directions_run

มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา:การสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพครูสู่การพัฒนาผู้เรียน จังหวัดสตูล

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา:การสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพครูสู่การพัฒนาผู้เรียน จังหวัดสตูล
ภายใต้องค์กร เครือข่ายอุดมศึกษา
รหัสโครงการ
วันที่อนุมัติ 29 มีนาคม 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 เมษายน 2562 - 31 สิงหาคม 2562
งบประมาณ 240,000.00 บาท
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา
ผู้รับผิดชอบโครงการ อาจารย์วรรณี กองพิธี
เบอร์โทรผู้รับผิดชอบโครงการ
อีเมล์ผู้รับผิดชอบโครงการ
พี่เลี้ยงโครงการ อาจารย์หทัยรัตน์ ศรีชัยชนะ/อาจารย์ ดร.มะลิ ประดิษฐแสง/อาจารย์ ดร.ฤทัยวรรณ บุญครองชีพ/อาจารย์ ดร.กุลพัฒน์ ยิ่งดำนุ่น และนางสาวสธินี วงศ์มณฑา
พื้นที่ดำเนินการ จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 19 เม.ย. 2562 24 เม.ย. 2562 19 เม.ย. 2562 24 เม.ย. 2562 42,000.00
2 8 พ.ค. 2562 10 พ.ค. 2562 8 พ.ค. 2562 10 พ.ค. 2562 88,600.00
3 16 มิ.ย. 2562 28 มิ.ย. 2562 48,700.00
รวมงบประมาณ 179,300.00

คำเตือน : รวมงบประมาณของทุกงวด (179,300.00 บาท) ไม่เท่ากับ งบประมาณโครงการ (240,000.00 บาท)

stars
3. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลาและวิทยาลัยชุมชนสตูล ได้ร่วมรับผิดชอบดำเนินการโครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษาและการพัฒนาท้องถิ่นโดยมีสถาบันอุดมศึกษาเป็นพี่เลี้ยงในพื้นที่จังหวัดสตูล มาตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 เพื่อสนองนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ ที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการในขณะนั้น กำหนดเป็นนโยบายสำคัญพร้อมมอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษาขับเคลื่อนผ่านเครือข่ายอุดมศึกษาภูมิภาคที่กระจายอยู่ทั่วประเทศ ประสานนโยบายให้สถาบันอุดมศึกษาประสานความร่วมมือกับทุกภาคส่วน ดำเนินพันธกิจของอุดมศึกษา ด้านการบริการวิชาการในบทบาทพี่เลี้ยงของโรงเรียนและชุมชน นำความพร้อมด้านองค์ความรู้ ความเชี่ยวชาญทางวิชาการ เทคโนโลยีและนวัตกรรมของสถาบันอุดมศึกษา ร่วมแก้ปัญหาการศึกษา การพัฒนาชาติ ยกระดับคุณภาพการจัดการศึกษา ให้โรงเรียนสามารถพัฒนาคน ให้เป็นพลังพัฒนาประเทศไปในทิศทางเดียวกัน ต่อมาได้มีการจัดสรรงบประมาณดำเนินการอย่างต่อเนื่อง ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2560 และในปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 โดยให้แต่ละกลุ่มสถาบัน ขยายจำนวนโรงเรียนเป้าหมาย ซึ่งกลุ่มมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลาและวิทยาลัยชุมชนสตูล ได้ขยายโรงเรียนเป้าหมายในแต่ละปีงบประมาณ จากจำนวน 2 โรงเรียนนำร่อง ในปีงบประมาณ 2559 เป็นจำนวน 14 โรงเรียน และจำนวน 34 โรงเรียน ในปีงบประมาณ 2560 และ 2561 ตามลำดับกำหนดแนวทางและเป้าหมายที่สอดคล้องกับแผนพัฒนาการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 – พ.ศ. 2564) เพื่อช่วยพัฒนาโรงเรียนประถมศึกษา ให้มีความเข้มแข็งทางวิชาการ ที่สามารถผลิตนักเรียนที่มีคุณภาพเข้าสู่ภาคอุดมศึกษา และเป็นทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณภาพ สามารถพัฒนาคุณภาพชีวิตและขับเคลื่อนประเทศไทยไปสู่ Thailand 4.0 ตามนโยบายของรัฐบาล สามารถนำประเทศไปสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน ตามยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2560 – พ.ศ. 2579)

การดำเนินงานโครงการของมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลาและวิทยาลัยชุมชนสตูลมุ่งดำเนินงานให้บรรลุเป้าหมาย การร่วมสร้างความเข้มแข็งทางวิชาการ ยกระดับคุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐานและการพัฒนาท้องถิ่นอย่างสอดคล้องกับบริบทชุมชนจังหวัดสตูล ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 นับเป็นปีที่ 4 ของการดำเนินงานโครงการฯ ซึ่งนอกเหนือจากการกำหนดให้ดำเนินกิจกรรมพัฒนาที่สอดคล้องกับแนวนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ สนองความต้องการร่วมกันของโรงเรียนและสถาบันอุดมศึกษา โดยเฉพาะสามารถส่งผลให้โรงเรียนเกิดการเปลี่ยนแปลงด้านคุณภาพการศึกษาอย่างรวดเร็ว หรือเห็นผลอย่างเป็นรูปธรรม

แนวคิดการนำกระบวนการสร้างชุมชนแห่งวิชาชีพ (PLC) นับเป็นแนวทางหนึ่งที่ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงที่ต้องการ เสริมส่งบทบาทความเป็นนักเรียนรู้ทั้งครูและนักเรียน เป็นการสร้างกลุ่ม“เพื่อนร่วมวิชาชีพ” อันเป็นกัลยาณมิตร รวมพลังเรียนรู้ ช่วยเหลือ แนะนำ ให้กำลังใจ และสะท้อนผลการปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง เป็นระบบ สามารถนำสู่เป้าหมายหลัก การปรับปรุง พัฒนาการจัดการเรียนการสอนของครู ไปพร้อมกับการเรียนรู้และพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ของผู้เรียน การดำเนินงานโครงการพัฒนาในปีงบประมาณ 2562 มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลาจึงดำเนินการขับเคลื่อนกระบวนการสร้างชุมชนทางการเรียนรู้ PLCสู่สถานศึกษาที่เน้นการยกระดับคุณภาพการศึกษา ในกลุ่มสาระภาษาไทยและภาษาอังกฤษและกิจกรรมบูรณาการวิชาการสู่วิชาชีพ เพื่อรองรับความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจและสังคม โดยเฉพาะการพัฒนาจังหวัดสตูลสู่การเป็นเมืองทางการศึกษาและเป็นเมืองท่องเที่ยวในระดับภูมิภาคและระดับโลกต่อไป โดยมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลาและวิทยาลัยชุมชนสตูลรับผิดชอบเป็นสถาบันอุดมศึกษาหลักในแต่ละโครงการพร้อมทั้งการบริหารจัดการโครงการและงบประมาณโดยมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลารับผิดชอบการเป็นสถาบันอุดมศึกษาหลักในโครงการ/กิจกรรมการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ส่วนวิทยาลัยชุมชนสตูลรับผิดชอบโครงการ/กิจกรรมการบริการทางวิชาการสู่วิชาชีพ พร้อมร่วมประสานการดำเนินงานการพัฒนา เพื่อไปสู่เป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลต่อไป

stars
4. กรอบแนวคิดและยุทธศาสตร์หลัก

แผนระดับที่ 1 ความสอดคล้องกับเป้าหมายยุทธศาสตร์ชาติ

  • เป้าหมายที่ 3 : พัฒนาคนในทุกมิติและในทุกช่วงวัยให้เป็นคนดี เก่ง และมีคุณภาพ ประเด็นที่ 4.2
    การพัฒนาศักยภาพคนตลอดช่วงชีวิต

แผนระดับที่ 2 ความสอดคล้องกับแผนปฏิรูปประเทศ

  • แผนปฏิรูปประเทศด้านเศรษฐกิจ 1. การปฏิรูปด้านการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ประเด็นปฏิรูปที่ 8 อุตสาหกรรมการศึกษา 1. ขั้นตอน : พัฒนาคุณภาพทางการศึกษาและงานวิจัยและพัฒนา 2. แนวทาง : พัฒนามาตรฐานคุณภาพที่มหาวิทยาลัยสามารถปฏิบัติตามได้ทั้งในส่วนของการเรียนการสอนและการทำวิจัยและพัฒนา

ความสอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

  • ยุทธศาสตร์ที่ 1. การเสริมสร้างและพัฒนาศักยภาพมนุษย์ เป้าหมาย 3 คนไทยมีการศึกษาที่มีคุณภาพตามมาตรฐานสากลและมีความสามารถ เรียนรู้ด้วยตนเองอย่างต่อเนื่อง แนวทาง 3. ยกระดับคุณภาพการศึกษาและการเรียนรู้ตลอดชีวิต - พัฒนาระบบประเมินคุณภาพมาตรฐานที่สามารถวัดและประเมินผลคุณภาพผู้เรียนทั้งด้านทักษะ ความรู้ ความสามารถและสมรรถนะตามมาตรฐานการเรียนรู้แต่ละระดับการศึกษา

ความสอดคล้องกับนโยบายรัฐบาล

  • นโยบายการศึกษาและเรียนรู้ การทะนุบำรุงศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม
stars
5. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อแก้ปัญหาและพัฒนาคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนเป้าหมายให้เกิดความเข้มแข็งและพัฒนาท้องถิ่นได้ตรงตามบริบทของชุมชนโดยการพัฒนาคุณภาพครูผู้สอนภาษาไทยและภาษาอังกฤษ โดยกระบวนการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC)

1.เชิงปริมาณ

1.1 จำนวนโรงเรียนเป้าหมายในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสตูล จำนวน 10 โรงเรียน โดยจำนวนครูที่เข้าร่วมโครงการไม่น้อยกว่า 80 คน

1.2 เครือข่ายความร่วมมือดำเนินการขับเคลื่อนกระบวนการ PLC สู่การพัฒนาครูเพื่อเพิ่มผลสัมฤทธิ์ต่อผู้เรียนด้านภาษาไทย และภาษาอังกฤษสถานศึกษาเป้าหมาย ตามแนวทางของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประกอบด้วยเครือข่ายสถาบันการศึกษา หน่วยงานและองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชน จังหวัดละไม่น้อยกว่า 5 องค์กร

1.3 คณาจารย์ บุคลากรของมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา วิทยาลัยชุมชนสตูล ร่วมขับเคลื่อนกระบวนการ PLC สู่การพัฒนาครูเพื่อเพิ่มผลสัมฤทธิ์ต่อผู้เรียนด้านภาษาไทย และภาษาอังกฤษสถานศึกษาเป้าหมาย ตามแนวทางของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน รวมจำนวนไม่น้อยกว่า 20 คน ประกอบด้วย คณาจารย์ จำนวน 15 คน บุคลากร จำนวน 5 คน

2.เชิงคุณภาพ

2.1 ผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรม โดยได้คะแนนประเมินเฉลี่ย 3.51 คะแนนขึ้นไป

2.2 ผู้เข้าร่วมกิจกรรมสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปใช้ให้เกิดประโยชน์ โดยได้คะแนนประเมินเฉลี่ย 3.51 คะแนนขึ้นไป

3. เชิงเวลา

3.1 สามารถจัดโครงการได้ตามระยะเวลาที่กำหนด

4.เชิงต้นทุนต่อหน่วยกิจกรรม

4.1 จำนวนงบประมาณ/จำนวนกิจกรรม=240,000 บาท/1=240,000 บาท

240000.00
2 เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดการยกระดับผลสัมฤทธิ์ด้านภาษาไทยและภาษาอังกฤษและเน้นคุณลักษณะที่ชุมชนต้องการของโรงเรียนเป้าหมาย

 

0.00
stars
6. กลุ่มเป้าหมาย
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 120 60,873.00 14 240,000.00
19 เม.ย. 62 กิจกรรมที่ 1 ประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่อง ศึกษาข้อกำหนดโครงการ นโยบาย หลักการ เป้าหมายสาระสำคัญของโครงการและศึกษารวบรวม จัดทำฐานข้อมูลที่สำคัญและเกี่ยวข้อง 0 5.00 5,800.00
20 เม.ย. 62 กิจกรรมที่ 2 ประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่อง วางแผนการดำเนินงาน/ปรับแผนการดำเนินโครงการ 0 5.00 5,800.00
21 เม.ย. 62 กิจกรรมที่ 3 ประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่อง การสร้างความร่วมมือ และร่วมกำหนดกลไกการดำเนินงานร่วมกับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสตูล 0 6.00 6,700.00
22 เม.ย. 62 กิจกรรมที่ 4 ประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่อง การกำหนดรูปแบบการดำเนิงานการขับเคลื่อนการะบวนการ PLC สู่สถานศึกษา ร่วมกับศึกษานิเทศก์ผู้เชี่ยวชาญวิชาภาษาไทย และภาษาอังกฤษ เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสตูล 0 6.00 6,700.00
23 เม.ย. 62 กิจกรรมที่ 5.1 ประชุมเชิงปฏิบัติdkiระดับ Core Team เพื่อกำหนดกลไกและกิจกรรมการนำกระบวนการ PLC สู่สถานศึกษาตามแผนงานโครงการ 0 8.00 8,500.00
24 เม.ย. 62 กิจกรรมที่ 5.2 ประชุมเชิงปฏิบัติการ Core Team : เตรียมการการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อขับเคลื่อนกระบวนการ PLC สู่สถานศึกษาและชั้นเรียน และตั้งกรรมการ PLC ระดับสถานศึกษา 0 8.00 8,500.00
8 - 10 พ.ค. 62 กิจกรรมที่ 6 อบรมเชิงปฏิบัติการ และการสร้างความรู้ ความเข้าใจ การจัดการเรียนรู้โดยกระบวนการ PLC การจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 (Active Learning) การจัดทำแผนการเรียนรู้สู่สถานศึกษา และการนำแผนการจัดการเรียนรู้สู่ชั้นเรียน 0 88.00 88,600.00
27 - 28 พ.ค. 62 กิจกรรมที่ 8 ประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่อง การนำแผนการปฏิบัติการเรียนรู้กระบวนการ PLC สู่สถานศึกษา สู่ชั้นเรียน และการนิเทศ ติดตาม และการประเมินผล และการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน (จากการติดตามผลการนิเทศช่วงที่ 1) 0 25.00 25,600.00
16 มิ.ย. 62 กิจกรรมที่ 7 ประชุมเชิงปฏิบัติการ Core Team : วางแผน กำหนด การติดตาม ประเมินผล การนิเทศอย่างกัลยาณมิตร และสร้างพลัง แรงจูงใจ สาระวิชาภาษาไทย และภาษาอังกฤษ 0 8.00 8,500.00
17 - 21 มิ.ย. 62 กิจกรรมที่ 7.1 กิจกรรมการติดตาม ประเมินผล และการนิเทศอย่างกัลยาณมิตร สร้างพลังและแรงจูงใจ (ช่วงที่ 1 จำนวน 5 ครั้ง) 0 14.00 14,600.00
5 - 15 ส.ค. 62 กิจกรรมที่ 8.1 กิจกรรมการติดตาม ประเมินผล และการนิเทศอย่างกัลยาณมิตร 0 14,600.00 14,600.00
11 ธ.ค. 62 กิจกรรมที่ 9 ประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่อง การนำกระบวนการ PLC สู่สถานศึกษาและ จัดนิทรรศการทางวิชาการ Mini Show And Share เพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และถอดบทเรียนร่วมกัน และมอบเกียรติบัตรยกย่องเชิดชูเกียรติ การขับเคลื่อน PLC สู่สถานศึกษา 80 28,000.00 28,000.00
18 ธ.ค. 62 กิจกรรมที่ 10 ประชุมเชิงปฏิบัติการคณะกรรมการ Core Team เพื่อร่วมสรุปโครงการถอดบทเรียนและจัดทำรายงานเผยแพร่ ในวันที่ 18 ธันวาคม 2562 30 11,500.00 11,500.00
25 ธ.ค. 62 กิจกรรมที่ 11 ประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่อง การดำเนินงานจัดทำเอกสารรายงานโครงการและสรุปรายงานการวิจัย 10 6,600.00 6,600.00

ผู้สนับสนุนให้ข้อมูลแนะนำ

  1. บริษัทปิโก้ (ไทยแลนด์) จำกัด
  2. รองศาสตราจารย์ ดร.พิมพ์พันธ์ เดชะคุปต์
  3. รองศาสตราจารย์พเยาว์ ยินดีสุข

เครือข่ายความร่วมมือในการขับเคลื่อน PLC สู่การพัฒนาครูเพื่อเพิ่มผลสัมฤทธิ์ต่อผู้เรียนด้านภาษาไทย และภาษาอังกฤษ ประกอบด้วย

คณะศึกษานิเทศก์ สพป. สตูล

  1. ศึกษานิเทศก์ชำนาญการพิเศษ นายนภดล ยิ่งยงสกุล
  2. ศึกษานิเทศก์ศุภวัลย์ ชูมี
  3. ศึกษานิเทศก์อับดลรอหมาน ปะดูกา
  4. ศึกษานิเทศก์ทิพย์ เทศอาเส็น
  5. ศึกษานิเทศก์เชษฐา เตรัตน์

คณาจารย์จากมหาวิทยาลัยพี่เลี้ยง มรภ.สงขลา

  1. อาจารย์สมสวาท เจริญฤทธิ์
  2. ผู้ช่วยศาสตราจารย์เพียงใจ ผลโภค
  3. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ยุพดี ธรรมชาติ
  4. อาจารย์เอื้อนจิต สัมมา
  5. อาจารย์เสริมศรี ฤทธาภิรมย์
  6. อาจารย์วรรณี กองพิธี
  7. อาจารย์หทัยรัตน์ ศรีชัยชนะ
  8. อาจารย์ ดร.ฤทัยวรรณ บุญครองชีพ
  9. อาจารย์ ดร.กุลพัฒน์ ยิ่งดำนุ่น
  10. อาจารย์วิไลลักษณ์ ทองช่วย (วิทยาลัยชุมชนสตูล)
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

โรงเรียนสามารถใช้กระบวนการ PLC ในการขับเคลื่อนพัฒนาครูได้

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 27 เม.ย. 2562 14:20 น.