานิเทศก์ศุภวัลย์ ชูมี
ศึกษานิเทศก์อับดลรอหมาน ปะดูกา
คณะวิทยากร
คณาจารย์จากมหาวิทยาลัยพี่เลี้ยง มรภ.สงขลา
อาจารย์สมสวาท เจริญฤทธิ์
ผู้ช่วยศาสตราจารย์เพียงใจ ผลโภค
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ยุพดี ธรรมชาติ
อาจารย์เอื้อนจิต สัมมา
อาจารย์เสริมศรี ฤทธาภิรมย์
อาจารย์วรรณี กองพิธี
อาจารย์หทัยรัตน์ ศรีชัยชนะ
อาจารย์ ดร.ฤทัยวรรณ บุญครองชีพ
อาจารย์ ดร.กุลพัฒน์ ยิ่งดำนุ่น
อาจารย์วิไลลักษณ์ ทองช่วย (วิทยาลัยชุมชนสตูล)
ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น
เป็นกิจกรรมประชุมเชิงปฏิบัติการ Core Team เพื่อเตรียทการในการอบรมเชิงปฏิบัติงาน การขับเคลื่อนกระบวนการ PLC สู่สถานศึกษา โดยการกำหนดแนวทางร่วมกัน เป้าหมายในการอบรมเชิงปฏิบัติการ รวมทั้งกระบวนการอื่นๆ ตลอดกระบวนการ
30
0
7. กิจกรรมที่ 6 อบรมเชิงปฏิบัติการ และการสร้างความรู้ ความเข้าใจ การจัดการเรียนรู้โดยกระบวนการ PLC การจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 (Active Learning) การจัดทำแผนการเรียนรู้สู่สถานศึกษา และการนำแผนการจัดการเรียนรู้สู่ชั้นเรียน
วันที่ 8 พฤษภาคม 2562กิจกรรมที่ทำ
โครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษาและการพัฒนาท้องถิ่นโดยมีสถาบันอุดมศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลาและวิทยาลัยชุมชนสตูลเป็นพี่เลี้ยง :
การสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพครูสู่การพัฒนาผู้เรียน จังหวัดสตูล กิจกรรมที่ 6 อบรมเชิงปฏิบัติการ และการสร้างความรู้ ความเข้าใจ
การจัดการเรียนรู้ โดยกระบวนการ PLC การจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 (Active Learning) การจัดทำแผนการเรียนรู้สู่สถานศึกษา
และการนำแผนการจัดการเรียนรู้สู่ชั้นเรียน ในวันที่ 8-10 พฤษภาคม 2562 เวลา 08.30–16.30 น. ณ ห้องกาหลง วิทยาลัยชุมชนสตูล
อำเภอเมือง จังหวัดสตูล โดย
นายนภดล ยิ่งยงสกุล ศึกษานิเทศก์ชำนาญการพิเศษ
คณะศึกษานิเทศก์ สพป. สตูล
ศึกษานิเทศก์ศุภวัลย์ ชูมี
ศึกษานิเทศก์อับดลรอหมาน ปะดูกา
คณะวิทยากร
คณาจารย์จากมหาวิทยาลัยพี่เลี้ยง มรภ.สงขลา
อาจารย์สมสวาท เจริญฤทธิ์
ผู้ช่วยศาสตราจารย์เพียงใจ ผลโภค
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ยุพดี ธรรมชาติ
อาจารย์เอื้อนจิต สัมมา
อาจารย์เสริมศรี ฤทธาภิรมย์
อาจารย์วรรณี กองพิธี
อาจารย์หทัยรัตน์ ศรีชัยชนะ
อาจารย์ ดร.ฤทัยวรรณ บุญครองชีพ
อาจารย์ ดร.กุลพัฒน์ ยิ่งดำนุ่น
อาจารย์วิไลลักษณ์ ทองช่วย (วิทยาลัยชุมชนสตูล)
วันที่ 8 พฤษภาคม 2562
08.00 น. – 08.30 น. - ลงทะเบียน
08.30 น. – 09.00 น. - พิธีเปิด โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นิวัต กลิ่นงามอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา
09.00 น. – 11.00 น. - บรรยาย กิจกรรมเชิงปฏิบัติการกระบวนการกลุ่ม collaborative learning วิทยากร โดย อาจารย์วรรณี กองพิธี
11.00 น. – 12.00 น. ฝึกปฏิบัติการเรื่อง อบรมเชิงปฏิบัติการ Active learning วิทยากร โดย
กลุ่มที่ 1 ผู้ช่วยศาสตราจารย์เพียงใจ ผลโภค และคณะวิทยากร
กลุ่มที่ 2 อาจารย์ ดร.ฤทัยวรรณ บุญครองชีพ และคณะวิทยากร
กลุ่มที่ 3 อาจารย์วรรณี กองพิธี และคณะวิทยากร
กลุ่มที่ 4 อาจารย์หทัยรัตน์ ศรีชัยชนะ และคณะวิทยากร
13.00 น. – 16.00 น. (ต่อ) ฝึกปฏิบัติการเรื่อง อบรมเชิงปฏิบัติการ Active learning
วิทยากร โดย
กลุ่มที่ 1 ผู้ช่วยศาสตราจารย์เพียงใจ ผลโภค และคณะวิทยากร
กลุ่มที่ 2 อาจารย์ ดร.ฤทัยวรรณ บุญครองชีพ และคณะวิทยากร
กลุ่มที่ 3 อาจารย์วรรณี กองพิธี และคณะวิทยากร
กลุ่มที่ 4 อาจารย์หทัยรัตน์ ศรีชัยชนะ และคณะวิทยากร
16.00 น. – 16.30 น. - สรุปผลการอบรม
วันที่ 9 พฤษภาคม 2562
08.30 น. – 09.00 น. - ลงทะเบียน
09.00 น. – 11.00 น. - บรรยาย การขับเคลื่อนกระบวนการ PLC สู่สถานศึกษา - ชั้นเรียน วิทยากร โดย อาจารย์วรรณี กองพิธี
11.00 น. – 12.00 น. ฝึกปฏิบัติการเรื่อง การขับเคลื่อนกระบวนการ PLC สู่สถานศึกษา - ชั้นเรียน
วิทยากร โดย
กลุ่มที่ 1 ผู้ช่วยศาสตราจารย์เพียงใจ ผลโภค และคณะวิทยากร
กลุ่มที่ 2 อาจารย์ ดร.ฤทัยวรรณ บุญครองชีพ และคณะวิทยากร
กลุ่มที่ 3 อาจารย์วรรณี กองพิธี และคณะวิทยากร
กลุ่มที่ 4 อาจารย์หทัยรัตน์ ศรีชัยชนะ และคณะวิทยากร
12.00 น.– 13.00 น. - พักรับประทานอาหารกลางวัน
13.00 น.– 16.00 น. (ต่อ) ฝึกปฏิบัติการเรื่อง การขับเคลื่อนกระบวนการ PLC สู่สถานศึกษา - ชั้นเรียน
วิทยากร โดย
กลุ่มที่ 1 ผู้ช่วยศาสตราจารย์เพียงใจ ผลโภค และคณะวิทยากร
กลุ่มที่ 2 อาจารย์ ดร.ฤทัยวรรณ บุญครองชีพ และคณะวิทยากร
กลุ่มที่ 3 อาจารย์วรรณี กองพิธี และคณะวิทยากร
กลุ่มที่ 4 อาจารย์หทัยรัตน์ ศรีชัยชนะ และคณะวิทยากร
16.00 น. – 16.30 น. - สรุปผลการอบรม
วันที่ 10 พฤษภาคม 2562
08.30 น. – 09.00 น. - ลงทะเบียน
09.00 น. – 11.00 น. - บรรยาย lesson study /การเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ (lesson plan) แบบ active learning
วิทยากร โดย วิทยากร โดย อาจารย์วรรณี กองพิธี
11.00 น. – 12.00 น. ฝึกปฏิบัติการเรื่อง อบรมเชิงปฏิบัติการการเขียนแผนการเรียนรู้ ทวนสอบแผนการสอนโดยคู่บัดดี้
กลุ่มที่ 1 ผู้ช่วยศาสตราจารย์เพียงใจ ผลโภค และคณะวิทยากร
กลุ่มที่ 2 อาจารย์ ดร.ฤทัยวรรณ บุญครองชีพ และคณะวิทยากร
กลุ่มที่ 3 อาจารย์วรรณี กองพิธี และคณะวิทยากร
กลุ่มที่ 4 อาจารย์หทัยรัตน์ ศรีชัยชนะ และคณะวิทยากร
12.00 น.– 13.00 น. - พักรับประทานอาหารกลางวัน
13.00 น.– 16.00 น. ฝึกปฏิบัติการเรื่อง การสร้างความรู้ความเข้าใจ กลไก การจัดทำแผนกระบวนการ PLC สู่สถานศึกษา lesson study/
การเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ (lesson plan) แบบ active learning
วิทยากร โดย
กลุ่มที่ 1 ผู้ช่วยศาสตราจารย์เพียงใจ ผลโภค และคณะวิทยากร
กลุ่มที่ 2 อาจารย์ ดร.ฤทัยวรรณ บุญครองชีพ และคณะวิทยากร
กลุ่มที่ 3 อาจารย์วรรณี กองพิธี และคณะวิทยากร
กลุ่มที่ 4 อาจารย์หทัยรัตน์ ศรีชัยชนะ และคณะวิทยากร
16.00 น. – 16.30 น. - สรุปผลการอบรม
1. ร่วมกำหนดแผนการดำเนินงานรายต่อไป
2. มอบหมายความรับผิดชอบ
3. ปิดการประชุม
ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น
กลุ่มเป้าหมายทั้ง 10 โรงเรียน เข้าใจการทำงานร่วมกันแบบทีม เรียนรู้ที่ครูเป็นผู้นำร่วมกัน และผู้บริหารแบบผู้ดูแลสนับสนุน สู่การเรียนรู้และพัฒนาวิชาชีพเปลี่ยนแปลงคุณภาพตนเอง สู่คุณภาพการจัดการเรียนรู้ที่เน้นความสำเร็จหรือประสิทธิผลของผู้เรียนเป็นสำคัญ และความสุขของการทำงานร่วมกันของสมาชิกในชุมชนการเรียนรู้ โดยการปฏิบัติการกระบวนการกลุ่ม collaborative learning การอบรมเชิงปฏิบัติการ Active learning
การขับเคลื่อนกระบวนการ PLC สู่สถานศึกษา - ชั้นเรียน lesson study /การเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ (lesson plan) การอบรมเชิงปฏิบัติการ
การเขียนแผนการเรียนรู้ ทวนสอบแผนการสอนโดยคู่บัดดี้ และการสร้างความรู้ความเข้าใจ กลไก การจัดทำแผนกระบวนการ PLC สู่สถานศึกษา lesson study/การเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ (lesson plan) แบบ active learning
80
0
8. กิจกรรมที่ 7 ประชุมเชิงปฏิบัติการ Core Team : วางแผน กำหนด การติดตาม ประเมินผล การนิเทศอย่างกัลยาณมิตร และสร้างพลัง แรงจูงใจ สาระวิชาภาษาไทย และภาษาอังกฤษ
วันที่ 16 มิถุนายน 2562กิจกรรมที่ทำ
กำหนดการ
โครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษาและการพัฒนาท้องถิ่นโดยมีสถาบันอุดมศึกษา
มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลาและวิทยาลัยชุมชนสตูลเป็นพี่เลี้ยง :
การสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพครูสู่การพัฒนาผู้เรียน จังหวัดสตูล
กิจกรรมที่ 7 ประชุมเชิงปฏิบัติการ Core Team : วางแผน กำหนด การติดตาม ประเมินผล
การนิเทศอย่างกัลยาณมิตร และสร้างพลัง แรงจูงใจ สาระวิชาภาษาไทย และภาษาอังกฤษ
ในวันที่ 16 มิถุนายน 2562 เวลา 08.30–16.30 น.
ณ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสตูล อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล
นายนภดล ยิ่งยงสกุล ศึกษานิเทศก์ชำนาญการพิเศษ
คณะศึกษานิเทศก์ สพป. สตูล
ศึกษานิเทศก์ศุภวัลย์ ชูมี
ศึกษานิเทศก์อับดลรอหมาน ปะดูกา
คณะวิทยากร
คณาจารย์จากมหาวิทยาลัยพี่เลี้ยง มรภ.สงขลา
อาจารย์สมสวาท เจริญฤทธิ์
ผู้ช่วยศาสตราจารย์เพียงใจ ผลโภค
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ยุพดี ธรรมชาติ
อาจารย์เอื้อนจิต สัมมา
อาจารย์เสริมศรี ฤทธาภิรมย์
อาจารย์วรรณี กองพิธี
อาจารย์หทัยรัตน์ ศรีชัยชนะ
อาจารย์ ดร.ฤทัยวรรณ บุญครองชีพ
อาจารย์ ดร.กุลพัฒน์ ยิ่งดำนุ่น
อาจารย์วิไลลักษณ์ ทองช่วย (วิทยาลัยชุมชนสตูล)
08.00 น. – 08.30 น. - ลงทะเบียน
08.30 น. – 12.00 น. - ประชุมเชิงปฏิบัติการ Core Team : วางแผน กำหนด การติดตามประเมินผล การนิเทศอย่างกัลยาณมิตร และสร้างพลัง แรงจูงใจ สาระวิชาภาษาไทย และภาษาอังกฤษ
12.00 น. – 13.00 น. - พักรับประทานอาหารกลางวัน
13.00 น. – 16.00 น. - (ต่อ) ประชุมเชิงปฏิบัติการ Core Team : วางแผน กำหนด การติดตาม ประเมินผล การนิเทศอย่างกัลยาณมิตร และสร้างพลัง แรงจูงใจ สาระวิชาภาษาไทย และภาษาอังกฤษ
16.00 น. – 16.30 น. - สรุปผลการประชุม
1. ร่วมกำหนดแผนการดำเนินงานรายต่อไป
2. มอบหมายความรับผิดชอบ
3. ปิดการประชุม
หมายเหตุเวลา 10.30 น.-10.45 น. และ 14.30 น.-14.45 น. พักรับประทานอาหารว่าง
ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น
ประชุมเชิงปฏิบัติการ Core Team : เพื่อวางแผน กำหนด การติดตาม ประเมินผล การนิเทศอย่างกัลยาณมิตร และสร้างพลัง แรงจูงใจ สาระวิชาภาษาไทย และภาษาอังกฤษ โรงเรียนกลุ่มเป้าหมาย ระหว่างวันที่ 17-21 มิถุนายน 2562
30
0
9. กิจกรรมที่ 7.1 กิจกรรมการติดตาม ประเมินผล และการนิเทศอย่างกัลยาณมิตร สร้างพลังและแรงจูงใจ (ช่วงที่ 1 จำนวน 5 ครั้ง)
วันที่ 17 มิถุนายน 2562กิจกรรมที่ทำ
กำหนดการ
โครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษาและการพัฒนาท้องถิ่นโดยมีสถาบันอุดมศึกษา
มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลาและวิทยาลัยชุมชนสตูลเป็นพี่เลี้ยง :
การสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพครูสู่การพัฒนาผู้เรียน จังหวัดสตูล
โดย นายนภดล ยิ่งยงสกุล ศึกษานิเทศก์ชำนาญการพิเศษ
คณะศึกษานิเทศก์ สพป. สตูล
ศึกษานิเทศก์ศุภวัลย์ ชูมี
ศึกษานิเทศก์อับดลรอหมาน ปะดูกา
คณะวิทยากร
คณาจารย์จากมหาวิทยาลัยพี่เลี้ยง มรภ.สงขลา
อาจารย์สมสวาท เจริญฤทธิ์
ผู้ช่วยศาสตราจารย์เพียงใจ ผลโภค
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ยุพดี ธรรมชาติ
อาจารย์เอื้อนจิต สัมมา
อาจารย์เสริมศรี ฤทธาภิรมย์
อาจารย์วรรณี กองพิธี
อาจารย์หทัยรัตน์ ศรีชัยชนะ
อาจารย์ ดร.ฤทัยวรรณ บุญครองชีพ
อาจารย์ ดร.กุลพัฒน์ ยิ่งดำนุ่น
อาจารย์วิไลลักษณ์ ทองช่วย (วิทยาลัยชุมชนสตูล)
กิจกรรมที่ 7.1 กิจกรรมการติดตาม ประเมินผล และการนิเทศอย่างกัลยาณมิตร สร้างพลังและแรงจูงใจ
(ช่วงที่ 1 ครั้งที่ 1)
วันที่ 17 มิถุนายน 2562 เวลา 08.30 – 16.30 น.
ณ โรงเรียนบ้านทุ่งนุ้ย และโรงเรียนบ้านน้ำหรา จังหวัดสตูล
08.00 น. – 08.30 น. - ลงทะเบียน
08.30 น. – 12.00 น. - ติดตาม ประเมินผล และการนิเทศอย่างกัลยาณมิตร สร้างพลัง
และแรงจูงใจ ณ โรงเรียนบ้านทุ่งนุ้ย
12.00 น. – 13.00 น. - พักรับประทานอาหารกลางวัน
13.00 น. – 16.30 น. - ติดตาม ประเมินผล และการนิเทศอย่างกัลยาณมิตร สร้างพลัง
และแรงจูงใจ ณ โรงเรียนบ้านน้ำหรา
(ช่วงที่ 1 ครั้งที่ 2)
วันที่ 18 มิถุนายน 2562 เวลา 08.30 – 16.30 น.
ณ โรงเรียนบ้านทุ่งตำเสา และโรงเรียนบ้านกุบังปะโหลด จังหวัดสตูล
08.00 น. – 08.30 น. - ลงทะเบียน
08.30 น. – 12.00 น. - ติดตาม ประเมินผล และการนิเทศอย่างกัลยาณมิตร สร้างพลัง
และแรงจูงใจ ณ โรงเรียนบ้านทุ่งตำเสา
12.00 น. – 13.00 น. - พักรับประทานอาหารกลางวัน
13.00 น. – 16.30 น. - ติดตาม ประเมินผล และการนิเทศอย่างกัลยาณมิตร สร้างพลัง
และแรงจูงใจ ณ โรงเรียนบ้านกุบังปะโหลด
(ช่วงที่ 1 ครั้งที่ 3)
วันที่ 19 มิถุนายน 2562 เวลา 08.30 – 16.30 น.
ณ โรงเรียนบ้านบ่อหิน และโรงเรียนบ้านทุ่งดินลุ่ม จังหวัดสตูล
08.00 น. – 08.30 น. - ลงทะเบียน
08.30 น. – 12.00 น. - ติดตาม ประเมินผล และการนิเทศอย่างกัลยาณมิตร สร้างพลัง
และแรงจูงใจ ณ โรงเรียนบ้านบ่อหิน
12.00 น. – 13.00 น. - พักรับประทานอาหารกลางวัน
13.00 น. – 16.30 น. - ติดตาม ประเมินผล และการนิเทศอย่างกัลยาณมิตร สร้างพลัง
และแรงจูงใจ ณ โรงเรียนบ้านทุ่งดินลุ่ม
(ช่วงที่ 1 ครั้งที่ 4)
วันที่ 20 มิถุนายน 2562 เวลา 08.30 – 16.30 น.
ณ โรงเรียนอนุบาลท่าแพ และโรงเรียนบ้านทุ่งเสม็ด จังหวัดสตูล
08.00 น. – 08.30 น. - ลงทะเบียน
08.30 น. – 12.00 น. - ติดตาม ประเมินผล และการนิเทศอย่างกัลยาณมิตร สร้างพลัง
และแรงจูงใจ ณ โรงเรียนอนุบาลท่าแพ
12.00 น. – 13.00 น. - พักรับประทานอาหารกลางวัน
13.00 น. – 16.30 น. - ติดตาม ประเมินผล และการนิเทศอย่างกัลยาณมิตร สร้างพลัง
และแรงจูงใจ ณ โรงเรียนบ้านทุ่งเสม็ด
(ช่วงที่ 1 ครั้งที่ 5)
วันที่ 21 มิถุนายน 2562 เวลา 08.30 – 16.30 น.
ณ โรงเรียนบ้านสาครเหนือ และโรงเรียนบ้านสาคร จังหวัดสตูล
08.00 น. – 08.30 น. - ลงทะเบียน
08.30 น. – 12.00 น. - ติดตาม ประเมินผล และการนิเทศอย่างกัลยาณมิตร สร้างพลัง
และแรงจูงใจ ณ โรงเรียนบ้านสาครเหนือ
12.00 น. – 13.00 น. - พักรับประทานอาหารกลางวัน
13.00 น. – 16.30 น. - ติดตาม ประเมินผล และการนิเทศอย่างกัลยาณมิตร สร้างพลัง
และแรงจูงใจ ณ โรงเรียนบ้านสาคร
ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น
จากการติดตาม ประเมินผล และการนิเทศอย่างกัลยาณมิตร สร้างพลังและแรงจูงใจ โรงเรียนกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 10 โรงเรียน ประกอบด้วย
โรงเรียนบ้านทุ่งนุ้ย
โรงเรียนบ้านน้ำหรา
โรงเรียนบ้านทุ่งตำเสา
โรงเรียนบ้านกุบังปะโหลด
โรงเรียนบ้านบ่อหิน
โรงเรียนบ้านทุ่งดินลุ่ม
โรงเรียนอนุบาลท่าแพ
โรงเรียนบ้านทุ่งเสม็ด
โรงเรียนบ้านสาครเหนือ
โรงเรียนบ้านสาคร
ระหว่างวันที่ 17-21 มิถุนายน 2562 นั้น ครูในโรงเรียนกลุ่มเป้าหมายที่ได้ร่วมโครงการในกิจกรรมที่ 1 - 7 มีความรู้ความเข้าใจในการสร้างความเข้มแข็งทางวิชาการ ยกระดับคุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐานและการพัฒนาท้องถิ่นอย่างสอดคล้องกับบริบทชุมชนจังหวัดสตูลได้มากขึ้น
30
0
10. กิจกรรมที่ 8 ประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่อง การนำแผนการปฏิบัติการเรียนรู้กระบวนการ PLC สู่สถานศึกษา สู่ชั้นเรียน และการนิเทศ ติดตาม และการประเมินผล และการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน (จากการติดตามผลการนิเทศช่วงที่ 1)
วันที่ 27 มิถุนายน 2562กิจกรรมที่ทำ
รายชื่อคณะโรงเรียนศึกษาดูงานที่เข้าร่วมโครงการ มีดังนี้
๑. คณาจารย์ มหาวิทยาลัยพี่เลี้ยง มหาวิทยาลันราชภัฏสงขลา และวิทยาลัยชุมชน จำนวน 9 คน
๒. ศึกษานิเทศก์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสตูล จำนวน 1 คน
๓. ผู้บริหารและครู โรงเรียนบ้านทุ่งตำเสาฯ จำนวน ๕ คน
๔. ผู้บริหารและครู โรงเรียนบ้านน้ำหรา จำนวน ๕ คน
๕. ผู้บริหารและครู ผู้บริหารและครู โรงเรียนบ้านทุ่งนุ้ย “มิตรภาพที่ ๔๙” จำนวน ๕ คน
๖. ผู้บริหารและครู โรงเรียนบ้านทุ่งเสม็ด จำนวน ๑๐ คน
๗. ผู้บริหารและครู โรงเรียนอนุบาลท่าแพ จำนวน ๖ คน
๘. ผู้บริหารและครู โรงเรียนบ้านสาครเหนือ จำนวน ๕ คน
๙. ผู้บริหารและครู โรงเรียนบ้านกุบังปะโหลด จำนวน ๔ คน
๑๐. ผู้บริหารและครู โรงเรียนบ้านบ่อหิน จำนวน ๑๖ คน
๑๑. ผู้บริหารและครู โรงเรียนบ้านสาคร จำนวน ๑๔ คน
กำหนดการ
โครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษาและการพัฒนาท้องถิ่นโดยมีสถาบันอุดมศึกษา
มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลาและวิทยาลัยชุมชนสตูลเป็นพี่เลี้ยง :
การสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพครูสู่การพัฒนาผู้เรียน จังหวัดสตูล
ในวันที่ 28 มิถุนายน 2562 เวลา 08.30–16.30 น.
ณ โรงเรียนเทศบาลบ้านบางเหนียว อำเภอเมืองภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต
…………………………………..
ขอบข่ายการดูงาน : ๑. ระบบการบริหารจัดการ PLC .ในสถานศึกษาและชั้นเรียน
๒. เครื่องมือที่เกี่ยวข้อง เช่น Logbook แบบนิเทศติดตาม เป็นต้น
๓. ผลงานที่เกิดจาก PLC เช่น ครู นักเรียน
รูปแบบการดูงาน : ๑. บรรยาย “การขับเคลื่อนกระบวนการ PLC สู่การปฏิบัติในสถานศึกษา
ของโรงเรียนเทศบาลบ้านบางเหนียว อำเภอเมืองภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต
๒. สังเกตการณ์จัดการเรียนการสอนโดยกระบวนการ PLC ในชั้นเรียน
(ระบบ Buddy และ Lesson Study)
๓. ศึกษาเอกสาร/เครื่องมือที่เกี่ยวข้อง เช่น Logbook แบบประเมินการติดตาม
นิเทศ และอื่นๆ
4. แบ่งกลุ่มย่อย ครูพบครู เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ เช่น 1 : 5 หรือ 1 : 10 คน
กำหนดการ : วันที่ ๒๘ มิถุนายน ๒๕๖๒
เวลา ๐๘.๐๐ น. – ๑๒.๐๐ น. ศึกษาดูงาน PLC
ณ โรงเรียนเทศบาลบ้านบางเหนียว อำเภอเมืองภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต
เวลา ๑๒.๐๐ น. พักรับประทานอาหารเที่ยง
ณ โรงเรียนเทศบาลบ้านบางเหนียว อำเภอเมืองภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต
เวลา ๑๓.๓๐ น. (ต่อ) ศึกษาดูงาน
เวลา ๑๕.๐๐ น. ออกเดินทางกลับจังหวัด
ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น
จากการประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่อง การนำแผนการปฏิบัติการเรียนรู้กระบวนการ PLC สู่สถานศึกษา สู่ชั้นเรียน และการนิเทศ ติดตาม และการประเมินผล และการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน (จากการติดตามผลการนิเทศช่วงที่ 1) ณ โรงเรียนเทศบาลบ้านบางเหนียว อำเภอเมืองภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต เป็นแนวทางหนึ่งในการจัดกระบวนการเรียนการสอนของครูให้มีความน่าสนใจขึ้น เพื่อวิเคราะห์ศักยภาพของผู้เรียนและพัฒนาการเรียนรู้ ซึ่งคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล รวมทั้งนำผลจากพัฒนาการของนักเรียนไปวางแผนและปรับเปลี่ยนการจัดการเรียนการสอน เพื่อพัฒนาผู้เรียนได้อย่างเต็มศักยภาพ
80
0
11. กิจกรรมที่ 8.1 กิจกรรมการติดตาม ประเมินผล และการนิเทศอย่างกัลยาณมิตร
วันที่ 27 สิงหาคม 2562กิจกรรมที่ทำ
กำหนดการ
โครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษาและการพัฒนาท้องถิ่นโดยมีสถาบันอุดมศึกษา
มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลาและวิทยาลัยชุมชนสตูลเป็นพี่เลี้ยง :
การสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพครูสู่การพัฒนาผู้เรียน จังหวัดสตูล
กิจกรรมที่ 8.1 กิจกรรมการติดตาม ประเมินผล และการนิเทศอย่างกัลยาณมิตร
วันที่ 5 สิงหาคม 2562 เวลา 08.30 – 16.30 น.
ณ โรงเรียนบ้านทุ่งตำเสา และโรงเรียนบ้านกุบังปะโหลด จังหวัดสตูล
08.00 น. – 08.30 น. - ลงทะเบียน
08.30 น. – 12.00 น. - ติดตาม ประเมินผล และการนิเทศอย่างกัลยาณมิตร สร้างพลัง
และแรงจูงใจ ณ โรงเรียนบ้านทุ่งตำเสา
12.00 น. – 13.00 น. - พักรับประทานอาหารกลางวัน
13.00 น. – 16.30 น. - ติดตาม ประเมินผล และการนิเทศอย่างกัลยาณมิตร สร้างพลัง
และแรงจูงใจ ณ โรงเรียนบ้านกุบังปะโหลด
หมายเหตุเวลา 10.30 น.-10.45 น. และ 14.30 น.-14.45 น. พักรับประทานอาหารว่าง
กำหนดการ
โครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษาและการพัฒนาท้องถิ่นโดยมีสถาบันอุดมศึกษา
มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลาและวิทยาลัยชุมชนสตูลเป็นพี่เลี้ยง :
การสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพครูสู่การพัฒนาผู้เรียน จังหวัดสตูล
กิจกรรมที่ 8.1 กิจกรรมการติดตาม ประเมินผล และการนิเทศอย่างกัลยาณมิตร
วันที่ 7 สิงหาคม 2562 เวลา 08.30 – 16.30 น.
ณ โรงเรียนบ้านสาครเหนือ และโรงเรียนบ้านสาคร จังหวัดสตูล
08.00 น. – 08.30 น. - ลงทะเบียน
08.30 น. – 12.00 น. - ติดตาม ประเมินผล และการนิเทศอย่างกัลยาณมิตร สร้างพลัง
และแรงจูงใจ ณ โรงเรียนบ้านสาครเหนือ
12.00 น. – 13.00 น. - พักรับประทานอาหารกลางวัน
13.00 น. – 16.30 น. - ติดตาม ประเมินผล และการนิเทศอย่างกัลยาณมิตร สร้างพลัง
และแรงจูงใจ ณ โรงเรียนบ้านสาคร
หมายเหตุเวลา 10.30 น.-10.45 น. และ 14.30 น.-14.45 น. พักรับประทานอาหารว่าง
กำหนดการ
โครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษาและการพัฒนาท้องถิ่นโดยมีสถาบันอุดมศึกษา
มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลาและวิทยาลัยชุมชนสตูลเป็นพี่เลี้ยง :
การสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพครูสู่การพัฒนาผู้เรียน จังหวัดสตูล
กิจกรรมที่ 8.1 กิจกรรมการติดตาม ประเมินผล และการนิเทศอย่างกัลยาณมิตร
วันที่ 8 สิงหาคม 2562 เวลา 08.30 – 16.30 น.
ณ โรงเรียนบ้านบ่อหิน และโรงเรียนบ้านทุ่งดินลุ่ม จังหวัดสตูล
08.00 น. – 08.30 น. - ลงทะเบียน
08.30 น. – 12.00 น. - ติดตาม ประเมินผล และการนิเทศอย่างกัลยาณมิตร สร้างพลัง
และแรงจูงใจ ณ โรงเรียนบ้านบ่อหิน
12.00 น. – 13.00 น. - พักรับประทานอาหารกลางวัน
13.00 น. – 16.30 น. - ติดตาม ประเมินผล และการนิเทศอย่างกัลยาณมิตร สร้างพลัง
และแรงจูงใจ ณ โรงเรียนบ้านทุ่งดินลุ่ม
หมายเหตุเวลา 10.30 น.-10.45 น. และ 14.30 น.-14.45 น. พักรับประทานอาหารว่าง
กำหนดการ
โครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษาและการพัฒนาท้องถิ่นโดยมีสถาบันอุดมศึกษา
มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลาและวิทยาลัยชุมชนสตูลเป็นพี่เลี้ยง :
การสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพครูสู่การพัฒนาผู้เรียน จังหวัดสตูล
กิจกรรมที่ 8.1 กิจกรรมการติดตาม ประเมินผล และการนิเทศอย่างกัลยาณมิตร
วันที่ 14 สิงหาคม 2562 เวลา 08.30 – 16.30 น.
ณ โรงเรียนอนุบาลท่าแพ และโรงเรียนบ้านทุ่งนุ้ย จังหวัดสตูล
08.00 น. – 08.30 น. - ลงทะเบียน
08.30 น. – 12.00 น. - ติดตาม ประเมินผล และการนิเทศอย่างกัลยาณมิตร สร้างพลัง
และแรงจูงใจ ณ โรงเรียนอนุบาลท่าแพ
12.00 น. – 13.00 น. - พักรับประทานอาหารกลางวัน
13.00 น. – 16.30 น. - ติดตาม ประเมินผล และการนิเทศอย่างกัลยาณมิตร สร้างพลัง
และแรงจูงใจ ณ โรงเรียนบ้านทุ่งนุ้ย
หมายเหตุเวลา 10.30 น.-10.45 น. และ 14.30 น.-14.45 น. พักรับประทานอาหารว่าง
กำหนดการ
โครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษาและการพัฒนาท้องถิ่นโดยมีสถาบันอุดมศึกษา
มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลาและวิทยาลัยชุมชนสตูลเป็นพี่เลี้ยง :
การสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพครูสู่การพัฒนาผู้เรียน จังหวัดสตูล
กิจกรรมที่ 8.1 กิจกรรมการติดตาม ประเมินผล และการนิเทศอย่างกัลยาณมิตร
วันที่ 15 สิงหาคม 2562 เวลา 08.30 – 16.30 น.
ณ โรงเรียนบ้านน้ำหรา และโรงเรียนบ้านทุ่งเสม็ด
08.00 น. – 08.30 น. - ลงทะเบียน
08.30 น. – 12.00 น. - ติดตาม ประเมินผล และการนิเทศอย่างกัลยาณมิตร สร้างพลัง
และแรงจูงใจ ณ โรงเรียนบ้านน้ำหรา
12.00 น. – 13.00 น. - พักรับประทานอาหารกลางวัน
13.00 น. – 16.30 น. - ติดตาม ประเมินผล และการนิเทศอย่างกัลยาณมิตร สร้างพลัง
และแรงจูงใจ ณ โรงเรียนบ้านทุ่งเสม็ด
หมายเหตุเวลา 10.30 น.-10.45 น. และ 14.30 น.-14.45 น. พักรับประทานอาหารว่าง
ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น
จากการติดตาม ประเมินผล และการนิเทศอย่างกัลยาณมิตร สร้างพลังและแรงจูงใจ โรงเรียนกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 10 โรงเรียน ประกอบด้วย
โรงเรียนบ้านทุ่งนุ้ย
โรงเรียนบ้านน้ำหรา
โรงเรียนบ้านทุ่งตำเสา
โรงเรียนบ้านกุบังปะโหลด
โรงเรียนบ้านบ่อหิน
โรงเรียนบ้านทุ่งดินลุ่ม
โรงเรียนอนุบาลท่าแพ
โรงเรียนบ้านทุ่งเสม็ด
โรงเรียนบ้านสาครเหนือ
โรงเรียนบ้านสาคร
ระหว่างวันที่ 5 - 15 สิงหาคม 2562 นั้น ครูในโรงเรียนกลุ่มเป้าหมายที่ได้ร่วมโครงการในกิจกรรมที่ 1 - 8 มีความรู้ความเข้าใจในการสร้างความเข้มแข็งทางวิชาการ ยกระดับคุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐานและการพัฒนาท้องถิ่นอย่างสอดคล้องกับบริบทชุมชนจังหวัดสตูลได้มากขึ้น
80
0
12. กิจกรรมที่ 9 ประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่อง การนำกระบวนการ PLC สู่สถานศึกษาและ จัดนิทรรศการทางวิชาการ Mini Show And Share เพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และถอดบทเรียนร่วมกัน และมอบเกียรติบัตรยกย่องเชิดชูเกียรติ การขับเคลื่อน PLC สู่สถานศึกษา
วันที่ 11 ธันวาคม 2562กิจกรรมที่ทำ
กำหนดการ
โครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษาและการพัฒนาท้องถิ่นโดยมีสถาบันอุดมศึกษา
มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลาและวิทยาลัยชุมชนสตูลเป็นพี่เลี้ยง :
การสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพครูสู่การพัฒนาผู้เรียน จังหวัดสตูล
กิจกรรมที่ 9 ประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่อง การนำกระบวนการ PLC สู่สถานศึกษาและ
จัดนิทรรศการทางวิชาการ Mini Show And Share เพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และถอดบทเรียนร่วมกัน
และมอบเกียรติบัตรยกย่องเชิดชูเกียรติ การขับเคลื่อน PLC สู่สถานศึกษา
ในวันที่ 11 ธันวาคม 2562
ณ วิทยาลัยชุมชนสตูล อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล
08.00 น. – 08.30 น. - ลงทะเบียน
08.30 น. – 12.00 น. - ประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่อง การนำกระบวนการ PLC สู่สถานศึกษาและ
จัดนิทรรศการทางวิชาการ Mini Show And Share เพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และถอดบทเรียนร่วมกันและมอบเกียรติบัตรยกย่องเชิดชูเกียรติ การขับเคลื่อน PLC สู่สถานศึกษา
12.00 น. – 13.00 น. - พักรับประทานอาหารกลางวัน
13.00 น. – 16.00 น. - (ต่อ) ประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่อง การนำกระบวนการ PLC สู่สถานศึกษาและจัดนิทรรศการทางวิชาการ Mini Show And Share เพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และถอดบทเรียนร่วมกันและมอบเกียรติบัตรยกย่องเชิดชูเกียรติ การขับเคลื่อน PLC สู่สถานศึกษา
16.00 น. – 16.30 น. - สรุปผลการประชุม
1. ร่วมกำหนดแผนการดำเนินงานรายต่อไป
2. มอบหมายความรับผิดชอบ
3. ปิดการประชุม
หมายเหตุเวลา 10.30 น.-10.45 น. และ 14.30 น.-14.45 น. พักรับประทานอาหารว่าง
ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น
สรุปข้อมูลการติดตามผลการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจากการดำเนินโครงการใน 10 โรงเรียนเป้าหมาย
โครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษาและการพัฒนาท้องถิ่นโดยมีสถาบันอุดมศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลาเป็นพี่เลี้ยง
: การสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพครูสู่การพัฒนาผู้เรียน จังหวัดสตูล
(ตามแบบ สกอ.)
1.ผลการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น
ชื่อโรงเรียน การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น
โรงเรียน ครู นักเรียน
1. โรงเรียนบ้านสาครเหนือ โรงเรียนสามารถมีแนวทางในการนิเทศและ PLC ที่นำมาใช้ในการบริหารจัดการที่เป็นรูปธรรม ครูมีการเตรียมความพร้อมในการจัดการเรียนการสอนและกระตือรือร้นในการจัด การเรียนการสอน มีการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนดีขึ้น นักเรียนมีส่วนร่วมในการจัดการเรียนการสอนของครูมากขึ้น เพราะครูมีการปรับเปลี่ยนกระบวนการสอน ผ่านกระบวน การ Active learning
2. โรงเรียนบ้านทุ่งนุ้ย"มิตรภาพที่ 49" โรงเรียนได้พัฒนาบุคลากรและยกผลสัมฤทธิ์ได้สูงขึ้น ครูได้ปรับเปลี่ยนการสอนได้รับคำปรึกษาจากเพื่อนครูด้วยกัน ได้จัดการเรียนการสอนที่หลาก หลายตรงกับตัวชี้วัดทำให้ผลการเรียนดีขึ้น
3. โรงเรียนบ้านสาคร โรงเรียนมีระบบการนิเทศ และการทำ PLC ที่ชัดเจนขึ้น ครูได้พัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ มีสื่อและวิธีการสอนที่หลากหลาย นักเรียนสนใจการเรียนมากขึ้น มีความกระตือรือร้น สนุกสนาน กล้าคิดกล้าแสดงออก มีเจตคติที่ดีต่อวิชาที่เรียน เกิดการเรียนรู้ที่ดีขึ้น
4. โรงเรียนบ้านน้ำหรา
โรงเรียนได้มีการวางแผนในการขับเคลื่อนกระบวนการ PLC อย่างเป็นระบบ มีการนิเทศการสอนบ่อยขึ้น มีการประชุมปรึกษาหารือเกี่ยวกับผล และปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง เพื่อปรับปรุงและพัฒนาให้ดียิ่งขึ้น ครูผู้สอนมีเทคนิคในการจัดกระบวนการเรียนการสอนเพิ่มขึ้น มีการจัดทำสื่อการสอนหลากหลายและเป็นที่ดึงดูดความสนใจของนักเรียนได้ดี ครูมีการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน แลกเปลี่ยนประสบการณ์กัน ในการจัดกระบวนการจัดการเรียนการสอน นักเรียนมีความสนใจ อยากรู้อยากเรียน มีความสุขสนุกสนานไปกับบทเรียน กิจกรรม และสื่อที่ครูผู้สอนใช้ในการจัดกระบวนการเรียนการสอน ทำให้นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจในบทเรียนมากขึ้น
5. โรงเรียนบ้านทุ่งดินลุ่ม โรงเรียนมีระบบ PLC ที่มีคุณภาพมากขึ้น ครูได้รับคำแนะนำจากคณะอาจารย์ นักเรียนมีส่วนร่วมในการเรียนมากขึ้น
6. โรงเรียนบ้านกุบังปะโหลด มีการบริหารจัดการที่เป็นระบบมากขึ้น มีการประชุม ร่วมกัน PLC ผลการดำเนิน งาน ร่วมกันแก้ปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นทุกเดือน, ผู้ปกครองให้ความเชื่อมั่นในตัวครูผู้สอนสาระต่าง ๆ และการบริหารจัดการของโรงเรียน ครูมีความรู้ความเข้าใจกระบวนการ PLC การจัดการ เรียนรู้แบบ Active Learning การพัฒนาแผน การจัดการเรียนรู้ ครูมีความตระหนัก พยายามจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning จัดหา จัดทำสื่อการเรียนรู้ที่น่าสนใจ กระตุ้นการเรียนรู้ของนักเรียน นักเรียนเรียนรู้อย่างสนุกสนาน มีความสุข มีความรู้ความเข้าใจเรื่องที่เรียน มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น
7. โรงเรียนบ้านบ่อหิน 1. มีระบบการบริหาร การนิเทศภายในที่เป็นระบบ 2. มีรูปแบบในการดำเนินงานกิจกรรม PLC ที่เป็นรูปธรรม 3. มีการจัดกิจกรรม LS ที่เป็นรูปธรรม 4. มีเอกสาร หลักฐานที่เป็นรูปธรรม 1. เข้าใจและเปิดใจยอมรับกระบวนการนิเทศในรูปแบบต่าง ๆ 2. มีการทำงานเป็นทีมทำให้เกิดสัมพันธภาพที่ดีระหว่างเพื่อนร่วมงาน 3. มีการเตรียมการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่หลากหลาย 4. มีการผลิตสื่อ/นวัตกรรมที่หลากหลาย 5. ได้รับผลสะท้อนกลับเพื่อส่งเสริมหรือพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้ดีขึ้น 1. ได้เรียนรู้ด้วยกระบวนการที่หลากหลายและเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ 2. นักเรียนได้ลงมือปฏิบัติกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยตนเอง
3. นักเรียนรู้จักบทบาทหน้าที่ของตนเอง มีทักษะการทำงานกลุ่มดีขึ้น
8. โรงเรียนบ้านทุ่งตำเสา
- เพื่อแก้ปัญหาและพัฒนาคุณภาพการศึกษาของโรงเรียน
- เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้สอน ใน 5 กลุ่มสาระ คือ ภาษาไทย, ภาษาอังกฤษ, วิทยาศาสตร์, คณิตศาสตร์และปฐมวัย
- มีนวัตกรรมในการแก้ปัญหาไปในทิศทางเดียวกัน ภายใต้โครงการพัฒนาสมรรถนะทักษะการรู้หนังสือโดยใช้กระบวนการ PLC - มีความกระตือรือร้น และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการจัดกิจกรรม การเรียนการสอนและสามารถแก้ปัญหาในการสอบได้
- ครูใช้เทคนิคการสอนโดยยึดนักเรียนเป็นศูนย์กลาง และจัดกิจกรรมการสอนโดยใช้วิธีการ Active Learning
- ครูมีความก้าวหน้าทางวิชาชีพ พัฒนาการเรียนการสอน ปฏิรูปสถานศึกษาไปสู่การพัฒนาคุณภาพผู้เรียน
- ครูมีความสัมพันธ์กับหน่วยงานอื่น (ศึกษานิเทศก์, วิทยาลัยชุมชน, ม.ราชภัฏสงขลา) เป็นอย่างดี - มีสมรรถนะในด้านการรู้หนังสือ การอ่าน การเรียน ในภาษาไทย ภาษาอังกฤษ และวิชาอื่นๆ สูงขึ้น
- มีความสัมพันธ์ระหว่างครู ผู้บริหาร และผู้มานิเทศ กล้าแสดงออก
- นักเรียนมีคุณลักษณะที่มีศักยภาพ และพัฒนาในศตวรรษที่ 21 พื้นฐานที่จำเป็น
- อ่านออก เขียนได้
- คิดเลขเป็น
- ทักษะจำเป็นต่อการก้าวทันเทคโนโลยี
- การคิดวิเคราะห์สร้างสรรค์
- การทำงานเป็นทีม
- การสื่อสาร
9. โรงเรียนบ้านทุ่งเสม็ด”มิตรภาพที่114”
- การบริหารงานวิชาการ มีการวางแผนการดำเนินงานเป็นระบบมากขึ้น มีรูปแบบกระบวนการดำเนินงานที่เป็นรูปธรรม โดยทุกคนมีส่วนร่วมในการดำเนินงาน
- โรงเรียนมีรูปแบบ PLC ที่เป็นรูปธรรม สามารถนำมาพัฒนางานกิจกรรมได้อย่างต่อเนื่อง เป็นรูปธรรม มีพัฒนาการในการดำเนินงานของงานที่ร่วม PLC
- โรงเรียนมีกระบวนการนิเทศติดตามผลที่เป็นรูปธรรม การสร้างสรรค์ความร่วมมือในการดำเนินงานภายในโรงเรียนมีมากขึ้น
- มีบรรยากาศขององค์กร ที่มีชีวิตชีวาด้วยการมีรูปแบบวิธีการใหม่ ๆจากการเข้าร่วมโครงการ
- ครูมีการปรับพฤติกรรมการสอน สร้างบรรยากาศ การเรียน การสอนด้วยรูปแบบ Active Learning จัดทำสื่อเพื่อพัฒนาการสอนได้ดีขึ้น
- ครูได้รับการนิเทศอย่างต่อเนื่อง สามารถนำผลการนิเทศไปปรับปรุง พัฒนางานให้เห็นได้อย่างเป็นรูปธรรม
- ครูมีความกระตือรือร้นในการจัดกิจกรรม Active Learning มากขึ้น
- ครูทำงานด้วยระบบทีมมากขึ้น
- ครูมีที่ปรึกษา คอยสนับสนุนให้ความช่วยเหลือ - มีความกระตือรือร้นในการเรียน กล้าแสดงออกและร่วมกิจกรรมในการเรียนอย่างตั้งใจ
- มีเจตคติที่ดีต่อวิชาเรียน เกิดรูปแบบกระบวนการเรียนรู้ สร้างนิสัยใฝ่รู้ ใฝ่เรียน ได้เพิ่มขึ้น
- นักเรียนได้เรียนรู้ผ่านกิจกรรมที่ได้ลงมือปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม
- นักเรียนมีผลงานจากกระบวนการสอนของครูที่เป็นรูปธรรมขึ้น
- นักเรียนมีพัฒนาการทางด้านการสื่อสาร การคิดวิเคราะห์ การช่วยเหลือซึ่งกันและกันมากขึ้น
10. โรงเรียนอนุบาลท่าแพ - มีการทำงานอย่างเป็นระบบมากขึ้น
- ผลสัมฤทธิ์ของโรงเรียนอยู่ในเกณฑ์ดีขึ้น - ครูผู้สอนมีการพัฒนากระบวนการสอนอย่างเป็นระบบมากขึ้น
- มีการสอนที่หลากหลาย
- ครูผู้สอนมีครูบัดดี้เป็นเพื่อนคู่คิด - นักเรียนให้ความสนใจในการเรียนมากขึ้น
- นักเรียนให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม
- นักเรียนมีความกระตือรือร้น และสนุกกับการเรียน
2.ผลการประเมินผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้
ชื่อโรงเรียน ก่อนเข้าร่วมโครงการ หลังเข้าร่วมโครงการ ระบุการเปลี่ยนแปลงที่สะท้อน ผลสัมฤทธิ์ในการเรียนรู้
1. โรงเรียนบ้านสาครเหนือ ภาษาไทย
นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ภาษาไทยอยู่ในระดับพอใช้
ภาษาอังกฤษ
นักเรียนไม่ค่อยมีความรูเรื่องคำศัพท์และโครงสร้างประโยค ภาษาไทย
นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ภาษาไทยพัฒนาขึ้นหลังจากเข้าร่วมโครงการ
ภาษาอังกฤษ
นักเรียนมีความรู้เรื่องศัพท์และโครงสร้างประโยคเพิ่มขึ้น ภาษาไทย
นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์สูงขึ้น
ภาษาอังกฤษ
มีการโต้ตอบและปฏิสัมพันธ์กบครูผู้สอนและผลสะท้อนจากการตรวจงานดีขึ้น
2. โรงเรียนบ้านทุ่งนุ้ย"มิตรภาพที่ 49" ภาษาไทย
นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ภาษาไทยอยู่ในระดับดี
ภาษาอังกฤษ
นักเรียนไม่มีความสุขในการเรียน ภาษาไทย
นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ภาษาไทยอยู่ในระดับดีมาก
ภาษาอังกฤษ
นักเรียนให้ความร่วมมือในการเรียนอย่างสนุกสนานและมีความสุขมากขึ้น ภาษาไทย
นักเรียนสามารถอ่านออกเขียนได้และสะกดคำเป็นตั้งแต่ ป.1
ภาษาอังกฤษ
นักเรียนมีความสุขกับการเรียนมากขึ้น มีเจตคติทีดีต่อวิชาภาษาอังกฤษมากขึ้น
3. โรงเรียนบ้านสาคร ภาษาไทย
นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาไทยค่อนข้างต่ำ
ภาษาอังกฤษ
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนค่อนข้างต่ำ ภาษาไทย
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาไทยของนักเรียนส่วนใหญ่ดีขึ้น
ภาษาอังกฤษ
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนส่วนใหญ่ดีขึ้น ภาษาไทย
ครูมีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ Active Learning ทำให้นักเรียนเข้าใจบทเรียน และสนใจเรียนมากขึ้น ส่งผลให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนดีขึ้น
ภาษาอังกฤษ
ครูมีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ Active Learning ทำให้นักเรียนเข้าใจบทเรียน และสนใจเรียนมากขึ้น ส่งผลให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนดีขึ้น
4. โรงเรียนบ้านน้ำหรา
ภาษาไทย
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้รายวิชาภาษาไทยของนักเรียนชั้น ป.4-6 ได้คะแนนเฉลี่ย อยู่ที่ 62 คะแนน จากคะแนนเต็ม 100 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 62
ภาษาอังกฤษ
ผลสัมฤทธิ์รายวิชาภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้น ป.2 คะแนนเฉลี่ยได้ 60 คะแนน จากคะแนนเต็ม 100 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 60
ภาษาไทย
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้รายวิชาภาษาไทยของนักเรียนชั้น ป.4-6 ได้คะแนนเฉลี่ย อยู่ที่ 75 คะแนน จากคะแนนเต็ม 100 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 75
ภาษาอังกฤษ
ผลสัมฤทธิ์รายวิชาภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้น ป.2 คะแนนเฉลี่ยได้ 72 คะแนน จากคะแนนเต็ม 100 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 72 ภาษาไทย
ครูผู้สอนได้นำความรู้เกี่ยวกับกระบวนการ PLC และการสอนแบบ Active Learning มาใช้ในการจัดการเรียนรู้ ทำให้นักเรียนมีความสนใจ มีความสุข และสนุกกับการเรียนมากขึ้นส่งผลให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาภาษาไทยของนักเรียนชั้น ป.4-6 มีคะแนนเฉลี่ยสูงขึ้น
ภาษาอังกฤษ
นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาภาษาอังกฤษสูงขึ้น
5. โรงเรียนบ้านทุ่งดินลุ่ม ภาษาไทย
นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ภาษาไทยอยู่ในเกณฑ์ที่ดี
ภาษาอังกฤษ
อยู่ในเกณฑ์พอใช้ ภาษาไทย
ผลสัมฤทธิ์ภาษาไทยได้รับการพัฒนามากขึ้น
ภาษาอังกฤษ
ได้รับการพัฒนามากขึ้น ภาษาไทย
ครูและนักเรียนมีส่วนร่วมในกระบวนการสอนมากขึ้น
ภาษาอังกฤษ
ครูและนักเรียนมีส่วนร่วมมากขึ้น
- โรงเรียนบ้านกุบังปะโหลด ภาษาไทย
นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ภาษาไทยทางการเรียนต่ำ บางคนไม่ผ่านเกณฑ์ที่กำหนด
ภาษาอังกฤษ
นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำ บางคนไม่ผ่านเกณฑ์ที่กำหนด ภาษาไทย
นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ภาษาไทยทางการเรียนสูงขึ้น ผ่านเกณฑ์ที่กำหนดทุกคน
ภาษาอังกฤษ
นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น ผ่านเกณฑ์ที่กำหนดทุกคน ภาษาไทย
นักเรียนมีทักษะการฟัง พูด อ่าน เขียน สูงขึ้นทุกคน
ภาษาอังกฤษ
นักเรียนมีทักษะการฟัง พูด อ่าน เขียน สูงขึ้นทุกคน
7. โรงเรียนบ้านบ่อหิน
ภาษาไทย
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1
มีนักเรียนที่มีผลสัมฤทธิ์ด้านการอ่านและการเขียนผ่านเกณฑ์ที่กำหนด ร้อยละ 70.73
และต่ำกว่าเกณฑ์ ร้อยละ 29.27
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
มีนักเรียนที่มีผลสัมฤทธิ์ด้านหลักภาษาผ่านเกณฑ์ที่กำหนด ร้อยละ57.14
และต่ำกว่าเกณฑ์ ร้อยละ 42.86
ภาษาอังกฤษ
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1
มีนักเรียนที่มีผลสัมฤทธิ์ด้านการอ่านเขียนพยัญชนะและสระภาษาอังกฤษ ผ่านเกณฑ์ที่กำหนด ร้อยละ 51.22 และต่ำกว่าเกณฑ์ ร้อยละ 48.78
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
มีนักเรียนที่มีผลสัมฤทธิ์ด้านการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสารผ่านเกณฑ์ที่กำหนด ร้อยละ 35.71
และต่ำกว่าเกณฑ์ร้อยละ64.29 ภาษาไทย
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1
มีนักเรียนที่มีผลสัมฤทธิ์ด้านการอ่านและการเขียนผ่านเกณฑ์ที่กำหนด ร้อยละ 85.37
และต่ำกว่าเกณฑ์ ร้อยละ 14.63
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
มีนักเรียนที่มีผลสัมฤทธิ์ด้านหลักภาษาผ่านเกณฑ์ที่กำหนด ร้อยละ 67.86
และต่ำกว่าเกณฑ์ ร้อยละ 32.14
ภาษาอังกฤษ
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1
มีนักเรียนที่มีผลสัมฤทธิ์ด้านการอ่านเขียนพยัญชนะและสระภาษาอังกฤษ ผ่านเกณฑ์ที่กำหนดร้อยละ 63.41 และต่ำกว่าเกณฑ์ ร้อยละ 36.59
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
มีนักเรียนที่มีผลสัมฤทธิ์ด้านการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสารผ่านเกณฑ์ที่กำหนด ร้อยละ 53.57
และต่ำกว่าเกณฑ์ ร้อยละ 46.43 ภาษาไทย
1. จำนวนนักเรียนที่มีผลสัมฤทธิ์ด้านการอ่านและการเขียนผ่านเกณฑ์เพิ่มขึ้น
2. จำนวนนักเรียนที่มีผลสัมฤทธิ์ด้านการใช้หลักภาษาผ่านเกณฑ์เพิ่มขึ้น
3. นักเรียนมีพฤติกรรมที่แสดงออกว่ามีความกระตือรือร้น เอาใจใส่ต่อการเรียนเพิ่มขึ้น
ภาษาอังกฤษ
1. จำนวนนักเรียนที่มีผลสัมฤทธิ์ด้านการอ่านเขียนพยัญชนะและสรภาษาอังกฤษเพิ่มขึ้น
2. จำนวนนักเรียนที่มีผลสัมฤทธิ์การใช้ภาษาเพื่อการสื่อสารเพิ่มขึ้น
3. นักเรียนมีพฤติกรรมที่แสดงออกว่ามีความกระตือรือร้น เอาใจใส่ต่อการเรียนเพิ่มขึ้น
- โรงเรียนบ้านทุ่งตำเสา ภาษาไทย
-นักเรียนชั้นประถม ศึกษาปีที่ 2 จำนวน 17 คน และประถมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 20 คน มีผลการอ่านในระดับพอใช้ขึ้นไป ร้อยละ 60
ภาษาอังกฤษ
-นักเรียนชั้นประถม ศึกษาปีที่ 4 จำนวน 26 คน มีผลการอ่านในระดับพอใช้ขึ้นไป ร้อยละ 60
ภาษาไทย
-นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 และ 3 มีจำนวนทั้งหมด 63 คน มีพัฒนาการด้านการอ่านดีขึ้น ร้อยละ 80
ภาษาอังกฤษ
-นักเรียนชั้นประถม ศึกษาปีที่ 4 มีพัฒนาการด้านการอ่านดีขึ้นร้อยละ 80
ภาษาไทย
- ครูผู้สอนใช้กิจกรรมการเรียนรู้ Active Learning ทำให้นักเรียนสามารถสร้างองค์ความรู้อย่างเข้าใจและมีความสุขในการเรียนรู้
- ครูออกแบบสื่อการเรียนรู้อย่างเหมาะสม ทำให้นักเรียนมีความเข้าใจมากยิ่งขึ้น
ภาษาอังกฤษ
- ครูผู้สอนใช้กิจกรรมการเรียนรู้ Active Learning ทำให้นักเรียนสนุกสนาน และมีความสุขในการเรียน
- ครูใช้สื่อการเรียนรู้ได้อย่างเหมาะสม
9. โรงเรียนบ้านทุ่งเสม็ด”มิตรภาพที่114” ภาษาไทย
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
นักเรียนมีความสามารถในทักษะภาษาไทย
- การอ่าน นักเรียนสามารถอ่านคล่องได้ร้อยละ 75
- การอ่านเพื่อความเข้าใจ มีผลการอ่านเพื่อความเข้าใจร้อยละ 60 ทักษะการเขียน
- การเขียนคำ มีความสามารถร้อยละ 75
- การเขียนเรื่องจากภาพ การเขียนบรรยายภาพ ร้อยละ 60
ภาษาอังกฤษ
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1
นักเรียนมีความสามารถด้านทักษะภาษาอังกฤษระดับพอใช้ ทักษะด้านการฟัง การออกเสียง อยู่ในระดับพอใช้ ความสามารถในการแสดงออก / ความมั่นใจในการใช้ภาษาอังกฤษตามระดับภาษา ตามวัยของผู้เรียน อยู่ในระดับพอใช้
ภาษาไทย
นักเรียนมีพัฒนาการในการเรียนภาษาไทยในทุกทักษะเพิ่มขึ้น มีความตั้งใจในการเรียน เกิดทักษะการใฝ่รู้ ใฝ่เรียน และการทำงานเพิ่มขึ้นช่วยเหลือซึ่งกันและกันมากขึ้น
ภาษาอังกฤษ
นักเรียนมีเจตคติที่ดีต่อการเรียนวิชาภาษาอังกฤษมากขึ้น ชอบและสนุกกับการเรียน มีความมั่นใจในการร่วมกิจกรรม กระตือรือร้นในการเรียนมากขึ้น
มีพัฒนาการด้านความสามารถด้านภาษามากขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม
ภาษาไทย
- ครูผู้สอนสร้างสื่อ ใช้สื่อในการจัดกิจกรรมการเรียน การสอน สร้างแรงจูงใจแก่ผู้เรียน
- ครูมีแผนการสอนที่ผ่านการตรวจ และร่วมจัดทำ เตรียมการสอน อย่างเป็นระบบ
- ครูมีทีมคอยช่วยเหลือ สนับสนุนให้คำปรึกษาในการจัดกิจกรรมที่เป็นActive Learning
- การนิเทศด้วยความเป็นกัลยาณมิตร
ภาษาอังกฤษ
- นักเรียนมีเจตคติรักในการเรียนภาษาอังกฤษ
- ครูออกแบบการเรียนการสอน เลือกการใช้สื่อเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับวัยของผู้เรียน รวมทั้งสื่ออื่น ๆ เหมาะสมกับความสนใจของผู้เรียน
- การสร้างบรรยากาศของการเรียน โดยใช้กิจกรรมที่เหมาะสมกับวัยของผู้เรียน
- ครูมีการเตรียมการสอน มีแผนการสอน ช่วยให้กิจกรรมการเรียนการสอนเป็นไปอย่างต่อเนื่อง ตามเนื้อหากิจกรรมอย่างเหมาะสม
- ครูมีทีมคอยช่วยเหลือ ให้คำปรึกษา เพื่อการปรับปรุงต่อเนื่อง
10. โรงเรียนอนุบาลท่าแพ ภาษาไทย ป.6
นักเรียนมีความสนใจในการเรียน คิดเป็นร้อยละ 70
ภาษาอังกฤษ ป.2
นักเรียนให้ความร่วมมือในการเรียนคิดเป็น ร้อยละ 65
ภาษาไทย ป.4
นักเรียนมีความสนใจในการเรียน คิดเป็นร้อยละ 70
ภาษาอังกฤษ ป.4
นักเรียนให้ความร่วมมือ คิดเป็นร้อยละ 75 ภาษาไทย ป.6
นักเรียนมีความสนใจในการเรียน คิดเป็นร้อยละ 90
ภาษาอังกฤษ ป.2
นักเรียนให้ความร่วมมือในการเรียนคิดเป็นร้อยละ 80
ภาษาไทย ป.4
นักเรียนมีความสนใจในการเรียน คิดเป็นร้อยละ 85
ภาษาอังกฤษ ป.4
นักเรียนให้ความร่วมมือคิดเป็นร้อยละ 95 นักเรียนมีความสนใจ และให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม รวมทั้งมีความกระตือรือร้นในการเรียน ทำให้นักเรียนกล้าพูด กล้าแสดงความคิดเห็น ในเนื้อหาที่สอน และมีความสนุกสนาน อยากเรียนรู้เพิ่มเติม
3.ผลการประเมินความพึงพอใจของโรงเรียน (โปรดระบุความพึงพอใจ โดยใช้เกณฑ์การประเมิน 5 ระดับ
ได้แก่ (1) น้อยที่สุด (2) น้อย (3) ปานกลาง (4) มาก และ (5) มากที่สุด
พร้อมระบุว่ามีความพึงพอใจในด้านใดมากที่สุด
โรงเรียน ด้านที่ความพึงพอใจมากที่สุด
1. โรงเรียนบ้านสาครเหนือ การพัฒนาการจัดกระบวนการเรียนการสอนและการนิเทศ
2. โรงเรียนบ้านทุ่งนุ้ย"มิตรภาพที่ 49" กระบวนการเรียนรู้แบบ Active learning
3 .โรงเรียนบ้านสาคร กระบวนการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning
4. โรงเรียนบ้านน้ำหรา กระบวนการนิเทศ ติดตามอย่างเป็นกัลยาณมิตร
5. โรงเรียนบ้านทุ่งดินลุ่ม ได้รับองค์ความรู้จากคำแนะนำของอาจารย์
6. โรงเรียนบ้านกุบังปะโหลด ด้านการจัดการเรียนรู้แบบ Active. Learning
7. โรงเรียนบ้านบ่อหิน ด้านการให้ความรู้ในกระบวนการ PLC กระบวนการจัดการเรียนรู้ในรูปแบบ Active Leaning และการสังเกตชั้นเรียน LS
8. โรงเรียนบ้านทุ่งตำเสา “ชูสินอุปถัมภ์”
กระบวนการจัดการเรียนรู้ของครู ลงสู่นักเรียน และมีเทคนิคการสอบแบบ Active Learning
9. โรงเรียนบ้านทุ่งเสม็ด”มิตรภาพที่114” การนิเทศ ติดตามอย่างเป็นกัลยาณมิตร
10. โรงเรียนอนุบาลท่าแพ การใช้กระบวนการจัดการเรียนรู้ แบบ Active Learning
80
0
13. กิจกรรมที่ 10 ประชุมเชิงปฏิบัติการคณะกรรมการ Core Team เพื่อร่วมสรุปโครงการถอดบทเรียนและจัดทำรายงานเผยแพร่ ในวันที่ 18 ธันวาคม 2562
วันที่ 18 ธันวาคม 2562กิจกรรมที่ทำ
กำหนดการ
โครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษาและการพัฒนาท้องถิ่นโดยมีสถาบันอุดมศึกษา
มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลาและวิทยาลัยชุมชนสตูลเป็นพี่เลี้ยง :
การสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพครูสู่การพัฒนาผู้เรียน จังหวัดสตูล
กิจกรรมที่ 10 ประชุมเชิงปฏิบัติการคณะกรรมการ Core Team เพื่อร่วมสรุปโครงการถอดบทเรียน
และจัดทำรายงานเผยแพร่
ในวันที่ 18 ธันวาคม 2562
ณ วิทยาลัยชุมชนสตูล อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล
08.00 น. – 08.30 น. - ลงทะเบียน
08.30 น. – 12.00 น. - ประชุมเชิงปฏิบัติการคณะกรรมการ Core Team เพื่อร่วมสรุปโครงการถอดบทเรียนและจัดทำรายงานเผยแพร่
12.00 น. – 13.00 น. - พักรับประทานอาหารกลางวัน
13.00 น. – 16.00 น. - (ต่อ) ประชุมเชิงปฏิบัติการคณะกรรมการ Core Team เพื่อร่วมสรุปโครงการถอดบทเรียนและจัดทำรายงานเผยแพร่
16.00 น. – 16.30 น. - สรุปผลการประชุม
1. ร่วมกำหนดแผนการดำเนินงานรายต่อไป
2. มอบหมายความรับผิดชอบ
3. ปิดการประชุม
หมายเหตุเวลา 10.30 น.-10.45 น. และ 14.30 น.-14.45 น. พักรับประทานอาหารว่าง
ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น
- ได้คณะกรรมการขับเคลื่อนโครงการ
- ได้รูปแบบ กระบวนการและแผนการ
ขับเคลื่อนกระบวนการ PLC
- ได้ทีมงาน PLC
- ได้ข้อมูลสภาพบริบท และความต้องการชุมชน
- ได้ฐานข้อมูลพื้นที่เป้าหมาย
- ได้ผลสรุปการดำเนินโครงการ
30
0
14. กิจกรรมที่ 11 ประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่อง การดำเนินงานจัดทำเอกสารรายงานโครงการและสรุปรายงานการวิจัย
วันที่ 25 ธันวาคม 2562กิจกรรมที่ทำ
กำหนดการ
โครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษาและการพัฒนาท้องถิ่นโดยมีสถาบันอุดมศึกษา
มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลาและวิทยาลัยชุมชนสตูลเป็นพี่เลี้ยง :
การสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพครูสู่การพัฒนาผู้เรียน จังหวัดสตูล
กิจกรรมที่ 11 ประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่อง การดำเนินงานจัดทำเอกสารรายงานโครงการ
และสรุปรายงานการวิจัย
ในวันที่ 25 ธันวาคม 2562 เวลา 08.30-16.30 น.
ณ วิทยาลัยชุมชนสตูล อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล
08.00 น. – 08.30 น. - ลงทะเบียน
08.30 น. – 12.00 น. - กิจกรรมที่ 11 ประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่อง การดำเนินงานจัดทำเอกสารรายงานโครงการ
และสรุปรายงานการวิจัย
12.00 น. – 13.00 น. - พักรับประทานอาหารกลางวัน
13.00 น. – 16.00 น. - (ต่อ) กิจกรรมที่ 11 ประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่อง การดำเนินงานจัดทำเอกสารรายงานโครงการและสรุปรายงานการวิจัย
16.00 น. – 16.30 น. - สรุปผลการประชุม
1. ร่วมกำหนดแผนการดำเนินงานรายต่อไป
2. มอบหมายความรับผิดชอบ
3. ปิดการประชุม
หมายเหตุเวลา 10.30 น.-10.45 น. และ 14.30 น.-14.45 น. พักรับประทานอาหารว่าง
ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น
- ได้คณะกรรมการขับเคลื่อนโครงการ
- ได้รูปแบบ กระบวนการและแผนการขับเคลื่อนกระบวนการ PLC
- ได้ทีมงาน PLC
- ได้ข้อมูลสภาพบริบท และความต้องการชุมชน
- ได้ฐานข้อมูลพื้นที่เป้าหมาย
- ได้ผลสรุปการดำเนินโครงการ
10
0
* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น
ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม
ผลการดำเนินโครงการ
สรุปผลการดำเนินโครงการ
ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
ผลผลิตโครงการ
วัตถุประสงค์ สถานการณ์ เป้าหมาย ผลผลิต อธิบาย
1
เพื่อแก้ปัญหาและพัฒนาคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนเป้าหมายให้เกิดความเข้มแข็งและพัฒนาท้องถิ่นได้ตรงตามบริบทของชุมชนโดยการพัฒนาคุณภาพครูผู้สอนภาษาไทยและภาษาอังกฤษ โดยกระบวนการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC)
ตัวชี้วัด : **1.เชิงปริมาณ**
1.1 จำนวนโรงเรียนเป้าหมายในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสตูล จำนวน 10 โรงเรียน โดยจำนวนครูที่เข้าร่วมโครงการไม่น้อยกว่า 80 คน
1.2 เครือข่ายความร่วมมือดำเนินการขับเคลื่อนกระบวนการ PLC สู่การพัฒนาครูเพื่อเพิ่มผลสัมฤทธิ์ต่อผู้เรียนด้านภาษาไทย และภาษาอังกฤษสถานศึกษาเป้าหมาย ตามแนวทางของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประกอบด้วยเครือข่ายสถาบันการศึกษา หน่วยงานและองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชน จังหวัดละไม่น้อยกว่า 5 องค์กร
1.3 คณาจารย์ บุคลากรของมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา วิทยาลัยชุมชนสตูล ร่วมขับเคลื่อนกระบวนการ PLC สู่การพัฒนาครูเพื่อเพิ่มผลสัมฤทธิ์ต่อผู้เรียนด้านภาษาไทย และภาษาอังกฤษสถานศึกษาเป้าหมาย ตามแนวทางของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน รวมจำนวนไม่น้อยกว่า 20 คน ประกอบด้วย คณาจารย์ จำนวน 15 คน บุคลากร จำนวน 5 คน
**2.เชิงคุณภาพ**
2.1 ผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรม โดยได้คะแนนประเมินเฉลี่ย 3.51 คะแนนขึ้นไป
2.2 ผู้เข้าร่วมกิจกรรมสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปใช้ให้เกิดประโยชน์ โดยได้คะแนนประเมินเฉลี่ย 3.51 คะแนนขึ้นไป
**3. เชิงเวลา**
3.1 สามารถจัดโครงการได้ตามระยะเวลาที่กำหนด
**4.เชิงต้นทุนต่อหน่วยกิจกรรม**
4.1 จำนวนงบประมาณ/จำนวนกิจกรรม=240,000 บาท/1=240,000 บาท
240000.00
2
เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดการยกระดับผลสัมฤทธิ์ด้านภาษาไทยและภาษาอังกฤษและเน้นคุณลักษณะที่ชุมชนต้องการของโรงเรียนเป้าหมาย
ตัวชี้วัด :
0.00
ผู้เข้าร่วมโครงการ
กลุ่มเป้าหมาย จำนวนที่วางไว้(คน) จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด
กลุ่มเป้าหมาย จำนวนที่วางไว้(คน) จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
บทคัดย่อ*
ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ
ปัญหาและอุปสรรค สาเหตุ ข้อเสนอแนะ
มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา:การสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพครูสู่การพัฒนาผู้เรียน จังหวัดสตูล จังหวัด สตูล
รหัสโครงการ
ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว
................................
( อาจารย์วรรณี กองพิธี )
ผู้รับผิดชอบโครงการ
......./............/.......
เครือข่ายอุดมศึกษา
“ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา:การสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพครูสู่การพัฒนาผู้เรียน จังหวัดสตูล ”
จังหวัดสตูลหัวหน้าโครงการ
อาจารย์วรรณี กองพิธี
ชื่อโครงการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา:การสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพครูสู่การพัฒนาผู้เรียน จังหวัดสตูล
ที่อยู่ จังหวัดสตูล จังหวัด สตูล
รหัสโครงการ เลขที่ข้อตกลง
ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 1 เมษายน 2562 ถึง 31 สิงหาคม 2562
กิตติกรรมประกาศ
"มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา:การสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพครูสู่การพัฒนาผู้เรียน จังหวัดสตูล จังหวัดสตูล" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน จังหวัดสตูล
คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ เครือข่ายอุดมศึกษา ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป
คณะทำงานโครงการ
มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา:การสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพครูสู่การพัฒนาผู้เรียน จังหวัดสตูล
บทคัดย่อ
โครงการ " มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา:การสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพครูสู่การพัฒนาผู้เรียน จังหวัดสตูล " ดำเนินการในพื้นที่ จังหวัดสตูล รหัสโครงการ ระยะเวลาการดำเนินงาน 1 เมษายน 2562 - 31 สิงหาคม 2562 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 240,000.00 บาท จาก เครือข่ายอุดมศึกษา เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 0 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้
โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ
หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"
สารบัญ
กิตติกรรมประกาศ | |
บทคัดย่อ | |
ความเป็นมา/หลักการเหตุผล | |
วัตถุประสงค์โครงการ | |
กิจกรรม/การดำเนินงาน | |
กลุ่มเป้าหมาย | |
ผลลัพธ์ที่ได้ | |
การประเมินผล | |
ปัญหาและอุปสรรค | |
ข้อเสนอแนะ | |
เอกสารประกอบอื่นๆ |
ความเป็นมา/หลักการเหตุผล
มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลาและวิทยาลัยชุมชนสตูล ได้ร่วมรับผิดชอบดำเนินการโครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษาและการพัฒนาท้องถิ่นโดยมีสถาบันอุดมศึกษาเป็นพี่เลี้ยงในพื้นที่จังหวัดสตูล มาตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 เพื่อสนองนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ ที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการในขณะนั้น กำหนดเป็นนโยบายสำคัญพร้อมมอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษาขับเคลื่อนผ่านเครือข่ายอุดมศึกษาภูมิภาคที่กระจายอยู่ทั่วประเทศ ประสานนโยบายให้สถาบันอุดมศึกษาประสานความร่วมมือกับทุกภาคส่วน ดำเนินพันธกิจของอุดมศึกษา ด้านการบริการวิชาการในบทบาทพี่เลี้ยงของโรงเรียนและชุมชน นำความพร้อมด้านองค์ความรู้ ความเชี่ยวชาญทางวิชาการ เทคโนโลยีและนวัตกรรมของสถาบันอุดมศึกษา ร่วมแก้ปัญหาการศึกษา การพัฒนาชาติ ยกระดับคุณภาพการจัดการศึกษา ให้โรงเรียนสามารถพัฒนาคน ให้เป็นพลังพัฒนาประเทศไปในทิศทางเดียวกัน ต่อมาได้มีการจัดสรรงบประมาณดำเนินการอย่างต่อเนื่อง ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2560 และในปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 โดยให้แต่ละกลุ่มสถาบัน ขยายจำนวนโรงเรียนเป้าหมาย ซึ่งกลุ่มมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลาและวิทยาลัยชุมชนสตูล ได้ขยายโรงเรียนเป้าหมายในแต่ละปีงบประมาณ จากจำนวน 2 โรงเรียนนำร่อง ในปีงบประมาณ 2559 เป็นจำนวน 14 โรงเรียน และจำนวน 34 โรงเรียน ในปีงบประมาณ 2560 และ 2561 ตามลำดับกำหนดแนวทางและเป้าหมายที่สอดคล้องกับแผนพัฒนาการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 – พ.ศ. 2564) เพื่อช่วยพัฒนาโรงเรียนประถมศึกษา ให้มีความเข้มแข็งทางวิชาการ ที่สามารถผลิตนักเรียนที่มีคุณภาพเข้าสู่ภาคอุดมศึกษา และเป็นทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณภาพ สามารถพัฒนาคุณภาพชีวิตและขับเคลื่อนประเทศไทยไปสู่ Thailand 4.0 ตามนโยบายของรัฐบาล สามารถนำประเทศไปสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน ตามยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2560 – พ.ศ. 2579)
การดำเนินงานโครงการของมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลาและวิทยาลัยชุมชนสตูลมุ่งดำเนินงานให้บรรลุเป้าหมาย การร่วมสร้างความเข้มแข็งทางวิชาการ ยกระดับคุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐานและการพัฒนาท้องถิ่นอย่างสอดคล้องกับบริบทชุมชนจังหวัดสตูล ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 นับเป็นปีที่ 4 ของการดำเนินงานโครงการฯ ซึ่งนอกเหนือจากการกำหนดให้ดำเนินกิจกรรมพัฒนาที่สอดคล้องกับแนวนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ สนองความต้องการร่วมกันของโรงเรียนและสถาบันอุดมศึกษา โดยเฉพาะสามารถส่งผลให้โรงเรียนเกิดการเปลี่ยนแปลงด้านคุณภาพการศึกษาอย่างรวดเร็ว หรือเห็นผลอย่างเป็นรูปธรรม
แนวคิดการนำกระบวนการสร้างชุมชนแห่งวิชาชีพ (PLC) นับเป็นแนวทางหนึ่งที่ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงที่ต้องการ เสริมส่งบทบาทความเป็นนักเรียนรู้ทั้งครูและนักเรียน เป็นการสร้างกลุ่ม“เพื่อนร่วมวิชาชีพ” อันเป็นกัลยาณมิตร รวมพลังเรียนรู้ ช่วยเหลือ แนะนำ ให้กำลังใจ และสะท้อนผลการปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง เป็นระบบ สามารถนำสู่เป้าหมายหลัก การปรับปรุง พัฒนาการจัดการเรียนการสอนของครู ไปพร้อมกับการเรียนรู้และพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ของผู้เรียน การดำเนินงานโครงการพัฒนาในปีงบประมาณ 2562 มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลาจึงดำเนินการขับเคลื่อนกระบวนการสร้างชุมชนทางการเรียนรู้ PLCสู่สถานศึกษาที่เน้นการยกระดับคุณภาพการศึกษา ในกลุ่มสาระภาษาไทยและภาษาอังกฤษและกิจกรรมบูรณาการวิชาการสู่วิชาชีพ เพื่อรองรับความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจและสังคม โดยเฉพาะการพัฒนาจังหวัดสตูลสู่การเป็นเมืองทางการศึกษาและเป็นเมืองท่องเที่ยวในระดับภูมิภาคและระดับโลกต่อไป โดยมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลาและวิทยาลัยชุมชนสตูลรับผิดชอบเป็นสถาบันอุดมศึกษาหลักในแต่ละโครงการพร้อมทั้งการบริหารจัดการโครงการและงบประมาณโดยมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลารับผิดชอบการเป็นสถาบันอุดมศึกษาหลักในโครงการ/กิจกรรมการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ส่วนวิทยาลัยชุมชนสตูลรับผิดชอบโครงการ/กิจกรรมการบริการทางวิชาการสู่วิชาชีพ พร้อมร่วมประสานการดำเนินงานการพัฒนา เพื่อไปสู่เป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลต่อไป
สถานการณ์
วัตถุประสงค์โครงการ
- เพื่อแก้ปัญหาและพัฒนาคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนเป้าหมายให้เกิดความเข้มแข็งและพัฒนาท้องถิ่นได้ตรงตามบริบทของชุมชนโดยการพัฒนาคุณภาพครูผู้สอนภาษาไทยและภาษาอังกฤษ โดยกระบวนการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC)
- เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดการยกระดับผลสัมฤทธิ์ด้านภาษาไทยและภาษาอังกฤษและเน้นคุณลักษณะที่ชุมชนต้องการของโรงเรียนเป้าหมาย
กิจกรรม/การดำเนินงาน
- กิจกรรมที่ 1 ประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่อง ศึกษาข้อกำหนดโครงการ นโยบาย หลักการ เป้าหมายสาระสำคัญของโครงการและศึกษารวบรวม จัดทำฐานข้อมูลที่สำคัญและเกี่ยวข้อง
- กิจกรรมที่ 2 ประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่อง วางแผนการดำเนินงาน/ปรับแผนการดำเนินโครงการ
- กิจกรรมที่ 3 ประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่อง การสร้างความร่วมมือ และร่วมกำหนดกลไกการดำเนินงานร่วมกับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสตูล
- กิจกรรมที่ 4 ประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่อง การกำหนดรูปแบบการดำเนิงานการขับเคลื่อนการะบวนการ PLC สู่สถานศึกษา ร่วมกับศึกษานิเทศก์ผู้เชี่ยวชาญวิชาภาษาไทย และภาษาอังกฤษ เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสตูล
- กิจกรรมที่ 5.1 ประชุมเชิงปฏิบัติdkiระดับ Core Team เพื่อกำหนดกลไกและกิจกรรมการนำกระบวนการ PLC สู่สถานศึกษาตามแผนงานโครงการ
- กิจกรรมที่ 5.2 ประชุมเชิงปฏิบัติการ Core Team : เตรียมการการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อขับเคลื่อนกระบวนการ PLC สู่สถานศึกษาและชั้นเรียน และตั้งกรรมการ PLC ระดับสถานศึกษา
- กิจกรรมที่ 6 อบรมเชิงปฏิบัติการ และการสร้างความรู้ ความเข้าใจ การจัดการเรียนรู้โดยกระบวนการ PLC การจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 (Active Learning) การจัดทำแผนการเรียนรู้สู่สถานศึกษา และการนำแผนการจัดการเรียนรู้สู่ชั้นเรียน
- กิจกรรมที่ 8 ประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่อง การนำแผนการปฏิบัติการเรียนรู้กระบวนการ PLC สู่สถานศึกษา สู่ชั้นเรียน และการนิเทศ ติดตาม และการประเมินผล และการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน (จากการติดตามผลการนิเทศช่วงที่ 1)
- กิจกรรมที่ 7 ประชุมเชิงปฏิบัติการ Core Team : วางแผน กำหนด การติดตาม ประเมินผล การนิเทศอย่างกัลยาณมิตร และสร้างพลัง แรงจูงใจ สาระวิชาภาษาไทย และภาษาอังกฤษ
- กิจกรรมที่ 7.1 กิจกรรมการติดตาม ประเมินผล และการนิเทศอย่างกัลยาณมิตร สร้างพลังและแรงจูงใจ (ช่วงที่ 1 จำนวน 5 ครั้ง)
- กิจกรรมที่ 8.1 กิจกรรมการติดตาม ประเมินผล และการนิเทศอย่างกัลยาณมิตร
- กิจกรรมที่ 9 ประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่อง การนำกระบวนการ PLC สู่สถานศึกษาและ จัดนิทรรศการทางวิชาการ Mini Show And Share เพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และถอดบทเรียนร่วมกัน และมอบเกียรติบัตรยกย่องเชิดชูเกียรติ การขับเคลื่อน PLC สู่สถานศึกษา
- กิจกรรมที่ 10 ประชุมเชิงปฏิบัติการคณะกรรมการ Core Team เพื่อร่วมสรุปโครงการถอดบทเรียนและจัดทำรายงานเผยแพร่ ในวันที่ 18 ธันวาคม 2562
- กิจกรรมที่ 11 ประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่อง การดำเนินงานจัดทำเอกสารรายงานโครงการและสรุปรายงานการวิจัย
กลุ่มเป้าหมาย
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวนที่วางไว้ |
---|
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
โรงเรียนสามารถใช้กระบวนการ PLC ในการขับเคลื่อนพัฒนาครูได้
ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน
วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์** กิจกรรมของโครงการ | ผลผลิต* | |
---|---|---|
ผลผลิตที่ตั้งไว้ | ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง | |
1. กิจกรรมที่ 1 ประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่อง ศึกษาข้อกำหนดโครงการ นโยบาย หลักการ เป้าหมายสาระสำคัญของโครงการและศึกษารวบรวม จัดทำฐานข้อมูลที่สำคัญและเกี่ยวข้อง |
||
วันที่ 19 เมษายน 2562กิจกรรมที่ทำ08.00 น. – 08.30 น. -ลงทะเบียน
08.30 น. – 12.00 น. -ประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่อง การศึกษาข้อกำหนดโครงการ นโยบาย หลักการ เป้าหมายสาระสำคัญของโครงการและศึกษารวบรวม จัดทำฐานข้อมูลที่สำคัญและเกี่ยวข้อง
12.00 น. – 13.00 น. -พักรับประทานอาหารกลางวัน
13.00 น. – 16.00 น. -(ต่อ) ประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่อง การศึกษาข้อกำหนดโครงการ นโยบาย หลักการ เป้าหมายสาระสำคัญของโครงการและศึกษารวบรวม จัดทำฐานข้อมูลที่สำคัญและเกี่ยวข้อง ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นได้ข้อกำหนดโครงการ นโยบาย หลักการ เป้าหมายสาระสำคัญของโครงการและศึกษารวบรวม จัดทำฐานข้อมูลที่สำคัญและเกี่ยวข้องร่วมกัน
|
12 | 0 |
2. กิจกรรมที่ 2 ประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่อง วางแผนการดำเนินงาน/ปรับแผนการดำเนินโครงการ |
||
วันที่ 20 เมษายน 2562กิจกรรมที่ทำ08.00 น. – 08.30 น. -ลงทะเบียน
08.30 น. – 12.00 น. -ประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่อง การวางแผน/ปรับแผนการดำเนินงานโครงการ ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจากการศึกษาข้อกำหนดโครงการ นโยบาย หลักการ เป้าหมายสาระสำคัญของโครงการและการศึกษารวบรวม จัดทำฐานข้อมูลที่สำคัญและเกี่ยวข้อง ร่วมกัน ประกอบด้วย คณะทำงานจากมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา และวิทยาลัยชุมชนสตูล ศึกษานิเทศก์ภาษาไทย และภาษาอังกฤษ จากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสตูล อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล สามารถกำหนดแผนงาน และปรับเปลี่ยนแผนงานเดิมของคณะทำงานได้สอดคล้องกับกลุ่มเป้าหมายทั้ง 10 โรงเรียนได้มากขึ้น
|
12 | 0 |
3. กิจกรรมที่ 3 ประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่อง การสร้างความร่วมมือ และร่วมกำหนดกลไกการดำเนินงานร่วมกับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสตูล |
||
วันที่ 21 เมษายน 2562กิจกรรมที่ทำ08.00 น. – 08.30 น. -ลงทะเบียน
08.30 น. – 12.00 น. -ประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่อง ร่วมสร้างความร่วมมือและร่วมกำหนดกลไก
การดำเนินงานร่วมกับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสตูล
12.00 น. – 13.00 น. -พักรับประทานอาหารกลางวัน
13.00 น. – 16.00 น. -(ต่อ) ประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่อง ร่วมสร้างความร่วมมือและร่วมกำหนดกลไกการดำเนินงานร่วมกับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสตูล ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นเมื่อทางคณะทำงานจากมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา และวิทยาลัยชุมชนสตูล ศึกษานิเทศก์ภาษาไทย และภาษาอังกฤษ จากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสตูล อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล ได้ปรับแผนงานโครงการให้ตอบโจทย์ได้มากที่สุดแล้ว ในกระบวนการประชุมเชิงปฏิบัติการ สร้างความร่วมมือ ทางคณะทำงานได้เชิญผู้อำนวยการ คณะครูภาษาไทย และภาษาอังกฤษที่เกี่ยวข้อง จำนวน 10 โรงเรียน ประกอบด้วย
1. โรงเรียนอนุบาลท่าแพ
|
18 | 0 |
4. กิจกรรมที่ 4 ประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่อง การกำหนดรูปแบบการดำเนิงานการขับเคลื่อนการะบวนการ PLC สู่สถานศึกษา ร่วมกับศึกษานิเทศก์ผู้เชี่ยวชาญวิชาภาษาไทย และภาษาอังกฤษ เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสตูล |
||
วันที่ 22 เมษายน 2562กิจกรรมที่ทำ08.00 น. – 08.30 น. -ลงทะเบียน
08.30 น. – 12.00 น. -ประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่อง การสร้างความรู้ ความเข้าใจ ร่วมกำหนดกิจกรรม การดำเนินงานร่วมกับศึกษานิเทศก์ผู้เชี่ยวชาญวิชาภาษาไทยและวิชาภาษาอังกฤษ เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสตูล ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นคณะทำงานจากมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา และวิทยาลัยชุมชนสตูล ศึกษานิเทศก์ภาษาไทย และภาษาอังกฤษ จากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสตูล อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล ผู้อำนวยการ คณะครูภาษาไทย และภาษาอังกฤษที่เกี่ยวข้อง จำนวน 10 โรงเรียน ประกอบด้วย
1. โรงเรียนอนุบาลท่าแพ
|
18 | 0 |
5. กิจกรรมที่ 5.1 ประชุมเชิงปฏิบัติdkiระดับ Core Team เพื่อกำหนดกลไกและกิจกรรมการนำกระบวนการ PLC สู่สถานศึกษาตามแผนงานโครงการ |
||
วันที่ 23 เมษายน 2562กิจกรรมที่ทำ08.00 น. – 08.30 น. -ลงทะเบียน
08.30 น. – 12.00 น. -ประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่อง การแต่งตั้งกรรมการขับเคลื่อน PLC ระดับเครือข่าย สร้างความเข้าใจ กำหนดกลไกการดำเนินงาน ร่วมกัน (สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสตูล ศึกษานิเทศก์วิชาภาษาไทยและวิชาภาษาอังกฤษ ผู้อำนวยการโรงเรียน และคณะดำเนินโครงการ ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นกำหนดทิศทางการทำงานในระดับ Core Team ให้เป็นไปตามแผนกิจกรรมตามโครงการ
|
30 | 0 |
6. กิจกรรมที่ 5.2 ประชุมเชิงปฏิบัติการ Core Team : เตรียมการการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อขับเคลื่อนกระบวนการ PLC สู่สถานศึกษาและชั้นเรียน และตั้งกรรมการ PLC ระดับสถานศึกษา |
||
วันที่ 24 เมษายน 2562กิจกรรมที่ทำ08.00 น. – 08.30 น. -ลงทะเบียน
08.30 น. – 12.00 น. -ประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่อง เตรียมการการจัดอบรมการอบรมเชิงปฏิบัติการ
เพื่อการขับเคลื่อนกระบวนการ PLC สู่สถานศึกษาและชั้นเรียน และตั้งกรรมการ PLC ระดับสถานศึกษา (สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสตูล ศึกษานิเทศก์วิชาภาษาไทยและวิชาภาษาอังกฤษ ผู้อำนวยการโรงเรียน และคณะดำเนินโครงการ ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นเป็นกิจกรรมประชุมเชิงปฏิบัติการ Core Team เพื่อเตรียทการในการอบรมเชิงปฏิบัติงาน การขับเคลื่อนกระบวนการ PLC สู่สถานศึกษา โดยการกำหนดแนวทางร่วมกัน เป้าหมายในการอบรมเชิงปฏิบัติการ รวมทั้งกระบวนการอื่นๆ ตลอดกระบวนการ
|
30 | 0 |
7. กิจกรรมที่ 6 อบรมเชิงปฏิบัติการ และการสร้างความรู้ ความเข้าใจ การจัดการเรียนรู้โดยกระบวนการ PLC การจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 (Active Learning) การจัดทำแผนการเรียนรู้สู่สถานศึกษา และการนำแผนการจัดการเรียนรู้สู่ชั้นเรียน |
||
วันที่ 8 พฤษภาคม 2562กิจกรรมที่ทำโครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษาและการพัฒนาท้องถิ่นโดยมีสถาบันอุดมศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลาและวิทยาลัยชุมชนสตูลเป็นพี่เลี้ยง : วันที่ 8 พฤษภาคม 2562
08.00 น. – 08.30 น. - ลงทะเบียน
08.30 น. – 09.00 น. - พิธีเปิด โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นิวัต กลิ่นงามอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา
09.00 น. – 11.00 น. - บรรยาย กิจกรรมเชิงปฏิบัติการกระบวนการกลุ่ม collaborative learning วิทยากร โดย อาจารย์วรรณี กองพิธี
11.00 น. – 12.00 น. ฝึกปฏิบัติการเรื่อง อบรมเชิงปฏิบัติการ Active learning วิทยากร โดย วันที่ 9 พฤษภาคม 2562
08.30 น. – 09.00 น. - ลงทะเบียน
09.00 น. – 11.00 น. - บรรยาย การขับเคลื่อนกระบวนการ PLC สู่สถานศึกษา - ชั้นเรียน วิทยากร โดย อาจารย์วรรณี กองพิธี
11.00 น. – 12.00 น. ฝึกปฏิบัติการเรื่อง การขับเคลื่อนกระบวนการ PLC สู่สถานศึกษา - ชั้นเรียน
วิทยากร โดย วันที่ 10 พฤษภาคม 2562
08.30 น. – 09.00 น. - ลงทะเบียน
09.00 น. – 11.00 น. - บรรยาย lesson study /การเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ (lesson plan) แบบ active learning
วิทยากร โดย วิทยากร โดย อาจารย์วรรณี กองพิธี
11.00 น. – 12.00 น. ฝึกปฏิบัติการเรื่อง อบรมเชิงปฏิบัติการการเขียนแผนการเรียนรู้ ทวนสอบแผนการสอนโดยคู่บัดดี้ ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นกลุ่มเป้าหมายทั้ง 10 โรงเรียน เข้าใจการทำงานร่วมกันแบบทีม เรียนรู้ที่ครูเป็นผู้นำร่วมกัน และผู้บริหารแบบผู้ดูแลสนับสนุน สู่การเรียนรู้และพัฒนาวิชาชีพเปลี่ยนแปลงคุณภาพตนเอง สู่คุณภาพการจัดการเรียนรู้ที่เน้นความสำเร็จหรือประสิทธิผลของผู้เรียนเป็นสำคัญ และความสุขของการทำงานร่วมกันของสมาชิกในชุมชนการเรียนรู้ โดยการปฏิบัติการกระบวนการกลุ่ม collaborative learning การอบรมเชิงปฏิบัติการ Active learning
|
80 | 0 |
8. กิจกรรมที่ 7 ประชุมเชิงปฏิบัติการ Core Team : วางแผน กำหนด การติดตาม ประเมินผล การนิเทศอย่างกัลยาณมิตร และสร้างพลัง แรงจูงใจ สาระวิชาภาษาไทย และภาษาอังกฤษ |
||
วันที่ 16 มิถุนายน 2562กิจกรรมที่ทำกำหนดการ
โครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษาและการพัฒนาท้องถิ่นโดยมีสถาบันอุดมศึกษา
มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลาและวิทยาลัยชุมชนสตูลเป็นพี่เลี้ยง : 08.00 น. – 08.30 น. - ลงทะเบียน 08.30 น. – 12.00 น. - ประชุมเชิงปฏิบัติการ Core Team : วางแผน กำหนด การติดตามประเมินผล การนิเทศอย่างกัลยาณมิตร และสร้างพลัง แรงจูงใจ สาระวิชาภาษาไทย และภาษาอังกฤษ 12.00 น. – 13.00 น. - พักรับประทานอาหารกลางวัน 13.00 น. – 16.00 น. - (ต่อ) ประชุมเชิงปฏิบัติการ Core Team : วางแผน กำหนด การติดตาม ประเมินผล การนิเทศอย่างกัลยาณมิตร และสร้างพลัง แรงจูงใจ สาระวิชาภาษาไทย และภาษาอังกฤษ 16.00 น. – 16.30 น. - สรุปผลการประชุม 1. ร่วมกำหนดแผนการดำเนินงานรายต่อไป 2. มอบหมายความรับผิดชอบ 3. ปิดการประชุม
ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นประชุมเชิงปฏิบัติการ Core Team : เพื่อวางแผน กำหนด การติดตาม ประเมินผล การนิเทศอย่างกัลยาณมิตร และสร้างพลัง แรงจูงใจ สาระวิชาภาษาไทย และภาษาอังกฤษ โรงเรียนกลุ่มเป้าหมาย ระหว่างวันที่ 17-21 มิถุนายน 2562
|
30 | 0 |
9. กิจกรรมที่ 7.1 กิจกรรมการติดตาม ประเมินผล และการนิเทศอย่างกัลยาณมิตร สร้างพลังและแรงจูงใจ (ช่วงที่ 1 จำนวน 5 ครั้ง) |
||
วันที่ 17 มิถุนายน 2562กิจกรรมที่ทำกำหนดการ
โครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษาและการพัฒนาท้องถิ่นโดยมีสถาบันอุดมศึกษา
มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลาและวิทยาลัยชุมชนสตูลเป็นพี่เลี้ยง : กิจกรรมที่ 7.1 กิจกรรมการติดตาม ประเมินผล และการนิเทศอย่างกัลยาณมิตร สร้างพลังและแรงจูงใจ 08.00 น. – 08.30 น. - ลงทะเบียน
08.30 น. – 12.00 น. - ติดตาม ประเมินผล และการนิเทศอย่างกัลยาณมิตร สร้างพลัง
และแรงจูงใจ ณ โรงเรียนบ้านทุ่งนุ้ย
12.00 น. – 13.00 น. - พักรับประทานอาหารกลางวัน
13.00 น. – 16.30 น. - ติดตาม ประเมินผล และการนิเทศอย่างกัลยาณมิตร สร้างพลัง
และแรงจูงใจ ณ โรงเรียนบ้านน้ำหรา 08.00 น. – 08.30 น. - ลงทะเบียน
08.30 น. – 12.00 น. - ติดตาม ประเมินผล และการนิเทศอย่างกัลยาณมิตร สร้างพลัง
และแรงจูงใจ ณ โรงเรียนบ้านทุ่งตำเสา
12.00 น. – 13.00 น. - พักรับประทานอาหารกลางวัน
13.00 น. – 16.30 น. - ติดตาม ประเมินผล และการนิเทศอย่างกัลยาณมิตร สร้างพลัง
และแรงจูงใจ ณ โรงเรียนบ้านกุบังปะโหลด 08.00 น. – 08.30 น. - ลงทะเบียน
08.30 น. – 12.00 น. - ติดตาม ประเมินผล และการนิเทศอย่างกัลยาณมิตร สร้างพลัง
และแรงจูงใจ ณ โรงเรียนบ้านบ่อหิน
12.00 น. – 13.00 น. - พักรับประทานอาหารกลางวัน
13.00 น. – 16.30 น. - ติดตาม ประเมินผล และการนิเทศอย่างกัลยาณมิตร สร้างพลัง
และแรงจูงใจ ณ โรงเรียนบ้านทุ่งดินลุ่ม 08.00 น. – 08.30 น. - ลงทะเบียน
08.30 น. – 12.00 น. - ติดตาม ประเมินผล และการนิเทศอย่างกัลยาณมิตร สร้างพลัง
และแรงจูงใจ ณ โรงเรียนอนุบาลท่าแพ
12.00 น. – 13.00 น. - พักรับประทานอาหารกลางวัน
13.00 น. – 16.30 น. - ติดตาม ประเมินผล และการนิเทศอย่างกัลยาณมิตร สร้างพลัง
และแรงจูงใจ ณ โรงเรียนบ้านทุ่งเสม็ด
(ช่วงที่ 1 ครั้งที่ 5) 08.00 น. – 08.30 น. - ลงทะเบียน 08.30 น. – 12.00 น. - ติดตาม ประเมินผล และการนิเทศอย่างกัลยาณมิตร สร้างพลัง และแรงจูงใจ ณ โรงเรียนบ้านสาครเหนือ 12.00 น. – 13.00 น. - พักรับประทานอาหารกลางวัน 13.00 น. – 16.30 น. - ติดตาม ประเมินผล และการนิเทศอย่างกัลยาณมิตร สร้างพลัง และแรงจูงใจ ณ โรงเรียนบ้านสาคร ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจากการติดตาม ประเมินผล และการนิเทศอย่างกัลยาณมิตร สร้างพลังและแรงจูงใจ โรงเรียนกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 10 โรงเรียน ประกอบด้วย
|
30 | 0 |
10. กิจกรรมที่ 8 ประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่อง การนำแผนการปฏิบัติการเรียนรู้กระบวนการ PLC สู่สถานศึกษา สู่ชั้นเรียน และการนิเทศ ติดตาม และการประเมินผล และการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน (จากการติดตามผลการนิเทศช่วงที่ 1) |
||
วันที่ 27 มิถุนายน 2562กิจกรรมที่ทำรายชื่อคณะโรงเรียนศึกษาดูงานที่เข้าร่วมโครงการ มีดังนี้ ๑. คณาจารย์ มหาวิทยาลัยพี่เลี้ยง มหาวิทยาลันราชภัฏสงขลา และวิทยาลัยชุมชน จำนวน 9 คน ๒. ศึกษานิเทศก์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสตูล จำนวน 1 คน ๓. ผู้บริหารและครู โรงเรียนบ้านทุ่งตำเสาฯ จำนวน ๕ คน ๔. ผู้บริหารและครู โรงเรียนบ้านน้ำหรา จำนวน ๕ คน ๕. ผู้บริหารและครู ผู้บริหารและครู โรงเรียนบ้านทุ่งนุ้ย “มิตรภาพที่ ๔๙” จำนวน ๕ คน ๖. ผู้บริหารและครู โรงเรียนบ้านทุ่งเสม็ด จำนวน ๑๐ คน ๗. ผู้บริหารและครู โรงเรียนอนุบาลท่าแพ จำนวน ๖ คน ๘. ผู้บริหารและครู โรงเรียนบ้านสาครเหนือ จำนวน ๕ คน ๙. ผู้บริหารและครู โรงเรียนบ้านกุบังปะโหลด จำนวน ๔ คน ๑๐. ผู้บริหารและครู โรงเรียนบ้านบ่อหิน จำนวน ๑๖ คน ๑๑. ผู้บริหารและครู โรงเรียนบ้านสาคร จำนวน ๑๔ คน กำหนดการ
โครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษาและการพัฒนาท้องถิ่นโดยมีสถาบันอุดมศึกษา
มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลาและวิทยาลัยชุมชนสตูลเป็นพี่เลี้ยง : ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจากการประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่อง การนำแผนการปฏิบัติการเรียนรู้กระบวนการ PLC สู่สถานศึกษา สู่ชั้นเรียน และการนิเทศ ติดตาม และการประเมินผล และการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน (จากการติดตามผลการนิเทศช่วงที่ 1) ณ โรงเรียนเทศบาลบ้านบางเหนียว อำเภอเมืองภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต เป็นแนวทางหนึ่งในการจัดกระบวนการเรียนการสอนของครูให้มีความน่าสนใจขึ้น เพื่อวิเคราะห์ศักยภาพของผู้เรียนและพัฒนาการเรียนรู้ ซึ่งคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล รวมทั้งนำผลจากพัฒนาการของนักเรียนไปวางแผนและปรับเปลี่ยนการจัดการเรียนการสอน เพื่อพัฒนาผู้เรียนได้อย่างเต็มศักยภาพ
|
80 | 0 |
11. กิจกรรมที่ 8.1 กิจกรรมการติดตาม ประเมินผล และการนิเทศอย่างกัลยาณมิตร |
||
วันที่ 27 สิงหาคม 2562กิจกรรมที่ทำกำหนดการ
โครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษาและการพัฒนาท้องถิ่นโดยมีสถาบันอุดมศึกษา
มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลาและวิทยาลัยชุมชนสตูลเป็นพี่เลี้ยง : 08.00 น. – 08.30 น. - ลงทะเบียน 08.30 น. – 12.00 น. - ติดตาม ประเมินผล และการนิเทศอย่างกัลยาณมิตร สร้างพลัง และแรงจูงใจ ณ โรงเรียนบ้านทุ่งตำเสา 12.00 น. – 13.00 น. - พักรับประทานอาหารกลางวัน 13.00 น. – 16.30 น. - ติดตาม ประเมินผล และการนิเทศอย่างกัลยาณมิตร สร้างพลัง และแรงจูงใจ ณ โรงเรียนบ้านกุบังปะโหลด
กำหนดการ
โครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษาและการพัฒนาท้องถิ่นโดยมีสถาบันอุดมศึกษา
มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลาและวิทยาลัยชุมชนสตูลเป็นพี่เลี้ยง : 08.00 น. – 08.30 น. - ลงทะเบียน 08.30 น. – 12.00 น. - ติดตาม ประเมินผล และการนิเทศอย่างกัลยาณมิตร สร้างพลัง และแรงจูงใจ ณ โรงเรียนบ้านสาครเหนือ 12.00 น. – 13.00 น. - พักรับประทานอาหารกลางวัน 13.00 น. – 16.30 น. - ติดตาม ประเมินผล และการนิเทศอย่างกัลยาณมิตร สร้างพลัง และแรงจูงใจ ณ โรงเรียนบ้านสาคร
กำหนดการ
โครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษาและการพัฒนาท้องถิ่นโดยมีสถาบันอุดมศึกษา
มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลาและวิทยาลัยชุมชนสตูลเป็นพี่เลี้ยง : 08.00 น. – 08.30 น. - ลงทะเบียน 08.30 น. – 12.00 น. - ติดตาม ประเมินผล และการนิเทศอย่างกัลยาณมิตร สร้างพลัง และแรงจูงใจ ณ โรงเรียนบ้านบ่อหิน 12.00 น. – 13.00 น. - พักรับประทานอาหารกลางวัน 13.00 น. – 16.30 น. - ติดตาม ประเมินผล และการนิเทศอย่างกัลยาณมิตร สร้างพลัง และแรงจูงใจ ณ โรงเรียนบ้านทุ่งดินลุ่ม
กำหนดการ
โครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษาและการพัฒนาท้องถิ่นโดยมีสถาบันอุดมศึกษา
มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลาและวิทยาลัยชุมชนสตูลเป็นพี่เลี้ยง : 08.00 น. – 08.30 น. - ลงทะเบียน 08.30 น. – 12.00 น. - ติดตาม ประเมินผล และการนิเทศอย่างกัลยาณมิตร สร้างพลัง และแรงจูงใจ ณ โรงเรียนอนุบาลท่าแพ 12.00 น. – 13.00 น. - พักรับประทานอาหารกลางวัน 13.00 น. – 16.30 น. - ติดตาม ประเมินผล และการนิเทศอย่างกัลยาณมิตร สร้างพลัง และแรงจูงใจ ณ โรงเรียนบ้านทุ่งนุ้ย
กำหนดการ
โครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษาและการพัฒนาท้องถิ่นโดยมีสถาบันอุดมศึกษา
มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลาและวิทยาลัยชุมชนสตูลเป็นพี่เลี้ยง : 08.00 น. – 08.30 น. - ลงทะเบียน 08.30 น. – 12.00 น. - ติดตาม ประเมินผล และการนิเทศอย่างกัลยาณมิตร สร้างพลัง และแรงจูงใจ ณ โรงเรียนบ้านน้ำหรา 12.00 น. – 13.00 น. - พักรับประทานอาหารกลางวัน 13.00 น. – 16.30 น. - ติดตาม ประเมินผล และการนิเทศอย่างกัลยาณมิตร สร้างพลัง และแรงจูงใจ ณ โรงเรียนบ้านทุ่งเสม็ด
ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจากการติดตาม ประเมินผล และการนิเทศอย่างกัลยาณมิตร สร้างพลังและแรงจูงใจ โรงเรียนกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 10 โรงเรียน ประกอบด้วย
|
80 | 0 |
12. กิจกรรมที่ 9 ประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่อง การนำกระบวนการ PLC สู่สถานศึกษาและ จัดนิทรรศการทางวิชาการ Mini Show And Share เพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และถอดบทเรียนร่วมกัน และมอบเกียรติบัตรยกย่องเชิดชูเกียรติ การขับเคลื่อน PLC สู่สถานศึกษา |
||
วันที่ 11 ธันวาคม 2562กิจกรรมที่ทำกำหนดการ
โครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษาและการพัฒนาท้องถิ่นโดยมีสถาบันอุดมศึกษา
มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลาและวิทยาลัยชุมชนสตูลเป็นพี่เลี้ยง : 08.00 น. – 08.30 น. - ลงทะเบียน 08.30 น. – 12.00 น. - ประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่อง การนำกระบวนการ PLC สู่สถานศึกษาและ จัดนิทรรศการทางวิชาการ Mini Show And Share เพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และถอดบทเรียนร่วมกันและมอบเกียรติบัตรยกย่องเชิดชูเกียรติ การขับเคลื่อน PLC สู่สถานศึกษา 12.00 น. – 13.00 น. - พักรับประทานอาหารกลางวัน 13.00 น. – 16.00 น. - (ต่อ) ประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่อง การนำกระบวนการ PLC สู่สถานศึกษาและจัดนิทรรศการทางวิชาการ Mini Show And Share เพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และถอดบทเรียนร่วมกันและมอบเกียรติบัตรยกย่องเชิดชูเกียรติ การขับเคลื่อน PLC สู่สถานศึกษา 16.00 น. – 16.30 น. - สรุปผลการประชุม 1. ร่วมกำหนดแผนการดำเนินงานรายต่อไป 2. มอบหมายความรับผิดชอบ 3. ปิดการประชุม
ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นสรุปข้อมูลการติดตามผลการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจากการดำเนินโครงการใน 10 โรงเรียนเป้าหมาย
โครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษาและการพัฒนาท้องถิ่นโดยมีสถาบันอุดมศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลาเป็นพี่เลี้ยง
: การสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพครูสู่การพัฒนาผู้เรียน จังหวัดสตูล
(ตามแบบ สกอ.)
1.ผลการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น
ชื่อโรงเรียน การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น
โรงเรียน ครู นักเรียน
1. โรงเรียนบ้านสาครเหนือ โรงเรียนสามารถมีแนวทางในการนิเทศและ PLC ที่นำมาใช้ในการบริหารจัดการที่เป็นรูปธรรม ครูมีการเตรียมความพร้อมในการจัดการเรียนการสอนและกระตือรือร้นในการจัด การเรียนการสอน มีการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนดีขึ้น นักเรียนมีส่วนร่วมในการจัดการเรียนการสอนของครูมากขึ้น เพราะครูมีการปรับเปลี่ยนกระบวนการสอน ผ่านกระบวน การ Active learning
2. โรงเรียนบ้านทุ่งนุ้ย"มิตรภาพที่ 49" โรงเรียนได้พัฒนาบุคลากรและยกผลสัมฤทธิ์ได้สูงขึ้น ครูได้ปรับเปลี่ยนการสอนได้รับคำปรึกษาจากเพื่อนครูด้วยกัน ได้จัดการเรียนการสอนที่หลาก หลายตรงกับตัวชี้วัดทำให้ผลการเรียนดีขึ้น
3. โรงเรียนบ้านสาคร โรงเรียนมีระบบการนิเทศ และการทำ PLC ที่ชัดเจนขึ้น ครูได้พัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ มีสื่อและวิธีการสอนที่หลากหลาย นักเรียนสนใจการเรียนมากขึ้น มีความกระตือรือร้น สนุกสนาน กล้าคิดกล้าแสดงออก มีเจตคติที่ดีต่อวิชาที่เรียน เกิดการเรียนรู้ที่ดีขึ้น
4. โรงเรียนบ้านน้ำหรา
โรงเรียนได้มีการวางแผนในการขับเคลื่อนกระบวนการ PLC อย่างเป็นระบบ มีการนิเทศการสอนบ่อยขึ้น มีการประชุมปรึกษาหารือเกี่ยวกับผล และปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง เพื่อปรับปรุงและพัฒนาให้ดียิ่งขึ้น ครูผู้สอนมีเทคนิคในการจัดกระบวนการเรียนการสอนเพิ่มขึ้น มีการจัดทำสื่อการสอนหลากหลายและเป็นที่ดึงดูดความสนใจของนักเรียนได้ดี ครูมีการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน แลกเปลี่ยนประสบการณ์กัน ในการจัดกระบวนการจัดการเรียนการสอน นักเรียนมีความสนใจ อยากรู้อยากเรียน มีความสุขสนุกสนานไปกับบทเรียน กิจกรรม และสื่อที่ครูผู้สอนใช้ในการจัดกระบวนการเรียนการสอน ทำให้นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจในบทเรียนมากขึ้น
5. โรงเรียนบ้านทุ่งดินลุ่ม โรงเรียนมีระบบ PLC ที่มีคุณภาพมากขึ้น ครูได้รับคำแนะนำจากคณะอาจารย์ นักเรียนมีส่วนร่วมในการเรียนมากขึ้น
6. โรงเรียนบ้านกุบังปะโหลด มีการบริหารจัดการที่เป็นระบบมากขึ้น มีการประชุม ร่วมกัน PLC ผลการดำเนิน งาน ร่วมกันแก้ปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นทุกเดือน, ผู้ปกครองให้ความเชื่อมั่นในตัวครูผู้สอนสาระต่าง ๆ และการบริหารจัดการของโรงเรียน ครูมีความรู้ความเข้าใจกระบวนการ PLC การจัดการ เรียนรู้แบบ Active Learning การพัฒนาแผน การจัดการเรียนรู้ ครูมีความตระหนัก พยายามจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning จัดหา จัดทำสื่อการเรียนรู้ที่น่าสนใจ กระตุ้นการเรียนรู้ของนักเรียน นักเรียนเรียนรู้อย่างสนุกสนาน มีความสุข มีความรู้ความเข้าใจเรื่องที่เรียน มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น
7. โรงเรียนบ้านบ่อหิน 1. มีระบบการบริหาร การนิเทศภายในที่เป็นระบบ 2. มีรูปแบบในการดำเนินงานกิจกรรม PLC ที่เป็นรูปธรรม 3. มีการจัดกิจกรรม LS ที่เป็นรูปธรรม 4. มีเอกสาร หลักฐานที่เป็นรูปธรรม 1. เข้าใจและเปิดใจยอมรับกระบวนการนิเทศในรูปแบบต่าง ๆ 2. มีการทำงานเป็นทีมทำให้เกิดสัมพันธภาพที่ดีระหว่างเพื่อนร่วมงาน 3. มีการเตรียมการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่หลากหลาย 4. มีการผลิตสื่อ/นวัตกรรมที่หลากหลาย 5. ได้รับผลสะท้อนกลับเพื่อส่งเสริมหรือพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้ดีขึ้น 1. ได้เรียนรู้ด้วยกระบวนการที่หลากหลายและเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ 2. นักเรียนได้ลงมือปฏิบัติกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยตนเอง
ภาษาอังกฤษ นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น ผ่านเกณฑ์ที่กำหนดทุกคน ภาษาไทย นักเรียนมีทักษะการฟัง พูด อ่าน เขียน สูงขึ้นทุกคน ภาษาอังกฤษ นักเรียนมีทักษะการฟัง พูด อ่าน เขียน สูงขึ้นทุกคน 7. โรงเรียนบ้านบ่อหิน ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 มีนักเรียนที่มีผลสัมฤทธิ์ด้านการอ่านและการเขียนผ่านเกณฑ์ที่กำหนด ร้อยละ 70.73 และต่ำกว่าเกณฑ์ ร้อยละ 29.27 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
มีนักเรียนที่มีผลสัมฤทธิ์ด้านหลักภาษาผ่านเกณฑ์ที่กำหนด ร้อยละ57.14 ภาษาอังกฤษ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 มีนักเรียนที่มีผลสัมฤทธิ์ด้านการอ่านเขียนพยัญชนะและสระภาษาอังกฤษ ผ่านเกณฑ์ที่กำหนด ร้อยละ 51.22 และต่ำกว่าเกณฑ์ ร้อยละ 48.78 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีนักเรียนที่มีผลสัมฤทธิ์ด้านการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสารผ่านเกณฑ์ที่กำหนด ร้อยละ 35.71 และต่ำกว่าเกณฑ์ร้อยละ64.29 ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 มีนักเรียนที่มีผลสัมฤทธิ์ด้านการอ่านและการเขียนผ่านเกณฑ์ที่กำหนด ร้อยละ 85.37 และต่ำกว่าเกณฑ์ ร้อยละ 14.63 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
มีนักเรียนที่มีผลสัมฤทธิ์ด้านหลักภาษาผ่านเกณฑ์ที่กำหนด ร้อยละ 67.86 ภาษาอังกฤษ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 มีนักเรียนที่มีผลสัมฤทธิ์ด้านการอ่านเขียนพยัญชนะและสระภาษาอังกฤษ ผ่านเกณฑ์ที่กำหนดร้อยละ 63.41 และต่ำกว่าเกณฑ์ ร้อยละ 36.59 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีนักเรียนที่มีผลสัมฤทธิ์ด้านการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสารผ่านเกณฑ์ที่กำหนด ร้อยละ 53.57 และต่ำกว่าเกณฑ์ ร้อยละ 46.43 ภาษาไทย 1. จำนวนนักเรียนที่มีผลสัมฤทธิ์ด้านการอ่านและการเขียนผ่านเกณฑ์เพิ่มขึ้น 2. จำนวนนักเรียนที่มีผลสัมฤทธิ์ด้านการใช้หลักภาษาผ่านเกณฑ์เพิ่มขึ้น 3. นักเรียนมีพฤติกรรมที่แสดงออกว่ามีความกระตือรือร้น เอาใจใส่ต่อการเรียนเพิ่มขึ้น ภาษาอังกฤษ 1. จำนวนนักเรียนที่มีผลสัมฤทธิ์ด้านการอ่านเขียนพยัญชนะและสรภาษาอังกฤษเพิ่มขึ้น 2. จำนวนนักเรียนที่มีผลสัมฤทธิ์การใช้ภาษาเพื่อการสื่อสารเพิ่มขึ้น 3. นักเรียนมีพฤติกรรมที่แสดงออกว่ามีความกระตือรือร้น เอาใจใส่ต่อการเรียนเพิ่มขึ้น
ภาษาอังกฤษ -นักเรียนชั้นประถม ศึกษาปีที่ 4 จำนวน 26 คน มีผลการอ่านในระดับพอใช้ขึ้นไป ร้อยละ 60 ภาษาไทย -นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 และ 3 มีจำนวนทั้งหมด 63 คน มีพัฒนาการด้านการอ่านดีขึ้น ร้อยละ 80 ภาษาอังกฤษ
-นักเรียนชั้นประถม ศึกษาปีที่ 4 มีพัฒนาการด้านการอ่านดีขึ้นร้อยละ 80
ภาษาไทย
- ครูผู้สอนใช้กิจกรรมการเรียนรู้ Active Learning ทำให้นักเรียนสามารถสร้างองค์ความรู้อย่างเข้าใจและมีความสุขในการเรียนรู้
- ครูออกแบบสื่อการเรียนรู้อย่างเหมาะสม ทำให้นักเรียนมีความเข้าใจมากยิ่งขึ้น
ภาษาอังกฤษ
- ครูผู้สอนใช้กิจกรรมการเรียนรู้ Active Learning ทำให้นักเรียนสนุกสนาน และมีความสุขในการเรียน
- ครูใช้สื่อการเรียนรู้ได้อย่างเหมาะสม
9. โรงเรียนบ้านทุ่งเสม็ด”มิตรภาพที่114” ภาษาไทย
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
นักเรียนมีความสามารถในทักษะภาษาไทย ภาษาไทย
นักเรียนมีพัฒนาการในการเรียนภาษาไทยในทุกทักษะเพิ่มขึ้น มีความตั้งใจในการเรียน เกิดทักษะการใฝ่รู้ ใฝ่เรียน และการทำงานเพิ่มขึ้นช่วยเหลือซึ่งกันและกันมากขึ้น
ภาษาอังกฤษ
นักเรียนมีเจตคติที่ดีต่อการเรียนวิชาภาษาอังกฤษมากขึ้น ชอบและสนุกกับการเรียน มีความมั่นใจในการร่วมกิจกรรม กระตือรือร้นในการเรียนมากขึ้น 3.ผลการประเมินความพึงพอใจของโรงเรียน (โปรดระบุความพึงพอใจ โดยใช้เกณฑ์การประเมิน 5 ระดับ
|
80 | 0 |
13. กิจกรรมที่ 10 ประชุมเชิงปฏิบัติการคณะกรรมการ Core Team เพื่อร่วมสรุปโครงการถอดบทเรียนและจัดทำรายงานเผยแพร่ ในวันที่ 18 ธันวาคม 2562 |
||
วันที่ 18 ธันวาคม 2562กิจกรรมที่ทำกำหนดการ
โครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษาและการพัฒนาท้องถิ่นโดยมีสถาบันอุดมศึกษา
มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลาและวิทยาลัยชุมชนสตูลเป็นพี่เลี้ยง : 08.00 น. – 08.30 น. - ลงทะเบียน
08.30 น. – 12.00 น. - ประชุมเชิงปฏิบัติการคณะกรรมการ Core Team เพื่อร่วมสรุปโครงการถอดบทเรียนและจัดทำรายงานเผยแพร่
12.00 น. – 13.00 น. - พักรับประทานอาหารกลางวัน
13.00 น. – 16.00 น. - (ต่อ) ประชุมเชิงปฏิบัติการคณะกรรมการ Core Team เพื่อร่วมสรุปโครงการถอดบทเรียนและจัดทำรายงานเผยแพร่
ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น- ได้คณะกรรมการขับเคลื่อนโครงการ
- ได้รูปแบบ กระบวนการและแผนการ
|
30 | 0 |
14. กิจกรรมที่ 11 ประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่อง การดำเนินงานจัดทำเอกสารรายงานโครงการและสรุปรายงานการวิจัย |
||
วันที่ 25 ธันวาคม 2562กิจกรรมที่ทำกำหนดการ
โครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษาและการพัฒนาท้องถิ่นโดยมีสถาบันอุดมศึกษา
มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลาและวิทยาลัยชุมชนสตูลเป็นพี่เลี้ยง : 08.00 น. – 08.30 น. - ลงทะเบียน
08.30 น. – 12.00 น. - กิจกรรมที่ 11 ประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่อง การดำเนินงานจัดทำเอกสารรายงานโครงการ
และสรุปรายงานการวิจัย
12.00 น. – 13.00 น. - พักรับประทานอาหารกลางวัน
13.00 น. – 16.00 น. - (ต่อ) กิจกรรมที่ 11 ประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่อง การดำเนินงานจัดทำเอกสารรายงานโครงการและสรุปรายงานการวิจัย
ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น- ได้คณะกรรมการขับเคลื่อนโครงการ
- ได้รูปแบบ กระบวนการและแผนการขับเคลื่อนกระบวนการ PLC
- ได้ทีมงาน PLC
|
10 | 0 |
* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น
ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม
ผลการดำเนินโครงการ
สรุปผลการดำเนินโครงการ
ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
ผลผลิตโครงการ
วัตถุประสงค์ | สถานการณ์ | เป้าหมาย | ผลผลิต | อธิบาย | |
---|---|---|---|---|---|
1 | เพื่อแก้ปัญหาและพัฒนาคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนเป้าหมายให้เกิดความเข้มแข็งและพัฒนาท้องถิ่นได้ตรงตามบริบทของชุมชนโดยการพัฒนาคุณภาพครูผู้สอนภาษาไทยและภาษาอังกฤษ โดยกระบวนการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) ตัวชี้วัด : **1.เชิงปริมาณ** 1.1 จำนวนโรงเรียนเป้าหมายในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสตูล จำนวน 10 โรงเรียน โดยจำนวนครูที่เข้าร่วมโครงการไม่น้อยกว่า 80 คน 1.2 เครือข่ายความร่วมมือดำเนินการขับเคลื่อนกระบวนการ PLC สู่การพัฒนาครูเพื่อเพิ่มผลสัมฤทธิ์ต่อผู้เรียนด้านภาษาไทย และภาษาอังกฤษสถานศึกษาเป้าหมาย ตามแนวทางของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประกอบด้วยเครือข่ายสถาบันการศึกษา หน่วยงานและองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชน จังหวัดละไม่น้อยกว่า 5 องค์กร 1.3 คณาจารย์ บุคลากรของมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา วิทยาลัยชุมชนสตูล ร่วมขับเคลื่อนกระบวนการ PLC สู่การพัฒนาครูเพื่อเพิ่มผลสัมฤทธิ์ต่อผู้เรียนด้านภาษาไทย และภาษาอังกฤษสถานศึกษาเป้าหมาย ตามแนวทางของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน รวมจำนวนไม่น้อยกว่า 20 คน ประกอบด้วย คณาจารย์ จำนวน 15 คน บุคลากร จำนวน 5 คน **2.เชิงคุณภาพ** 2.1 ผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรม โดยได้คะแนนประเมินเฉลี่ย 3.51 คะแนนขึ้นไป 2.2 ผู้เข้าร่วมกิจกรรมสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปใช้ให้เกิดประโยชน์ โดยได้คะแนนประเมินเฉลี่ย 3.51 คะแนนขึ้นไป **3. เชิงเวลา** 3.1 สามารถจัดโครงการได้ตามระยะเวลาที่กำหนด **4.เชิงต้นทุนต่อหน่วยกิจกรรม** 4.1 จำนวนงบประมาณ/จำนวนกิจกรรม=240,000 บาท/1=240,000 บาท |
240000.00 | |||
2 | เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดการยกระดับผลสัมฤทธิ์ด้านภาษาไทยและภาษาอังกฤษและเน้นคุณลักษณะที่ชุมชนต้องการของโรงเรียนเป้าหมาย ตัวชี้วัด : |
0.00 |
ผู้เข้าร่วมโครงการ
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวนที่วางไว้(คน) | จำนวนที่เข้าร่วม(คน) |
---|---|---|
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด | ||
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวนที่วางไว้(คน) | จำนวนที่เข้าร่วม(คน) |
บทคัดย่อ*
ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ
ปัญหาและอุปสรรค | สาเหตุ | ข้อเสนอแนะ |
---|---|---|
มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา:การสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพครูสู่การพัฒนาผู้เรียน จังหวัดสตูล จังหวัด สตูล
รหัสโครงการ
ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว
( อาจารย์วรรณี กองพิธี )
ผู้รับผิดชอบโครงการ
......./............/.......