directions_run

การบริการวิชาการโดยใช้วิจัยเป็นฐาน เรื่อง การสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ครูประถมศึกษา เพื่อการพัฒนาทักษะการจัดการเรียนรู้ภาษาไทย เพื่อการอ่านออกเขียนได้ และการอ่านเชิงวิเคราะห์ โดยใช้บทอ่านหนังสือของพ่อ (พระบาทสมเด็จพระปรมินทรภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 )

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ การบริการวิชาการโดยใช้วิจัยเป็นฐาน เรื่อง การสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ครูประถมศึกษา เพื่อการพัฒนาทักษะการจัดการเรียนรู้ภาษาไทย เพื่อการอ่านออกเขียนได้ และการอ่านเชิงวิเคราะห์ โดยใช้บทอ่านหนังสือของพ่อ (พระบาทสมเด็จพระปรมินทรภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 )
ภายใต้องค์กร เครือข่ายอุดมศึกษา
รหัสโครงการ
วันที่อนุมัติ
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 15 มีนาคม 2562 -
งบประมาณ 1,000,000.00 บาท
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ
ผู้รับผิดชอบโครงการ
เบอร์โทรผู้รับผิดชอบโครงการ
อีเมล์ผู้รับผิดชอบโครงการ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ จังหวัดสงขลาและ จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
3. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การเปลี่ยนแปลงของบริบทโลกในศตวรรษที่ 21 ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงบริบทในสังคมไทย ในทุกๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นด้าน สังคม วัฒนธรรม เศรษฐกิจ การเมือง ตลอดจนด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ทำให้ต้องมีการเตรียมคนไทยทุกช่วงวัยให้มีทักษะในศตวรรษที่ 21 ซึ่งทักษะในศตวรรษที่ 21 ประกอบด้วย 3R8C (Reading ,wRiting, aRithematic, Critical thinking, Collaboration, Creative thinking and Innovation , Communication ,Computer and media literacy , Cross-cultural Understanding , Career and Learning Skills and Compassion)
ทักษะการอ่านออกเขียนได้ เป็นทักษะหนึ่งที่สำคัญในศตวรรษที่ 21 เป็นทักษะพื้นฐานที่คนไทยทุกคนต้องมี และเป็นทักษะที่สมควรพัฒนาตั้งแต่ระดับประถมศึกษา ดังนั้นการศึกษาระดับประถมศึกษาจำเป็นที่ต้องพัฒนาให้เด็กไทยมีทักษะในการอ่านออกเขียนได้และคิดวิเคราะห์ภาษาไทยได้ตามศักยภาพ ครูนับเป็นบุคลากรที่สำคัญในการพัฒนาทักษะในการอ่านออกเขียนได้โดยเฉพาะครูประถมศึกษา ดังนั้นครูจำเป็นต้องมีทักษะการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านออกเขียนได้ และควรมีสื่อ นวัตกรรมที่ช่วยส่งเสริมให้นักเรียนระดับประถมศึกษาได้เรียนรู้แล้วเกิดทักษะการอ่านออกเขียนได้ และอ่านเชิงวิเคราะห์ภาษาไทยอย่างมีประสิทธิภาพ
การพัฒนาทักษะทักษะการอ่านออกเขียนได้ และอ่านเชิงวิเคราะห์ภาษาไทย ในระดับประถมศึกษาสามารถพัฒนาได้ทั้งในกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย และการเรียนรู้ในสาระเพิ่มเติม รวมทั้งสามารถพัฒนาได้ในช่วงเวลาลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้ สำหรับในการพัฒนาทักษะการอ่านออกเขียนได้ และอ่านเชิงวิเคราะห์ภาษาไทยในครั้งนี้ จะใช้สื่อ นวัตกรรมทางภาษาที่เป็นบทอ่านหรือสื่อที่มาจากหนังสือของพ่อ ( พระบาทสมเด็จพระปรมินทรภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 ) และจะพัฒนาในช่วงลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้ เป็นลักษณะการเรียนปนเล่น โดยใช้วิธีการจัดการเรียนรู้แบบเชิงรุก (Active Learning) ในปีการศึกษา 2562

stars
4. กรอบแนวคิดและยุทธศาสตร์หลัก

 

stars
5. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อพัฒนาครูให้มีทักษะการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านออกเขียนได้ และอ่านเชิงวิเคราะห์ภาษาไทยสำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษา

 

0.00
2 เพื่อให้ครูนำนวัตกรรมการเรียนรู้ไปใช้พัฒนาทักษะการอ่านออกเขียนได้ และอ่านเชิงวิเคราะห์ภาษาไทย นักเรียนระดับประถมศึกษา โดยใช้กระบวนการ PLC ในการพัฒนา

 

0.00
3 เพื่อสอดแทรกคุณธรรมจริยธรรมให้แก่นักเรียนระดับประถมศึกษา โดยใช้หนังสือคำสอนของพ่อเป็นสื่อในการสร้างเยาวชนที่ดีสู่สังคม

 

0.00
4 เพื่อให้ครูมีเจตคติที่ดีในการพัฒนาทักษะการอ่านออกเขียนได้ และอ่านเชิงวิเคราะห์ภาษาไทยสำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษา

 

0.00
5 เพื่อถ่ายทอดแนวคิดความพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 ให้แก่ครูและเยาวชนไทยได้นำมาเป็นแบบอย่างในการดำเนินชีวิตในสังคมที่เปลี่ยนแปลง

 

0.00
stars
6. กลุ่มเป้าหมาย
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 0.00 0 0.00
??/??/???? คัดเลือกบทอ่านจากหนังสือคำสอนของพ่อ 0 0.00 -
14 มิ.ย. 62 การชี้แจงทำความเข้าใจกับผู้บริหารสถานศึกษา 0 0.00 -
3 - 7 ก.ค. 62 การประชุมทีมวิทยากรเพื่อเตรียมความพร้อมในการดำเนินโครงการฯ 0 0.00 -
6 - 7 ก.ค. 62 จัดการอบรมการออกแบบการจัดกิจกรรมและสื่อการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านออกเขียนได้ และอ่านเชิงวิเคราะห์ภาษาไทยสำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษา และการวิพากษ์แผนการจัดการเรียนรู้ (โดยใช้กระบวนการ PLC – Plan Do See และ Reflect ทุกขั้นตอน) 0 0.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

 

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 1 ก.พ. 2562 11:29 น.